X

ครูเก่านิมิตข้ามภพ”ไปเมืองลับแล”ก่อนเป็นพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก

พระนครศรีอยุธยา-วัฒนธรรมจังหวัดฯรับนโยบายพ่อเมืองเตรียมผลักดันพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก แหล่งเรียนรู้”ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำลพบุรี”ที่น่าสนใจ ครูเก่าเปิดใจนิมิตข้ามภพ ไปถึงเมืองลับแล

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองประวัติศาสตร์เรียกได้ว่าเดินไปที่ไหน ทุกตารางนิ้วแทบจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ พิพิธภัณฑ์บ้านแพรก ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ ต.สำพะเนียง โดยมีอาจารย์ประสาน เสถียรพันธุ์ เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ และเป็นผู้ผลักดันให้พิพิธภัณฑ์บ้านแพรกเป็น “ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำลพบุรี” โดยมีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ชุมชน วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของท้องถิ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูลอย่างมาก

อาจารย์ประสานเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่มารับตำแหน่งครูที่ อ.บ้านแพรก เมื่อปี 2522 ก็ได้ศึกษาเรื่องราวของอำเภอบ้านแพรก ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการตั้งถิ่นฐานของคนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นลาวเวียง ขอม มอญ และเขมร จึงเกิดร่องรอยของวิถีชุมชนหลากหลายที่น่าสนใจ จากการเดินสำรวจกระเบื้อง 1 ชิ้น จนพบเตาเผา ตุ๊กตา รวมทั้งของใช้สมัยโบราณจำนวนมาก จึงสร้างพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างอาคารโดยภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบมุมและห้องต่างๆ

อาจารย์ประสานยังเล่าให้ฟังด้วยว่าตนไปเมืองลับแลมาสองวันระหว่างการเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ โดยขณะนอนอยู่ไปโผล่ที่ต้นมะขามหรือบริเวณศาลเจ้าแม่มะขามเฒ่า แล้วมียายแก่ๆ พาเข้าอุโมงค์ไปโผล่เมืองลับแล เจอผู้คนมากมายสมัยโบราณเมืองสวยงาม แล้วคนที่นั่นบอกว่าตรงที่สร้างพิพิธภัณท์แห่งนี้มีวัดเก่าแก่มากมาย มีพระนอนจากนั้นตนก็กลับมา

จากมุมเศษกระเบื้องเล่าเรื่องโบราณ เป็นเศษกระเบื้องที่ชาวบ้านแพรก เก็บมาได้จากทุ่งนารอบๆ หมู่บ้าน ซึ่งเส้นทางบริเวณนี้เป็นเส้นทางเดินของแม่น้ำลพบุรีสายเก่า และยังเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเก่ที่มีขนาดใหญ่ สามารถบอกเล่าเรื่องราวการเข้ามาอยู่ของชุมชนคนบ้านแพรก ย้อนกลับไปในอดีตเพื่อสืบหาอายุของชุมชนจากเศษกระเบื้อง และเครื่องปั้นดินเผา ที่ผลิตจากแหล่งผลิตต่างๆ ที่เป็นสินค้าเข้ามาขายในเขตชุมชนโบราณบ้านแพรก เมื่อประมาณ 700-800  ปี  โดยพ่อค้านำเข้ามาขายทางเรือ บรรทุกเกวียน เห็นถึงความเจริญรุ่งเองในอดีตของชุมชนบ้านแพรก และรับรู้ได้ว่าอำเภอบ้านแพรกเป็นอำเภอที่มีประวัติอันยาวนาน มีหลักฐานที่ปรากฏชัดเจน

อีกมุมที่น่าสนใจ เป็นเรื่องราวตำนานรักชาวบ้านแพรก ตำนานความรักของคนบ้านแพรกเป็นเรื่องราวความรักของคนบ้านแพรกในอดีต ที่ได้กล่าวขานกันเป็นตำนาน เป็นความประทับใจ และความทรงจำที่ฝังใจ ที่แสดงให้เห็นถึงความรักความผูกพันไม่ว่าจะเป็นความรักของคนหนุ่มสาว ความรักของพี่ที่มีต่อน้องสาว ความรักของพ่อที่มีต่อลูก ความรักของผู้นำชุมชน และความรักของคุณยายที่ตามองไม่เห็นแต่สร้างศาลาให้คนตาดีไว้พักอาศัย การสร้างสื่อรักแทนใจที่แสดงให้เห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ เช่น ไม้คานรัก พายรัก เรือรัก เรือนหอรอรัก เครื่องกรอด้ายสายใยรัก และศาลารักพักริมทาง เพื่อทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่เป็นอมตะนิรันดร

ลิเกหอมหวล ราชาลิเกของเมืองไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เจ้าของคณะคือ นายหอมหวล นาคศิริ ชอบการแสดงพื้นบ้านมาตั้งแต่เด็ก เพราะมีมารดาเป็นแม่เพลงที่สามารถร้องเพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าวเพลงฉ่อยได้ไพเราะ เมื่อเติบโตได้ตั้งคุณะลิเกหอมหวล จนมีชื่อเสียงมาถึงปัจจุบัน

ตุ๊กตาภูมิปัญญาไทย ตุ๊กตาที่ค้นพบในเขต อ.บ้านแพรก โดยเฉพาะคลองสันป่า หรือที่ชาวบ้านแพรกเรียกคลองสันปัว ตุ๊กตาโบราณสมัยทวาราวดี สุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา จำนวนมาก มีศิลปะและการปั้นที่แตกต่างกัน

สมุดข่อยโบราณ ที่มีมากกว่า 300 เล่ม ตั้งแต่สมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นตำรายาสมุนไพร ตำรากฎหมาย แบบเรียนจินดามณี ตำราโหราศาสตร์ สุภาษิตสอนหญิง โดยมีกรรมวิธีที่ทำด้วยกระดาษจากเปลือกต้นข่อย โดยจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ สมุดข่อยสีขาว และสมุดข่อยสีดำ สมดข่อยสีขาวลบด้วยแป้งเปียกทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำปูนขาว ส่วนสมุดข่อยสีดำ ที่ต้องลบด้วยแป้งเปียกผสมด้วยเขม่าไฟ หรือที่เรียกว่า สมุก ซึ่งได้จากถ่านไม้โสนหรือกาบหมากกรรมวิธีการเหล่นี้เป็นภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณที่ต้องการเก็บเรื่องราวไว้ส่งต่อแก่คนรุ่นหลัง

หุ่นฟางวิถีไทย หุ่นฟาง ถือเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของคนไทยในการคิดหาวิธีการแก้ปัญหาในการทำเกษตรกรรมในอดีต บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์และเป็นเลิศในการประดิษฐ์จากวัสดุที่มีอยู่โดยเฉพาะบริเวณคลองสันป่า หรือที่ชาวบ้านแพรกเรียกว่า คลองตุ๊กตากับภูมิปัญญาไทย ตุ๊กตาที่คันพบในเขตอำเภอบ้านแพรกในชุมชน ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางความคิดในการขับไล่นก ทนู ที่คอยสินปัว ตุ๊กตาโบราณสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยยุคทวาราวดี สุโขทัยมากินเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ว่านลงไปในแปลงนา โดยทำด้วยซังหรือฟางและสมัยกรุงศรีอยุธยา จำนวนนับร้อยตัว ซึ่งมีศิลปะและการปั้นที่ข้าว มัดเป็นหุ่นสร้างขึ้นเลียนแบบมนุษย์ปักไว้ในนา เพื่อให้นกหรือหนูที่จะมาจิกกินข้าวในนาตกใจกลัว โดยมากจะทำจากฟางข้าวแตกต่างกัน เป็นวัฒนธรรมของคนในชุมชนอำเภอบ้านแพรก ที่บ่งบอกถึงความหลากหลายทางความเชื่อ และเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนหุ่นไล่กาในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะการสร้างที่แตกต่างกันไป แตโดยในชุมชนบ้านแพรกใช้เป็นกุศโลบายที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในมากมีลักษณะร่วมกันคือ รูปร่างคล้ายคน มีแขน ขา ศีรษะ คล้ายชุมชน หรือการปั้นตุ๊กตเพื่อการแก้เคล็ดอย่าง ตุ๊กตาเสียกบาล เมื่อคนจริง อาจจะสวมหมวกฟางเก่าที่ไม่ใช้แล้ว ที่แขนทั้งสองข้างขยับได้เมื่อโดนลมพัด ทำในกตกใจกลัวไม่กล้าเข้ามา หุ่นหรืออุปกรณ์แบบอื่นที่สร้างขึ้นเพื่อไล่นกในนา หรือในทุ่งไร่ ก็นิยมเรียกว่า หุ่นมีเด็กเกิดใหม่ จะมีการปั้นตุ๊กตาแม่อุ้มลูก และหักคอตุ๊กตาทิ้ง ไปไว้ที่ทางสามแพร่งเพื่อให้ป็นตัวตายตัวแทน และไม่ให้ผีเอาตัวลูกไป ไล่กา เช่นเดียวกัน

พัดสานบ้านแพรก แสดงภูมิปัญญาของชาวบ้านแพรก ในการทำเครื่องจักสานอย่างการสานพัด ตั้งแต่การเลือกไม้ การจักตอกการย้อมสี การจักสาน การตัดเข้าเล่ม การทำขอบ การทำด้ามพัดการเข้าด้าม จนสำเร็จเป็นพัดสานบ้านแพรก มีการประยุกต์ปรับปรุงรูปแบบตลอดเวลา การสานพัดเป็นอาชีพเสริมทำรายได้ของคนในชุมชน เป็นสินค้าพื้นเมืองที่สำคัญของชาวอำกอบ้านแพรก พัดสานจึงกลายมาเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง และได้รับการยกย่องให้เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอบ้านแพรก

เครื่องจักสานโบราณ แสดงภูมิปัญญาของชาวบ้านแพรกในการทำเครื่องจักสาน สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยก่อน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ อุปกรณ์ในการทำนา อุปกรณีในการจับสัตว์น้ำ ตะกร้ากระจาดต่างๆ เครื่องจักสานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและในอดีต เป็นผลงานที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านแพรก โดยมุ่งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเล่น เครื่องประดับตกแต่ง เป็นงานหัตถกรรมจากไม้ไผ่ มุ่งประโยชน์เพื่อการใช้สอยเราเรียกว่า เครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสาน ต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบขึ้นด้วยการจักการสานและการถัก หอการขัดกันของวัสดุที่ผ่านกระบวนการเตรียมด้วยการจักเพื่อแปรรูปวัสดให้สอดคล้องของการใช้เสียก่อน

มหรสพและการแสดงพื้นบ้าน แสดงการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้านการเล่นกาฟักไข่ ม้าก้านกล้วย เดินกะลา บ้องเต ก้อยโต่งควายกล่อม อีกมากมายที่เด็กรุ่นใหม่ๆ ไม่เคยได้ยิน และเคยได้ลองเล่น รวมถึการแห่นางแมวขอฝน ซึ่งมีคำร้องที่เป็นเอกลักษณ์

เรือกับวิถีชีวิตของคนไทย เรือกับวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำลพบุรีถือเป็นสิ่งคู่กันมายาวนาน โดยลักษณะของภูมิประเทศของอำเภอบ้านแพรก ที่เต็มไปด้วยสายน้ำแห่งชีวิตต่างๆ มากมาย มีลำคลองที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่างหมู่บ้านในอำเภอบ้านแพรก อีกทั้งอำเภอบ้านแพรก เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านไป หลักฐานที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนบ้านแพรก ก็คือ เรือต่างๆ ที่ถูกดันพบ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก อันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในการสร้างเรือที่เราเรียกว่า การต่อเรือ มีเรือที่ชาวบ้านใช้พายด้วยมือในสมัยโบราณ

นายภาณุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและวัฒนธรรมจังหวัดฯวางแนวทางการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรกให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ อีกทั้งมุ่งเน้นให้เกิดการท่องเที่ยวและปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นมีความรักในท้องถิ่นของตนเองมากยิ่งขึ้นด้วย

 

 

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ