X

พ่อเมืองลำปาง เปิดจวนผู้ว่าฯ นำนักศักษาวิชาทหาร เข้าเยี่ยมชมจวนผู้ว่าศึกษาดูงานหอประวัติศาสตร์นครลำปาง

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 น. พันเอก ชรินทร์ สุวรรณะ ผู้บังคับศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 32 นำนักศึกษาศึกษาวิชาทหารชั้นปี ที่ 4 และ 5 จากศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ค่ายสุรศักดิ์มนตรี เข้าเยี่ยมชมพื้นที่โดยรอบจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย แปลงปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลานกิจกรรมจวนม่วน และศึกษาดูงานหอประวัติศาสตร์นครลำปาง โดยมีนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย รศ.ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับให้โอวาทฯ และนำชมสถานที่ มีนางจันทร์สม เสียงดี อดีตผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเทศบาลนครลำปาง อดีตที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครลำปาง บรรยายสรุปและนำชมความเป็นมา และศึกษาประวัติศาสตร์ ณ หอประวัติศาสตร์นครลำปาง

ทั้งนี้ จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการจัดตั้งหอประวัติศาสตร์นครลำปางขึ้น ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (หลังเดิม) ซึ่งจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางหลังเดิม เป็นอาคารไม้สักที่มีสภาพทรุดโทรม และมีอายุเก่าแก่มานานหลายสมัย โดยกระทรวงมหาดไทยได้สนับสนุนงบประมาณให้สร้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางหลังใหม่ เพื่อทดแทนจวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (หลังเดิม)

ดังนั้น จังหวัดลำปางได้บูรณะ ซ่อมแซมและจัดทำเป็นหอประวัติศาสตร์นครลำปาง เพื่อให้มีแหล่งศึกษาเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดลำปาง สำหรับเยาวชนรุ่นหลังตลอดจนผู้สนใจและประชาชนทั่วประชาชนทั่วไป ได้ศึกษารวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเยี่ยมชม ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่จะได้มาเยี่ยมชมและรับทราบถึง ประวัติความเป็นมา ของนครลำปาง ตั้งแต่ยุค พ.ศ.1223 นับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ่านกาลเวลามานานถึง 1,300 กว่าปี โดยในเนื้อหาเบื้องต้นของหอประวัติประวัติศาสตร์ฯ ประกอบด้วย 6 งานหลัก คือ

1. ประวัติศาสตร์เจ้าผู้ครองนครลำปางในทิพย์จักราธิวงศ์
2. รัตนนารีศรีนครลำปาง
3. ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์ ณ นครลำปาง
4. รายนามผู้ว่าการเมืองนครลำปาง และผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ตั้งแต่คนที่ 1 ถึงปัจจุบัน
5.รางวัลความภาคภูมิใจของจังหวัดลำปาง
6. ห้องจัดแสดงความสัมพันธ์ลำปางจิ่งเต๋อเจิ้นในด้านเซรามิก

หอประวัติศาสตร์แห่งนี้ จะเป็นสถานที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครลำปางที่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ จะสามารถเข้ามานั่งพักผ่อนเยี่ยมชมถ่ายรูปศึกษาข้อมูล เป็นจุดแวะพักนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะการนั่งรถม้าอันเป็นสัญลักษณ์ หนึ่งเดียวของประเทศไทย รวมทั้งการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญต่างๆ ในหอประวัติศาสตร์ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สิ่งต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากที่ได้เปิดใช้ชมหอประวัติศาสตร์นครลำปางต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน