X

ฝันที่เป็นจริง เปิดแล้วร้านกาแฟต้นแบบกลางโบราณสถานมรดกโลกกรุงเก่า

พระนครศรีอยุธยา-มิติใหม่อุทยานประวัติศาสตร์ฯหนุนเปิดร้านกาแฟมาตรฐาน”โสน ณ อยุธยา”รองรับนักท่องเที่ยวระดับพรีเมี่ยม สีสันใหม่ของมรดกโลก

กลายเป็นที่ฮือฮา เมื่อมีเอกชนเปิดร้านกาแฟ”โสน ณ อยุธยา” บริเวณวัดมหาธาตุ พื้นที่โบราณสถานมรดกโลก ในความดูแลของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่มีการตกแต่งสไตน์โมเดิลทันสมัยสวยงาม มีกาแฟและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยวแบบหลากหลาย และกำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวรวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจประเภทเดียวกัน ในเรื่องทำเลที่ดีเยี่ยม และไม่คิดว่าจะมีร้านกาแฟเปิดในพื้นที่โบราณสถานได้

ข่าวจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แจ้งว่า ขณะนี้เมืองมรดกโลก โบราณสถาน และวัดต่าง ๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เริ่มประดับไฟส่องสว่างในยามค่ำคืนแล้วซึ่งจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ปลายปีนี้หลังจากมีการปรับภูมิทัศน์มาอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวและพักค้างคืนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ล่าสุด ทางอุทยานประวัติศาสตร์ฯ ได้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการบริหารจัดการร้านค้าภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและการบริการและเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ จึงกำหนดเปิดบริการ “ร้านโสน ณ อยุธยา” บริเวณโบราณสถานวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ริมหนองโสน (บึงพระราม) ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป เวลา 09.00-18.00 น. โดยเป็นการผสมผสานไลฟ์สไตล์ความทันสมัย การบริการ และความเป็นโบราณสถานได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ทางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังได้ชี้แจงผ่านเพจของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ทราบว่ากรณีการบริหารจัดการร้านค้าภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นสิ่งหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและการบริการ ดังนั้นการกำหนดคุณสมบัติ และการออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  เพื่อให้เป็นไปตามบริบทของพื้นและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  จึงเป็นที่มาของ “ร้านโสน ณ อยุธยา”  ณ วัดมหาธาตุ  ที่ตั้งอยู่ริมหนองโสน (บึงพระราม)  เป็นการผสมผสานไลฟ์สไตล์ ความทันสมัย  การบริการ และความเป็นโบราณสถาน นอกจากนี้ยังยืนยันด้วยว่าร้านดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนประมูลตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ซึ่งเชื่อว่านี่อาจจะเป็นต้นแบบของร้านกาแฟในโบราณสถานที่มีความเป็นมาตราฐาน และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อีกในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นโบราณสถานเช่นเดียวกัน ภายใต้การดูแลของอุทยานประวัติ ศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ล่าสุดเพจอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังได้โพสท์ข้อความแจ้งว่า แจ้งให้ทราบเกาะเมืองอยุธยาเป็นพื้นที่โบราณสถาน”ทั้งเกาะ”การปลูกสร้างใดๆต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ หากหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนที่มีความประสงค์จะสร้าง ปรับปรุงอาคารในเกาะเมือง สามารถรับคำปรึกษาก่อนได้ ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร.035-242286

นอกจากนี้ยังแจ้งว่าการปลูกสร้างและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นใน “โบราณสถานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา”เดิมในปีพ.ศ.2519กรมศิลปากรได้ประกาศกำหนดเขตที่ดินและขึ้นทะเบียนโบราณสถานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา 1810 ไร่ และประกาศเพิ่มเติมในปีพ.ศ.2540ให้ครอบคลุมทั้งเกาะเมือง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 4810 ไร่ ดังนั้นภายใต้พรบ.โบราณสถานฯ นั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในเกาะเมือง มีหลายลักษณะ เช่น ที่เช่าราชพัสดุ ที่โฉนด พื้นของส่วนราชการที่ขอใช้กับทางกรมธนารักษ์ หากมีการปลูกสร้าง หรือรื้อถอน ซ่อมแซม ต่อเติม ต้องอยู่ภายใต้ตามกฎหมาย (พรบ.โบราณสถานฯ)** ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี จากนั้นจะมีการตรวจสอบพื้นที่ ตามประกาศกรมศิลปากรเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเรื่องราวเพื่อขออนุญาตปลูกสร้างอาคารภายในเขตโบราณสถานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2540 โดยพิจารณาดังนี้ 1. ตำแหน่งที่ปลูกสร้างต้องไม่กระทบกับร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานดังกล่าวเช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ แนวกำแพงเมือง ตลอดจน แนวคลอง ถนนโบราณ ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเปลี่ยนแปลง หรือหมดสภาพแล้วก็ตาม 2.ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการแบ่งเป็น 3 พิ้นที่ ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญให้สร้างอาคารได้สูงไม่เกิน 8 เมตร พื้นที่ที่ 2 บริเวณกลางเกาะเมืองให้อาคารสูงได้ไม่เกิน 12 เมตร และพื้นที่ที่ 3 บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะเมืองซึ่งเป็นย่านตลาดและแหล่งการค้า ให้อาคารสูงได้ไม่เกิน 15 เมตร โดยรูปแบบหลังคาจะต้องเป็นจั่ว ปั้นหยา หรือทรงไทยประยุกต์

การปลูกสร้างที่สามารถอนุญาตได้ จะต้องผ่านข้อกำหนดตามประกาศกรมศิลปากรเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเรื่องราวการขออนุญาตปลูกสร้างฯปี 2540 และได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร สำหรับการปลูกสร้างก่อนประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานฯ ก่อนปีพ.ศ2519 และปีพ.ศ.2540 กฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง ทั้งนี้หากการปลูกสร้างใดๆไปแล้ว และมีผลกระทบต่อโบราณจะมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้  1.อาคารที่สร้างทับร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้หมดสภาพหรือร่องรอยสูญหายในปัจจุบัน หากมีการรื้อถอนและปลูกสร้างใหม่ในตำแหน่งเดิม ก็จะมีการดำเนินการขุดศึกษาทางโบราณคดี เพื่อประเมินความสำคัญของหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต 2.ร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถบูรณะฟื้นคืนได้ตามแผนการอนุรักษ์ในแม่บทฯ ก็จะดำเนินการโยกย้ายชุมชนไปยังพื้นที่รองรับ และมีการชดเชยตามกฎหมาย

สภาพปัญหา การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมถึงอาคารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มักจะดำเนินการไปก่อนได้รับอนุญาต เนื่องจากได้รับงบประมาณและเวลาดำเนินการจำกัด จึงไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ ในระหว่างที่มีการปรับรูปแบบและตำแหน่งการก่อสร้างให้ตรงตามประกาศกรมศิลปากรเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นเรื่องราวขออนุญาตปลูกสร้างฯ ก็มักจะทำการก่อสร้างไปด้วยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด และฝ่าฝืนกฏหมาย และบ่อยครั้งที่มีการแจ้งเจรจาจากเจ้าหน้าที่ และส่งหนังสือแจ้งระงับเบื้องต้นจากหน่วยงานในพื้นที่ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ยอมรับฟังทำให้การก่อสร้างหลายกรณีเกือบแล้วเสร็จ หรือ เสร็จสมบูรณ์  เมื่อเป็นเช่นนี้กรมศิลปากรจะมีคำสั่งระงับการก่อสร้างและรื้อถอนภายใน 60 วัน ซึ่งสามารถอุทรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนด ก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

ขอขอบคุณ ภาพข้อมูล เพจอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของน.ส.พ.เอทีวีวิชั่น นักเขียนอิสระ