X

พัทลุง-สร้างฝายชะลอน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งกว่า 1,500 ไร่

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดพัทลุง ส่งมอบโครงการฝายชะลอน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งกว่า 1,500 ไร่ พื้นที่บ้านห้วยบอน ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน “สืบสาน รักษา ต่อยอด ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สร้างฝายชะลอน้ำ” รูปแบบฝายมีชีวิต

วันที่ 25 มีนาคม 2564 บริเวณลำคลองบ้านห้วยบอน หมู่ที่ 10 ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง นาบกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานในพิธีส่งมอบโครงการฝายชะลอน้ำแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบมายาวนานเกือบ 2 เดือน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชปณิธานในการทรงงานเพื่อจะ สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดพัทลุง จึงได้กับชาวบ้านในพื้นที่จัดทำโครงการ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ สร้างฝายชะลอน้ำ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน และบูรณาการร่วมกับโครงการต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น โครงการธนาคารต้นไม้ และโครงการชุมชนอุดมสุข ก่อให้เกิดการสนับสนุนดูแลรักษาป่าไม้ อนุรักษ์ดินและน้ำให้อุดมสุขสมบูรณ์ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และประชาชนในชุมชนสร้างการมีส่วนร่วม


สำหรับที่ตั้งของฝายชะลอน้ำแห่งนี้ เป็นจุดที่ชุมชนเคยร่วมกันสร้างฝายหรือนบกั้นน้ำมาก่อนมากกว่า 100 ปี เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำและชะลอน้ำของเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 10 ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน ในการทำนาข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ผลไม้ พืชผักทุกชนิด และเป็นจุดกั้นน้ำที่ทำให้น้ำกระจายไปทั่วบริเวณสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งได้กว่า 1,500 ไร่ ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น การก่อสร้างฝายในครั้งนี้ใช้รูปแบบฝายมีชีวิต ขณะที่หลายพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงในขณะนี้ได้ประสบปัญหาภัยแล้ง ประชาชนที่อยู่ใกล้ทางน้ำได้ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำจำนวนมากเพื่อใช้ในการเกษตร ส่วนฤดูการปลูกข้าวนาปรังที่ถึงนั้น ทางด้านสำนักงานชลประทานจังหวัดพัทลุงได้ประกาศเตือนเกษตรกร ห้ามทำนาปรังนอกเขตชลประทาน เนื่องจากน้ำจ่ายไม่มีเพียงพอ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน