X

เจ้าคุณธงชัยชื่นชมครบรอบ 7 ปีลูปันเทคนิคอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา-เจ้าคุณธงชัย ขอบคุณจีนสนับสนุนการศึกษาไทย ชื่นชมวิทยาลัยเทคนิค ครบรอบ 7 ปี ศูนย์ปฎิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน สร้างช่างฝีมือสู่สากล

เมื่อเวลา 9.00 น.วันที่   31 สิงหาคม 2566 นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผวจ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางไปที่ ศูนย์ปฎิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน และหอประชุมอร่ามเรืองรอง วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา เพื่อร่วมพิธีฉลองศูนย์ปฎิบัติการเทคโนโลยีและนวัตรกรรมลูปัน ครบรอบ 7 ปี Luban Workshop 7 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มาเป็นประธานกล่าวสัมโมทนียกถา โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายนนทพงศ์ ยอดทอง ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 นางสาวมยุรี ศรีระบุตร ผ.อ.วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา มาให้การต้อนรับ ขณะเดียวกันยังมีผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่นายเว่ย ปิ่งจู่ เลขาธิการพรรคฯวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษาเที่ยนจินโป๋ห่าย นางหลี่ จื้อฮุ่ย รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนจิน มากล่าวแสดงความยินดี

ภายในงานยังได้มีการลงนามความร่วมมือการจัดการศึกษาระบบทวิวุฒิไทย-จีน ภายใต้โครงการศูนย์ปฎิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา และวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษาเทียนจินโป๋ห่าย และการศึกษาการเรียนร่วมไทย-จีน ระหว่างวิทยาวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา กับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนจิน และการลงนมความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ด้วย ในโอกาสนี้ยังได้มีการส่งมอบครุภัณฑ์ ศูนย์ปฎิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน ซึ่งเป็นแขนกลและชุดฝึกสำหรับการเรียนการสอนจำนวน 2 ชุด ไอโอที 2 เครื่อง มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาของวิทยาลัย และยังมีโอกาสที่จะเป็นศูนย์วิจัยในอนาคตด้วย

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กล่าวว่า ยินดีกับสภาการศึกษานครเทียนจิน วิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาเทียนจินโป๋ไห่และวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยาที่ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน (Luban Workshop) แห่งแรกของโลก เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือและการจัดการศึกษานานาชาติระหว่างประเทศระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทั้งหมด 6 สาขาวิชา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่และครบรอบ 7 ปีในปีนี้

อาตมภาพทราบว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ชี้ให้เห็นว่าอาชีวศึกษาเป็นส่วนสำคัญของระบบการศึกษาของประเทศและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงถือได้ว่าประเทศจีนมีความพร้อมและมีประสบการณ์สูงในการพัฒนาอาชีวศึกษาสมัยใหม่เพื่อตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมในการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถด้านเทคนิคและทักษะวิชาชีพแก่สถานประกอบการที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน+ทักษะวิชาชีพ ตามยุทธศาสตร์ “ก้าวออกไป” ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาตมภาพจึงได้นำคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เดินทางไปลงนามความร่วมมือ MoU กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาในนครเทียนจินเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 และวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยาได้ลงนามความร่วมมือ MoU กับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาเทียนจินโป๋ไห่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2561 โครงการ “Luban Workshop” ได้เข้าสู่การพัฒนาระยะที่สาม  ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้รถไฟความเร็วสูง เพื่อฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านรถไฟความเร็วสูงให้กับประเทศไทย พร้อมก้าวสู่ยุคแห่งรถไฟความเร็วสูงร่วมกัน ในโอกาสนั้นสภาการศึกษานครเทียนจินได้มอบทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระยะเวลา 3 ปี เป็นประจำทุกปี ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับทุนแล้ว จำนวน 304 คน คิดเป็นมูลค่ากว่า 158,000,000 บาท

อาตมภาพได้มาร่วมพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน ซึ่งมีท่านรองผู้อำนวยการสำนักงานสภาผู้แทนประชาชนเทียนจิน (คุณโกว ลี้จุน) เป็นผู้แทนในการส่งมอบศูนย์ดังกล่าวให้แก่วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นสื่อในการพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น หุ่นยนต์ ระบบดิจิทัล รถไฟความเร็วสูง  เป็นต้น และได้มอบห้องปฏิบัติการและครุภัณฑ์อุปกรณ์การเรียนการสอน มูลค่า 55 ล้านบาท ตลอดจนมอบทุนการศึกษาจนถึงปัจจุบัน จำนวน 261 ทุน ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการฯ ลูปันได้ผ่านการประเมินผลงานยอดเยี่ยมเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564  ต่อมาได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปันในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ  อินเดีย  อินโดนีเซีย  ปากีสถาน  กัมพูชา และอีกมากกว่า 10 แห่งในทวีปแอฟริกา ขณะนี้มีการจัดตั้งศูนย์ Luban Workshop แล้ว 20 แห่งใน 19 ประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการจ้างงานและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันบนเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 หรือ “โครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนี้

การจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความร่วมมือไทย-จีนในการพัฒนาอาชีวศึกษา+ภาษาจีน  ศูนย์ฯ ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก ก่อให้เกิดการบูรณาการด้านอาชีวศึกษาและการศึกษาภาษาจีนอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลให้การจัดตั้ง “สถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ” แห่งแรกของโลก ระหว่างศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (CLEC) กระทรวงศึกษาธิการจีนและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไทย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  นางสาวมยุรี ศรีระบุตร ผ.อ.เทคนิคพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าจากการที่เราดำเนินการมาครบ 7 ปีแล้ว ทางจีนได้มอบครุภัณฑ์ให้กับนักศึกษาเราได้เรียนรู้เท่ากับนักศึกษาจีน ศูนย์ลูปันแห่งนี้สอน 4 สาขาวิชาที่ตอบสนอง ได้แก่เมคคาทอนิค ไอโอที ซีเอ็นซีและยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากเป็นศูนย์ฝึกยังมีทุนไปเรียนที่จีนด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ