X

รภ.กรุงเก่าปลุกกระแสถ่ายแบบ”สตรีสวมผ้าลายอย่าง” ร่วมงานใหญ่”อยุธยาขลุ่ยทิพย์พันเลา”กลางมรดกโลก

พระนครศรีอยุธยา-ดร.ดุลย์พิชัย โกมลวานิช ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ มรภ.กรุงเก่านำสตรีนักธุรกิจชั้นนำกว่า 200 คนถ่ายแบบสวมใส่ผ้าลายอย่างอยุธยา กระตุ้นความเป็นไทยในช่วงงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ประเดิมจัด”อยุยาขลุ่ยทิพย์พันเลา กลางโบราณสถานวัดมหาธาตุ

เป็นที่ฮือฮาอย่างมากเมื่อ ดร.ดุลย์พิชัย โกมลวานิช ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา และเป็นศิลปินปราชญ์อยุธยา และยังเป็นเจ้าของสิบปะอยุธยา ได้นำสตรีนักธุรกิจ และผู้ที่เป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถในสาขาต่างๆ มาร่วมกันถ่ายแบบ ด้วยการสวมใส่ชุดไทยผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าที่มีคุณค่าทั้งด้านศิลปะและส่งเสริมด้านวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชาติที่สืบทอดกันมา และมีความแตกต่างจากชุดไทยในปัจจุบันอย่างมาก  

ดร.ดุลย์พิชัย กล่าวว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา จะเป็นแม่งานใหญ่ในการจัดงาน”อยุธยาขลุ่ยทิพย์พันเลา ครั้งที่ 1 “ ที่บริเวณลานด้านหลังวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูอยุธยาครั้งที่ 1 จะพบว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีกิจกรรมหลากหลาย ในการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยว แต่ครั้งนี้สำคัญมากเพราะจะเป็นการฟื้นฟูความเป็นอยุธยาที่เต็มรูปแบบครั้งที่ 1 การถ่ายแบบได้เชิญสตรีนักธุรกิจกลุ่มนักบริหาร ที่มีมีจิตใจช่วยฟื้นฟูอยุธยา ในหลายมิติ โดยมิติครั้งนี้เป็นการแต่งกายอย่างทางอยุธยา ผ้าลายอย่างที่สูญหายไปตั้งแต่เสียกรุง ตอนนี้จะเห็นในภาพยนตร์ หรือตามที่ต่างๆ แต่ครั้งนี้เป็นการเปิดตัวที่ชัดเจน โดยใช้องค์ความรู้จาก ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติ อาจารย์คณะศิลปะประยุกต์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าและสิ่งทอโบราณ มาเป็นแกนหลักในการค้นคว้าหาข้อมูลจัดการแต่งกายด้วยผ้าลายอย่าง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา ได้จัดหาผ้าลายอย่างแท้ๆ 200 ผืนแรก จะไปอยู่บนเรือนร่างของสตรี 200 ท่าน

การถ่ายแบบครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้เข้าใจและรณรงค์แต่งชุดไทยมาเที่ยวงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก ในระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค.63 ยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานวันที่ 28 พย ซึ่งจะมีการแสดงออเคสตร้า ร่วมกับเยาวชน 1พันคน ที่ได้รับการฝึกซ้อมขลุ่ย จากดร.ธนิต ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ ยังมี อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ศิลปินแห่งชาติอีกท่าน มารจนากวี เล่าเรื่องผ้า เล่าเรืองอยุธยา และจะมีเมล็ดพันธ์ศิลปินที่ดีที่สุด คือ หนึ่ง จักรวาล เสาธงยุติธรรม โดยจะอำนวยเพลง  จะเชื่อมเด็ก ศิลปินแห่งชาติ คนแต่งเพลง และออเครสต้า กองทัพบกร้อยกว่าชีวิต ชุดสีแดงเต็มยศ 5 ทศวรรศ เป็นการรวมตัวกัน

ไม่ว่าสังคมจะเกิดความวุ่นวายอย่างไร ต้องหาข้อยุติ แต่ศิลปะจะเชื่อมโยงความแตกต่างให้มารวมกัน โดยจะเป็นการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ยังมีพระครูเกษม จันทรวิมล พระอาจารย์แดง แห่งวัดป้อมรามัญ มาปลุกเสกไข่ 3 พันฟอง และเจียวให้เด็กฝึกซ้อมได้ทานกันระหว่างการซ้อม ในวันนั้นผู้ที่แต่งกายชุดไทยจะเป็นทิพย์ของเมือง และพลเมือง เป็นเงาของเมืองที่จะไปเดินแบบร่วมสมัย จะดึงเอาสมัยอยุธยาออกมา ให้เห็นว่าสมัยอยุธยาควรจะมีรูปแบบอย่างไร ส่วนภาพที่ถ่ายวันนี้ จะนำไปแสดง 200 ภาพที่ลานกิจกรรมวัดมหาธาตุ และจะมอบภาพทั้งหมดให้ผู้ที่มาเดินแบบวันนั้น จริงๆแล้วเรามีภาพกิจกรรมเป็นหมื่นรูปจะเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ ในเรื่องการแต่งกายผ้าอย่างอยุธยา

 

ดร.ดุลย์พิชัย ยังได้กล่าวว่าผ้าลายอย่างเป็นผ้าในราชสำนักในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เหตุที่เรียกว่า ผ้าลายอย่าง เพราะว่าเป็นผ้าพิมพ์ที่ออกแบบโดยราชสำนักสยามแล้วส่งไปพิมพ์ที่อินเดีย ด้วยอินเดียมีชื่อเสียงในการผลิตสิ่งทอคุณภาพเยี่ยมในสมัยนั้น จึงได้ชื่อว่า ผ้าลายอย่าง คือ ทำตามอย่างที่ออกแบบไปให้ การออกแบบลวดลายผ้าลายอย่างนั้นต้องทำอย่างประณีต พิถีพิถัน ด้วยเหตุว่าในสมัยก่อนนั้น ผ้าลายอย่างเป็นผ้าชั้นสูง คือ เป็นผ้าทรงสำหรับกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง สามัญชนจะนุ่งได้เมื่อได้รับพระราชทานตามบรรดาศักดิ์ อยู่ๆแค่มีเงินจะไปซื้อมานุ่งตามอำเภอใจหาได้ไม่ การออกแบบลวดลายผ้าสำหรับราชสำนักจึงเป็นสิ่งที่ต้องมีความพิเศษยิ่ง ลวดลายต้นแบบที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยและสะท้อนความหรูหราอย่างราชสำนักชัดเจนจะถูกวาดลงในสมุดพร้อมคำสั่งรายละเอียดในการผลิต จากนั้นจึงส่งไปพิมพ์ลายที่ประเทศอินเดีย ผ้าลายอย่างนี้เป็นผ้าที่มีการเขียนลายและพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ลงบนผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดแน่นมีความเนียนเรียบ มีคุณภาพดีที่จะรองรับเทคนิคชั้นสูงอันละเอียดซับซ้อนของการเขียนลายและพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้ ช่างฝีมืออินเดียนั้นมีภูมิปัญญามาแต่ครั้งโบราณที่สืบทอดต่อๆกันมาด้านการใช้สีที่พิมพ์ลงบนผ้า สีจะติดทนทาน สีไม่ตก เพราะรู้จักการใช้สารยึดสี ผ้าที่ผลิตตามคำสั่ง ตามแบบอย่างที่กำกับไว้ชัดเจนนี้จึงถูกผลิตอย่างสวยงาม ประณีต ก่อนจะส่งกลับมาใช้ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา อินเดียมีชื่อเสียงเรื่องการทำ ผ้าลาย ให้หลายประเทศ เช่น  อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น แต่ ผ้าลายอย่างของไทย หรือ  จะมีความงามแตกต่างจากผ้าพิมพ์ที่อินเดียผลิตให้ประเทศอื่นๆอย่างชัดเจน ช่างอินเดียได้เห็นลวดลายที่ไทยส่งไปคงเห็นว่างามแท้ จึงมีการดัดแปลงและผสมผสานลวดลายแบบอินเดียเข้าไปด้วยและผลิตออกมาเพื่อขายให้กับชาวบ้านทั่วไปนอกรั้ววัง ผ้าพวกนี้เรียกว่า ผ้าลายนอกอย่าง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของน.ส.พ.เอทีวีวิชั่น นักเขียนอิสระ