X

อช.กุยบุรี จัดกิจกรรมเติมน้ำ ทำโป่งเทียม” วันช้างไทย”

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จัดกิจกรรม”วันช้างไทย” สร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาระหว่าง “คนกับช้าง สร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของช้างป่า ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้ความสนการท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า ถึงร้อยละ 60 ที่เหลือเป็นกลุ่มคนไทย สร้างรายได้สู่ชุมชน

(วันที่ 13 มี.ค. 66) ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.5 (ห้วยลึก)หมู่ที่ 7 บ้านรวมไทย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม”วันช้างไทย”ปีนี้ พร้อมด้วยนายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,นายประธาน สังวรณ์ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ,นางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,นายมนตรี ลังกาพันธ์ นายอำเภอกุยบุรี หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มอนุรักษ์ ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี. ตลอดจนชาวบ้าน นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรม”วันช้างไทย”

นายประธาน สังวรณ์ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่3สาขาเพชรบุรี กล่าวว่าวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ช้าง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของช้าง

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญของช้างป่า และมีช้างป่าอาศัยอยู่ในพื้นทีไม่น้อยกว่า 350 ตัว และเป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้าง

ด้านนางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่าดังนั้น เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้าง จึงได้มีการจัดกิจกรรม”วันช้างไทย”ขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยในปีนี้นอกจากการจัดเสวนาในหัวข้อ”ทางออกของชุมชน คนช้างป่ากุยบุรี” แล้วยังได้นำรถบรรทุกน้ำ จากเทศบาล และอบต.ในพื้นที่อำเภอกุยบุรี บรรทุกน้ำจากอ่างเก็บน้ำยางชุมมาเติมใส่ในกะทะน้ำ ตามจุดต่างๆเกือบ 1 แสนลิตร เนื่องจากเป็นช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนฉีดพ่นน้ำตามแปลงหญ้าแหล่งอาหารสัตว์ป่า เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น เนื่องจากหญ้าบางส่วนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากไม่มีฝนตก นอกจากนั้นยังได้ร่วมกันเสริมโป่งเทียมซึ่งเป็นแร่ธาตุให้กับสัตว์โดยเฉพาะช้างป่าและกระทิง

โดยในช่วงบ่ายไปจนถึงเวลา 17.30.น.ยังคงมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวไทย ให้ความสนใจเข้าไปชมสัตว์ป่าตามจุดต่างๆที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้กำหนดจุดเอาไว้ ซึ่งจะมีโขลงช้างแต่ละจุดที่ออกมาหากินตามแปลงหญ้าและแหล่งน้ำ ตั้งแต่ 3-10 ตัวหรือบางครั้งอาจเจอโขลงใหญ่ 10 กว่าตัวขึ้นไปก็มี

โดยนักท่องเที่ยวต้องนั่งรถของชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่า เข้าไปเท่านั้นโดยแต่ละคันจะมีไกด์และคนขับของชุมชน ทั้งนี้ราคาค่าบริการ 850 บาทต่อหนึ่งคัน นั่งได้ 6-8 คนซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ อีกทางหนึ่งนอกจากการทำไร่สับปะรด

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวอีกว่าภายหลังเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวเข้าไปชมสัตว์ป่าในพื้นที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 -มกราคม -กุมภาพันธ์ ปีนี้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามากว่า 7,000 คนในรอบ 4 เดือนเฉลี่ยวันละประมาณ 50-60 คน เก็บเงินรายได้กว่า 1 ล้าน 2 แสนบาท เป็นชาวต่างชาติจากประเทศแถบยุโรป 65% ที่เหลือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย

โดยจุดเด่นของการชมสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีลักษณะโดดเด่น มีความเป็นธรรมชาติของทั้งสัตว์ป่า ช้างป่า กระทิงที่เดินออกมาหากินตามแปลงหญ้าในจุดต่างๆ จนได้รับการกล่าวขานว่า”ซาฟารีเมืองไทย”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน