X

มทร.สุวรรณภูมิ หนุนกุ้งแปลงใหญ่ สู่ตลาดสู้โควิด-19

พระนครศรีอยุธยา-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จับมือประมงและภาคธุรกิจท่องเที่ยวกรุงเก่า หนุนเกษตรกรเลี้ยงกุ้งหาตลาดสู้วิกฤตโควิด-13 สู่โมเดล “กุ้งคุณภาพ”

นับเป็นเวลาหลายวันที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดยนายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ ซึ่งประสบปัญหาจำหน่ายกุ้งไม่ได้ เนื่องจากตลาดรับซื้อปิด ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าคนกลางลดปริมาณการสั่ง ร้านอาหารปิด อีกทั้งยังมีกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงในบ่อจำนวนมากหลายสิบตัน ที่กักเก็บไว้เพื่อจำหน่ายช่วงสงกรานต์ ก็จำหน่ายไม่ได้ ดังนั้นเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำโดยนายวรชันย์ หลักกรด ได้หารือกับประมงจังหวัดฯในการหาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ อ.ผักไห่ มาจำหน่ายตามตลาดนัด และสถานที่ต่างๆ จนเกษตรกรสามารถนำกุ้งไปจำหน่ายตามจุดที่ราชการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องได้แล้ว

แต่ก็ยังมีกุ้งก้ามกรามที่เกษตรกรในบางพื้นที่เช่น อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา ติดต่อ อ.บางปลามม้า สุพรรณบุรี มีกุ้งอีกจำนวนมากจำหน่ายไม่ได้ นายมนัส ทรัพย์มีชัย เจ้าของร้านอาหารเดอริว่าอโยธยา ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา และนายอิทธิพันธ์ ขาวละมัย ตัวแทนของสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้ผลักดันให้นำกุ้งมาจำหน่ายบริเวณร้านอาหาร สามารถจำหน่ายกุ้งได้จำนวนมาก ช่วยให้เกษตรกรได้ระบายกุ้งได้วันละจำนวน 500 ก.ก.-1 ตัน ซึ่งเป็นการจำหน่ายกุ้งก้ามกรามขนาดตัวใหญ่ราคาต่ำกว่าราคากลางหรือท้องตลาด ประชาชนสามารถซื้อหารับประทานได้ในราคาถูก เกษตรกรมีรายได้

กุ้งก้ามกรามส่วนหนึ่งเป็นกุ้งที่มาจากชาวบล้าน อ.บางซ้าย และ อ.บางปลาม้า อยู่ในโครงการกุ้งแปลงใหญ่ที่มทร.สุวรรณภูมิ เข้าไปให้คำแนะนำในเรื่องของวิชาการการแปรรูป และการตลาด ได้ร่วมกับประมง อ.บางปลาม้า ในการมีส่วนหาตลาดให้กับเกษตรกรมาจำหน่าย จนล่าสุดสามารถขยายสถานที่จำหน่ายไปสู่ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ร่วมกับผลิตผลของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้การดูแลของประชารัฐรักสามัคคี จ.พระนครศรีอยุธยา

ผ.ศ.พาขวัญ ทองรักษ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มทร.สุวรรณภูมิ ประธานหัวหน้าโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ “กุ้งแปลงใหญ่”เล่าให้ฟังว่า โครงการนี้มาจากการที่กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (อ.ว.) มีนโยบายให้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยมีงบประมาณสนับสนุนจำนวนหนึ่ง ซึ่งก่อนที่จะเขียนโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการ ก็นำเรื่องราวจากการที่เคยไปเป็นวิทยากรด้านการแปรรูปเพิ่มมูลค่ากุ้ง พบว่าเกษตรกรมีปัญหามากมาย  ที่ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากต้นทุนสูง อาหารกุ้งแพง มีความเสียหายระหว่างการเลี้ยง ราคาขายไม่เป็นธรรม ทั้งหมดเป็นโจทย์ที่ถูกกำหนดขึ้น

เมื่อมีการเขียนโครงการก็ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับตัวแทนชุมชน เกษตรกร และนักวิจัยให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม หาสาเหตุ จนสามาระคิดวิเคราะห์แยกแยะและสามารถแก้ไขปัญหา ทำให้การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย ได้ผู้เชี่ยวชาญด้านกุ้งมาช่วยจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธ์ โดยมีการใช้ระบบ IOT ซึ่งเป็นระบบการสั่งการและตรวจสอบคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง ด้วยโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยจากเนคเทค เป็นการลดแรงงานและเพิ่มความแม่นยำ จนมาถึงการแปรรูปและเพิ่มมูลค่ากุ้งใช้ประโยชน์จากกุ้งตายจากการเลี้ยง มาแปรรูปเป็นน้ำพริก ซอสต้มยำ หรืออื่นๆ ซึ่งดำเนินการก่อนงบประมาณมาถึง เพื่อให้ทันต่อการแก้ปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ เนื่องจากไม่มีใครคิดว่าจะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงต้องเร่งถ่ายทอดการแปรรูปทันที สู้การหาตลาดให้กับเกษตรกรกุ้งแปลงใหญ่ของอ.บางปลาม้า เข้ามาร่วมขายในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ดังกล่าว

วันนี้ จากการที่ ผศ.พาขวัญ ทองรักษ์ ตัวแทนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ใช้เวลาในการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยได้ความร่วมมือจากประมงบางปลาม้า สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร้านอาหารเดอริว่าอโยธยา และศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค หรือ ธกส.ให้โอกาสนำไปจำหน่ายในสถานที่เครือข่ายของ ธกส.เช่นที่สำนักงานใหญ่ ทำให้ผลที่เกิดขึ้นคือ เกษตรกรสามารถระบายกุ้งได้ 7-30 ตันภายในเวลาไม่นาน เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้เครือข่ายมีการเชื่อมโยงกับร้านอาหาร และผู้บริโภคโดยตรง ตัดกลไกของพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าคนกลางที่เคยมาซื้อได้ให้ราคาที่สูงขึ้นเท่ากับราคาที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายให้ผู้บริโภค พ่อค้าคนกลางมีการปรับพฤติกรรมเนื่องจากเกษตกรเข้มแข็งขึ้น เพราะสามารถขายกุ้งได้เอง สามารถปรับตัวและระเบียบวินัยในกลุ่มกันเอง

สิ่งที่ยังห่วงคือการปรับตัวของเกษตรกรต้องรักษามาตรฐานในกลุ่มเกษตรกร ระบบบริหารจัดการที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ ราคากุ้งต่อขนาดของกุ้งกับความต้องการของลูกค้า จนกลายเป็นแบรนด์”กุ้งคุณภาพ”ที่มาจากกุ้งแปลงใหญ่ ในวิกฤตโควิดครั้งนี้ และจะเป็นเหมือนโมเดล หรือการนำร่องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศนำไปใช้ และที่สุดผลดีก็จะได้กับผู้บริโภค ที่รับประทานกุ้งราคาถูก พ่อค้าคนกลางเกิดการแข่งขัน และจะเกิดอาชีพอื่นๆตามมาอีกมากมายนั่นเอง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของน.ส.พ.เอทีวีวิชั่น นักเขียนอิสระ