X

องคมนตรี ติดตามการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศ

 

องคมนตรี     ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน   อำเภอหัวหิน   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ( ภาพ/ข่าว วิมล ทับคง) 

วันที่ 4 กันยายน 2562               พลเอกชลิต   พุกผาสุก  องคมนตรีประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวงลงพื้นตรวจเยี่ยมและคิดตามความก้าวหน้า การดำเนินงานด้านฝนหลวงของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร  ณ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน   อำเภอหัวหิน   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายพัลลภ พกมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,นายธนนท์ พรรพีพาส นายอำเภอหัวหิน  ให้การต้อนรับและนายดนุชา สินธวานนท์  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ,นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ,นายวัฒนา สุกาญจนาเศรษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการดัดแปรสภาพอากาศและเทคโนโลยีสารสนเทศ และนายฉันติ เดชโยธิน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ บรรยากาศประยุกต์ กล่าวบรรยายถึงประวัติความเป็นมาและการพัฒนาด้านต่างๆ

โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นหน่วยงานสำคัญ ในการดูแลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของเกษตรกรและประชาชนเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งและภัยพิบัติต่างๆของประเทศ    ในด้านปฏิบัติการฝนหลวงให้กับพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานกว่า 110 ล้านไร่    การเติมน้ำให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำสำคัญทั่วประเทศ บรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่า พายุลูกเห็บ และปัญหาฝุ่นละอองในอากาศรวมถึงพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นการสืบสานรักษา และต่อยอดศาสตร์พระราชา

โครงการฝนหลวงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี

ด้านการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีศูนย์ฝนหลวงหัวหิน ตั้งอยู่ภายในสนามบินบ่อฝ้าย  อำเภอหัวหิน   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโครงการฝนหลวงในระยะเริ่มแรกบุกเบิกโครงการฝนหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้สนามบินบ่อฝ้าย เป็นฐานปฏิบัติการหลักในการวิจัยค้นคว้าทดลองเพื่อพัฒนาขั้นตอนกรรมวิธีและเทคนิคในการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาและเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชกรณียกิจดังกล่าวด้วยพระองค์เอง ทั้งระหว่างที่ทรงแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล หรือทรงบัญชาการมาจากพระดำหนักจิตรลดารโหฐาน ผ่านข่ายวิทยุตำรวจโดยกรมการบินพาณิชย์ได้จัดอาคารท่าอากาศยานในขณะนั้นให้เป็นสถานที่ทรงงานหรือ”ศาลาที่ประทับ”

และมีห้องทรงงานของพระองค์ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2545  ได้มีการพัฒนาอาคาร”ศาลาที่ประทับ”เป็นศูนย์ฝนหลวงหัวหินประกอบด้วยห้องทรงงาน อาคารที่ทำการลานจอดเครื่องบินโรงเก็บและซ่อมบำรุงอากาศยานอาคารเก็บรักษาสารฝนหลวง อาคารห้องประชุมและอาคารปฏิบัติการคันคว้าทดลองทั้งด้านฟิสิกส์และเคมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศฝนหลวง สามารถถวายรายงานโดยตรงและตามพระราชประสงค์ผ่านเครือข่ายกองงานส่วนพระองค์ และได้รับการบำรุงรักษาให้มีศักยภาพพร้อมที่จะสนองพระราชประสงค์ได้อย่างสมพระเกียรติจนถึงทุกวันนี้

โดยปัจจุบันศูนย์ฝนหลวงหัวหิน  จัดให้มีหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวงเพื่อจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของฝนหลวง ขั้นตอนการปฏิบัติการฝนหลวงรวมทั้งห้องทรงงานเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านฝนหลวงของพระองค์ไห้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ

สำหรับการพัฒนาต่อยอดภารกิจค้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศตามศาสตร์พระราชา     โดยมีที่ตั้ง     ณ บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในพื้นที่50ไร่ โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯจะขอพระราชทานนามว่า”ศูนย์ฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยจะเป็นสถานที่ให้บริการข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโครงการฝนหลวง

ภายในหอเฉลิมพระเกียรติพระบิดาแห่งฝนหลวง (พิพิธภัณฑ์)การพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและด้านปฏิบัติการการสร้างครือข่ายวิชาการทั้งในประทศและต่างประเทศ การควบคุมคุณภาพการปฏิบัติการฝนหลวง การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมีและเมฆฟิสิกส์ตลอดจนการพัฒนาห้องทดลองด้านเมฆฟิสิกส์ (Cloud chamber) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ตามศาสตร์พระราชรวมทั้งมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ตอนบนเพื่อรองรับปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ตอนบน ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่และสนับสนุนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมสำรวจออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง และเตรียมจัดตั้งของบประมาณดำเนินการในปี 2564-2567 รวมถึงขอสนับสนุนอัตรากำลังเพิ่มเติมเพื่อรองรับปฏิบัติงานด้านการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการฝึกอบรมและระบบควบคุมคุณภาพการปฏิบัติการฝนหลวง และห้องปฏิบัติการวิจัยด้านต่างๆรองรับการทำงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศตามศาสตร์พระราชา

ทั้งนี้ด้านการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยปฏิบัติการทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม-29สิงหาคม 2562มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 172 วัน 4,890เที่ยวบิน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 8.69 และมีจังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม58 จังหวัด

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน