X

กรุงเก่าข้าวแลกอาหารทะเลสมุทรสาครช่วงวิกฤตโควิด-19

พระนครศรีอยุธยา-กทบ.นำร่องมอบข้าวสารแลกเปลี่ยนอาหารทะเลบ้านท้องคุ้ง สร้างโอกาสให้ชุมชน ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ไม่ตัองใช้เงินซื้ออาหารทะเล นำข้าวสารไปแลกตามวัฒนธรรมดั่งเดิมแบบโบราณ

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 ที่ทำการสถาบันการเงิน ชุมชนบ้านท้องคุ้ง นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  ได้ลงพื้นที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสักขีพยานในการส่งมอบข้าวสารท้องคุ้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดย นายเชเว่น เสงี่ยมเฉย ประธานกองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชนหมู่ที่ 4 ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่นำมาแลกเปลี่ยนอาหารทะเลท้องคุ้ง  นำโดยนายบุญเติม รอดสุภา ประธานกองทุนหมู่บ้านสถาบันการเงินหมู่บ้านท้องคุ้ง หมู่ที่ 6 ต.กาหลง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการนำร่องของกองทุนหมู่บ้าน หรือ กทบ. โดยใช้ระบบการแลกเปลี่ยนอาหาร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและสร้างเข้มแข็งทางวัฒนธรรม อีกทั้ง สร้างโอกาสให้ชุมชน ควบคู่กับการเชื่อมโยงของคนในกองทุนหมู่บ้าน ให้เป็นมากกว่าการบริการทางการเงิน แต่จะเป็นการทำให้สถาบันกองทุนหมู่บ้านเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชุนในเรื่องของอาหาร และผลิตภัณฑ์ชุมชน ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า การหมุนเวียนของสินค้ากับเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศทั้งนี้สถาบันการเงินของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มองเห็นการสร้างโอกาสให้ชุมชนเชื่อมโยงสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารระหว่างกัน ที่เป็นมากกว่าการบริการทางการเงิน

นับเป็นปรากฎการณ์นำร่องและช่วยจุดประกาย การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชน เมือง หรือประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “Barter Trade” เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เคยมีมาแต่โบราณ สร้างความเข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีให้แก่ชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ องค์กร และชุมชน ลดภาระของส่วนราชการในการไปดูแลชุมชนดังกล่าว ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติได้อย่างดีในสถานการณ์ปัจจุบัน เงินตรา หรือรายรับขาดสภาพคล่องที่จะลงสู่เศรษฐกิจฐานล่างได้อย่างทันสถานการณ์ เป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องเพราะระบบเศรษฐกิจโดยรวมต้องชะงักงันในช่วงโควิด-19 ระบาดทำให้การทำมาค้าขายปกติทำไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้เรายังเห็นความเดือดร้อนของผู้ลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทที่มีกว่า 27 ล้านคนถือว่าไม่น้อยยังไม่รวมก้อนเกษตรกร และวิชาชีพอื่น ๆดังนั้นสถานการณ์นี้การนำโมเดลของ การแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยตรงหรือ Barter Trade จึงน่าจะเป็นทางออกหนึ่ง เพราะสามารถใช้ Platform ที่ทันสมัย การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายยุคปัจจุบันการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อยามเกิดวิกฤตโรคระบาด และยามขาดแคลนเงินสด

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ