X
พายุถล่มสวนทุเรียน

พายุถล่มสวนทุเรียน

พายุถล่มสวนทุเรียนในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อนล่าสุดลมพายุยังคงพัดรุนแรงมากกว่าเดิมจนทำให้บางสวนเสียหายมากกว่า10ตันรวมทั้งหมู่บ้านมากกว่า 60 ตัน

พายุถล่มสวนทุเรียน

ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีหลังจากที่พายุฤดูฝนได้กระหน่ำมากว่า4วัน ทำให้ชาวสวนทุเรียน 5 หมู่บ้านของตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อนได้รับผลกระทบจากพายุฝนพัดกระหน่ำสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะหมู่บ้านเขาหักพัฒนา หมูที่ 13 ซึ่งภูมิทัศน์อยู่บนพื้นที่สูงจึงทำให้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุฝนทำให้สวนทุเรียนเสียหายทั้งหมู่บ้านโดยล่าสุดลมพายุยังคงพัดรุนแรงมากกว่าเดิมจนทำให้บางสวนเสียหายมากกว่า10ตันรวมทั้งหมู่บ้านมากกว่า 60 ตันต่อวันสร้างความเสียหายให้กับชาวสวนเป็นจำนวนมาก  เบื้องต้นวันนี้(11-06-61)เวลา17.30น.  นาง กานต์เปรมปรี ชิตานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีพร้อม นายพีรณัฐ รัตนวรโอภาส(อ่าน-รัด-ตะ-นะ-วอ-ระ-โอภาส) นายอำเภอโป่งน้ำร้อนได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายที่สวนของนาง บุสยา รุ่งสว่าง และ สวนของนาย ณัฐวุฒิ รสชื่นเจ้าของสวนทุเรียนใกล้เคียงกัน พร้อมให้กำลังใจชาวสวนที่ได้รับผลกระทบพร้อมกำชับให้ผู้นำชุมชนเร่งสำรวจและรายงานข้อมูลให้จังหวัดทราบเพื่อจะได้ทำการช่วยเหลือเยียวยาให้กับเกษตรกรชาวสวนต่อไป นางบุสยา เล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า ช่วงเมื่อคืนของวันที่11 ได้มีฝนและลมพัดมาแรงมาก ประมาณ แค่ 5 นาที ทำให้ทุเรียนหล่นเสียหายทั่วบริเวณ หลังพายุลดลงออกตรวจสอบ เสียหายไปประมาณหลายตัน และยังตกต่อเนื่องทั้งวัน ตกหนักมาเป็นช่วงๆ จนเมื่อเวลา 11.00 น. ช่วงกลางวันก็ได้พัดเข้าถล่มอีกรอบ สร้างความเสียหายเพิ่มเติมรวม 2 ครั้ง ประมาณ 7 ตันกว่า คิดเป็นเงินประมาณ 5 แสนกว่าบาท  ส่วนสวนใกล้เคียงไม่ห่างกัน สวนของณัฐวุฒิ รสชื่น ก็เสียหายไม้แพ้กัน ได้พาเดินดูความเสียหายภายในสวน และต้นที่ล้มทั้งยืนติดผลเป็นลูกอยู่บนต้นมากถึง 50 ลูก

ในเบื้องต้นกำชับผู้นำชุมชนและส่วนที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันดูแลควบคุมในส่วนของทุเรียนที่เสียหายจากพายุไม่ให้ออกสู่ตลาด โดยแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนพ่นสีสเปรย์ ให้เป็นตำหนิ เพื่อป้องกันไม่ให้พ่อค้าที่รับซื้อต่อจากชาวสวนไปวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคเพราะทุเรียนที่โดนพายุพัดเสียหายชุดนี้ยังไม่ครบกำหนดตัด และเปอร์เซ็นของเนื้อทุเรียนจะนำไปแปรูปบริโภคได้คือ นำไปทำทุเรียนกวน หรือไปอบเป็นผงแล้วนำมาผลิตเป็นไอครีม รองผู้ว่าจังหวัดจันทบุรียังกล่าวอีกว่า ในส่วนของจังหวัดจะหารือออกมาตรการต่างๆในการควบคุมคุณภาพทุเรียนของจังหวัดจันทบุรีให้มีมาตรฐานดีที่สุดก่อนจะถึงผู้บริโภค และดูแลเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในส่วนการชดใช้ความเสียหายของผลผลิตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติให้สมดุลย์กับการลงทุนในอนาตคต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน