X

กรมศิลปากรนำร่องเปิดศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์ฯกรุงเก่า

พระนครศรีอยุธยา-ศิลปากรเดินหน้าให้ความรู้ประชาชน เข้าใจการทำงาน เปิดศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ชื่อว่าเป็นเมืองมรดกโลก ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการบูรณะโบราณสถาน ดังนั้นการเปิดอาคารศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จึงนับว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางโบรณคดีและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยากรมศิลปากรได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ในกลุ่มโครงการเนรมิตอยุธยาเพื่อความเป็นอยู่และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะเมืองและแหล่งโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งการซ่อมแชมอาคารศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์ พระนคศรือยุธยจากเหตุการณ์อุกภัยใหญ่เมื่อพ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้อาคารศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับความเสียหายอย่างหนักไม่สามารถให้บริการได้ กรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงอาคารศูนย์ข้อมูลฯ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 จนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2566

ภายในศูนย์ข้อมูลการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาประกอบไปด้วยนิทรศการ๕ส่วนส่วนที่ 1 เรื่องมรดกโลก ส่วนที่ 2 เรื่องประวัติการอนุรักษ์โบราณสถานพระนครศรีอยุธยา ส่วนที่3 เรื่องนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับการอนุรักษ์และพัฒนา ส่วนที่ 4 เรื่องงานอนุรักษ์ประเภทต่างๆ และส่วนที่ 5 เรื่องนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับการพัฒนาในอนาคต การจัดทำนิทรรศการใหม่ทั้งหมดนี้ใช้เทคโนโลยีและรูปแบบ การนำเสนอที่เข้าใจง่าย  ประกอบด้วยแผนที่ แผนผังจำลองภาพโบราณสถานของอยุธยา จำลองภาพการอนุรักษ์ โบราณสถานประเภทต่างๆ เป็นต้น

นายอนันต์ ชูโชติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานเปิดศูนย์แห่งนี้  เปิดเผยว่า การดำเนินการของนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา การบูรณะจริงๆ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 และมาถึงปัจจุบันนับร้อยปี กรมศิลปากรมาอย่างจริงจัง พ.ศ 2496 สิ่งที่เห็นคือโบราณสถานได้รับการบูรณะ ได้รับการพัฒนาภูมิทัศน์ มีการขุดค้นขุดแต่งเรียบร้อย มีนักท่องเที่ยวแต่ละปีเข้ามาเที่ยวจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันกรมศิลปากรก็มีภารกิจ นโยบายหลักคือนครประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ เราจำเป็นต้องมีข้อมูลเก็บเอาไว้ ในรูปแบบใดก็แล้วแต่ แต่จะต้องเผยแพร่ ดังนั้นกรมศิลปากรมีนโยบายให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจัดสร้างศูนย์ข้อมูลว่าด้วยการอนุรักษ์  ซึ่งจริงๆ ศูนย์นี้สร้างมานานแล้วและเสร็จไปแล้ว แต่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ แต่ประสบปัญหาเมื่อปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ครั้งนี้มอบให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ปรับปรุงครั้งใหญ่ เพื่อให้มีข้อมูลทางประวัติศาสสตร์ และจะเป็นศูนย์ทางวิชาการ ที่สำคัญนักท่องเที่ยวจะได้รับความรู้ด้วย  ทั้งในกระบวนการต่างๆที่กรมศิลปากรดำเนินการ และเป็นศูนย์ข้อมูลที่สมบูรณ์แบบว่าด้วยการอนุรักษ์

สำหรับภายในอาคาร จะมีการจัดแสดงเรื่องราวของการอนุรักษ์ เน้นโบราณสถานหลักๆ ที่สำคัญ เช่นวัดพระศรีสรรเพชญ์ มีการดำเนินการครั้งแรกเมื่อไหร่ ดำเนินการใช้เวลานานแค่ไหน ผ่านการขุดค้นขุดแต่งบูรณะปฎิสังขรณ์กี่ครั้ง วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดไชยวัฒนาราม วัดหลักๆ โดยในแต่ละป้ายในแต่ละหัวข้อ จะมีป้ายคิวอาร์โคท ที่สามารถใช้สมาร์ทไฟนเรียกดูข้อมูลจากคิวอาร์โคทได้ จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้มากขึ้น ซึ่งศูนย์นี้จะให้ข้อมูลได้อย่างดี ซึ่งจะมีความแตกต่างจากพิพิธภัณท์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณท์สถานแห่งชาติวังจันทรเกษม ทั้งสองพิพิธภัณท์จะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับโบราณวัตถุเป็นหลัก จะแตกต่างกับศูนย์ข้อมูลข่าวสารอยุธยาที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังเก่า ซึ่งเป็นข้อมูลท่องเที่ยว แต่ที่ศูนย์แห่งนี้จะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันจะสามารถรองรับนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว นักวิชาการมาหาความรู้ ศูนย์แห่งนี้จะไม่ยิ่งหย่อนกับศูนย์ในต่างประเทศ ที่อยู่ในแหล่งมรดกโลกประเทศใด ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะไม่แพ้ใคร จริงๆแล้วกรมศิลปากรมีโครงการที่จะทำในอุทยานประวิตศาสตร์ใหญ่ๆ เริ่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำร่อง จากนั้นก็จะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ด้านนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เปิดกล่าวว่า เจตนาจริงๆของกรมศิลปากรต้องการที่จะให้บริการด้านความรู้จริงๆ กับนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวหรือนักวิชาการที่มาใช้บริการ โดยไม่เก็บค่าบริการ โดยจะมีวิทยากรประจำเอาไว้ เพื่อให้คำแนะนำ ซึ่งนอกเหนือจากนิทรรศการถาวรที่มีอยู่ โดยจะหยุดจันทร์อังคาร เปิดพุธถึงอาทิตย์ เวลา 9.00 น.-16.00 น. ซึ่งการได้มาศึกษาเรียนรู้ที่ศูนย์แห่งนี้ จะทำให้มีความเข้าใจด้านการอนุรักษ์โบราณสถานมากขึ้น  หรือสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 035-042286

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ