X
ลำปางบริหารจัดการเชื้อเพลิง

ลำปางบริหารจัดการเชื้อเพลิง โดยการมีส่วน ดูแลระบบนิเวศน์ป้องกันปัญหาไฟป่าพื้นที่ป่าชุมชน

ลำปาง – ป้องกันภัยลำปาง ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ดูแลระบบนิเวศน์ป้องกันปัญหาไฟป่าในพื้นที่ รวมพื้นที่ป่าชุมชนกว่า 1,500 ไร่ ซึ่งกิจกรรมในการจัดการเชื้อเพลิงเหล่านี้ จะมีผลโดยตรงทำให้พฤติกรรมของไฟป่าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ง่ายต่อการควบคุมมากขึ้น

นายชาคร  ณ ลำปาง หัวหน้าสำนักงาน.ปภ.จ.ลำปาง สาขาเถิน เปิดเผยว่า สำนักงาน.ปภ.จ.ลำปาง สาขาเถิน ร่วมกับนายประคอง ปัญโญ หัวหน้าหน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าเสริมงาม เจ้าหน้าที่รถน้ำดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์  หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 3 แม่ทาน สาขาบ้านแก่น เจ้าหน้าที่ทหารมวลชนสัมพันธ์อำเภอสบปราบ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สบปราบผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและราษฎร ต.แม่กว๊ะ ต.นายาง อ.สบปราบ กว่า 60 คน

ได้ร่วมกันดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยการมีส่วน บริเวณป่าชุมชนข้างทางหลวงถนนพหลโยธิน ทั้งขาขึ้นและขาล่อง ระหว่าง กม.ที่ 666-662 ต.แม่กว๊ะ ต.นายาง ป่าชุมชนบ้านนาปราบ ม. 3 ต.นายาง อ.สบปราบ เขตติดต่ออำเภอสบปราบและอำเภอเกาะคา รวมพื้นที่ป่าชุมชนกว่า1,500 ไร่

ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเป็นการป้องกันไฟป่าและดูแลระบบนิเวศน์ โดยการจัดการเชื้อเพลิง ซึ่งเชื้อเพลิง เป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบของสามเหลี่ยมไฟ เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดไฟป่า คืออินทรียสารทุกชนิดในป่าที่ติดไฟได้ ได้แก่ ต้นไม้ ตอไม้ ไม้พุ่ม กิ่งก้านไม้ ใบไม้ หญ้า และไม้พื้นล่างต่างๆ รวมไปถึงเศษซากพืช (Duff) และดินอินทรีย์ (Peat) โดยทฤษฎีแล้วหากไม่มีเชื้อเพลิงเหล่านี้ ไฟป่าก็จะไม่เกิดขึ้นได้ แต่ในความเป็นจริงทฤษฎีนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเชื้อเพลิงในป่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบนิเวศป่าไม้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติถึงแม้จะไม่สามารถกำจัดเชื้อเพลิงทั้งหมดออกไปจากป่าได้ แต่ก็สามารถลดปริมาณเชื้อเพลิงลงได้บางส่วน หรือเปลี่ยนแปลงสภาพของเชื้อเพลิง หรือตัดตอนความต่อเนื่องของเชื้อเพลิงออกจากกัน ดังนั้นการจัดการเชื้อเพลิงจึงพิจารณาดำเนินการเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าสูง มีการสะสมของเชื้อเพลิงมาก

หากเกิดไฟป่าจะยากต่อการควบคุม มีชนิดของเชื้อเพลิงที่ติดไฟและเกิดไฟป่าได้ง่าย หรือในพื้นที่ที่มีคุณค่าสูง เช่น สวนป่า เป็นต้น กิจกรรมในการจัดการเชื้อเพลิงเหล่านี้จะมีผลโดยตรงทำให้พฤติกรรมของไฟป่าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ง่ายต่อการควบคุมมากขึ้น เช่น อัตราการลุกลามช้าลงและไม่ต่อเนื่อง ความรุนแรงของไฟลดลง ความสูงเปลวไฟลดลง การติดไฟของเชื้อเพลิงยากขึ้น เป็นต้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ประทีป นันทะผาบ

ประทีป นันทะผาบ

นักข่าวประจังหวัดลำปาง ทำงานด้านการข่าวมานาน 10ปี ผู้ดูแลจังหวัดลำปาง