X

อลังการงานผ้าผ่านการแสดงโขนที่ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด

พระนครศรีอยุธยา-ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดบางปะอิน โชว์อาคารโขนพร้อมการแสดงสุดอลังการ บ่งบอกศิลปะผ้าไทย ผ่านการแสดงอันงดงาม

พูดถึงเรื่องของโขน นับเป็นศิลปวัฒนธรรมชั้นสูง และเป็นสิ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ มีการจัดแสดงเรื่องโขนที่ อาคารแสดงเรื่องโขน ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณของ ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   โดยจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาที่เกี่ยวกับโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยภายในอาคารเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องนาฏกรรมโขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ประกอบด้วย  ผลงานสร้างสรรค์ศิลปะกรรมแขนงต่าง ๆ ที่ใช่ประกอบการแสดงโขน เป็นฉาก เครื่องประกอบฉาก หัวโขน ตลอดจนองค์ความรู้เรื่องโขน  ภายในอาคารจะมีการจัดแสดงอุปกรณ์ประกอบฉากจากโขนพระราชทานที่ได้ทำการจัดแสดงในแต่ล่ะตอนที่ผ่านมาที่ได้นำมาจัดแสดงให้ได้รับชมถึงการทำงานของระบบกลไกที่ประดิษฐ์ขึ้นผสานกับระบบเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเพื่อส่งเสริมให้การแสดงโขนมีความตื่นตาตื่นใจผู้ชมยิ่งขึ้นไป อาทิ  เรือสำเภาหลวงลงกา ที่ส่งพิเภกจากกรุงลงกามายังฝั่งทวีปปรากฏในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 ผู้ออกเครื่องประกอบ

ฉากเลือกเรือสำเภาจีนเป็นต้นแบบในการสร้างเรือ เพราะทำการค้ากับจีนมาแต่โบราณและรุ่งมากในรัชกาลที่ 3 รูปลักษณ์ของสำเภาเป็นแบบจีนผสมกับจิตนาการจากภาจิตรกรรมไทย ในสมุดข่อยอยุธยาและธนบุรี มีลักษณะของเรือมาร ที่ใบเป็นรูปหน้าอสูรในวงกลม สำเภาลำนี้สามารถลดใบ กางใบเมื่อเรือเคลื่อนได้สมจริง โดยมีนางผีเสื้อสมุทรที่ใช้ในการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ตอน สืบมรรคา มาจัดแสดงให้รับชมอีกด้วย ถัดไปจะเป็นส่วนของพัสตราภรณ์ หรือเครื่องกายโขน  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างพัสตราภรณ์หรือเครื่องแต่งกายโขนขึ้นใหม่ สำหรับใช้ในการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ โดยทรงกำชับให้ยึดถือเครื่องแต่งกายโขนแบบดั้งเดิม แต่ให้ความคงทนและสวยงามยิ่งขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูกรรมวิธีงานผ้าแบบโบราณนำพัฒนาเพื่อให้เหมาะกับการแสดงในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการแบบโบราณ เช่น การปักสะดึง กรึงไหม เงินสลักดุน กระไหล่ทองประดับพลอย จนเกิดเป็นพัสตราภรณ์ ถนิมพิมภาภรณ์งานประณีตศิลป์เพื่อการสร้าง

เครื่องประดับแต่งกายโขนเป็นการรวมช่างฝีมือ 3 แขนง คือ งานโลหะ งานฝังอัญมณีและงานกระไหล่ทอง  ถัดมาจะเป็นส่วนแสดงผ้ายกเนินธัมมัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบว่าผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีชื่อเสียงมาแต่อดีต กำลังจะขาดผู้สืบทอดจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้อาจารย์ผู้เชียวชาญ ด้านการผ้ายกแบบโบราณไปฝึกสอนและได้พระราชทานอาชีพเสริมด้านการทอผ้าฝ้าย ปักผ้า สานกระจูด เกิดเป็น “ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ปัจจุบันผ้ายกเนินธัมมัง ยังนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ  โดยภายในอาคารยังได้จัดแสดงฉากท้องพระโรงกรุงลงกาใช้ในการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ 

ฉากหนุมานอมพลับพลา ที่ใช้ในการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ  ตอน ศึกมัยราพณ์  โดยสามารถกางมือ อ้าปากได้เสมือนจริง  รวมถึงจัดแสดงฉากหนุมานเนรมิตกาย ใช้ในการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ  ตอน สืบมรรคา รวมถึงการสาธิตการออกแบบเครื่องแต่งกาย การประดิษฐ์หัวโขน ที่ใช้ในการแสดงซึ่งเราจะได้พบกับการสาธิตวิธีและขั้นตอนกว่าจะได้มาเป็นหัวโขนแต่ล่ะอันว่ามีความยากหรือง่ายอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นของตัวพระ ตัวลิง ตัวยักษ์ หรือไปจนถึงเครื่องประกอบศีรษะของตัวพระตัวนางที่โชว์หน้าของนักแสดงโขน รายละเอียดขั้นตอนที่จะต้องมีการวัดขนาดของตัวผู้แสดงเพื่อนำมาใช้ในการเตรียมทำขนาดของหัวโขนให้พอดีกับตัวแสดงจริง ไปจนถึงขนาดของชุดที่นักแสดงแต่ล่ะคนต้องใช่สวมใส่ในการแสดงก็จะต้องมีขนาดที่พอดี เพื่อให้การแสดงออกท่วงท่า ร่ายรำ โลดโผนตีลังกา นักแสดงเหล่านี้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายขณะที่ทำการแสดงได้อย่างไม่ติดขัด  โดยอาคารเรียน-รู้-เรื่องโขน เปิดทำการในวันพุธถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 15.30 น. (เปิดจำหน่ายบัตร 09.45 – 15.00 น.) หยุดทุกวันจันทร์-อังคาร เทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ ค่าบัตรเข้าชม ผู้ใหญ่ท่านละ 150 บาท นักเรียน/นักศึกษา/ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปท่านละ 75 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 035-352 991

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของน.ส.พ.เอทีวีวิชั่น นักเขียนอิสระ