X

 ปล่อยสัตว์ป่า สร้างโป่งเทียม  ที่ อช.กุยบุรี ถวายในหลวง ร.9

 

ชาวกุยบุรีจัดโครงการปันน้ำใจให้ช้าง สร้างอาหารให้สัตว์ป่า และปล่อยคืนสัตว์ป่า ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9

วันที่ 13 ตุลาคม 2561 ที่แปลงปลูกหญ้า ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายธีรพันธ์ นันทกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในการเปิดโครงการ “ปันน้ำใจให้ช้าง สร้างอาหารให้สัตว์ป่า และปล่อยคืนสัตว์ป่า ถวายเป็นพระราชกุศล ในรัชกาลที่ 9” โดยมีนายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอกุยบุรี ,นายวัฒนา พรประเสริฐ  ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ,นายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี, นายทัศนะ ศรีวิลาศ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่างสวนแห่งชาติ ป่ากุยบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการกุญชร) นายไพทูรย์ อรุณเนตร หัวหน้าป่าไม้ ที่ ปข.8 รวมถึง ทหารเฉพาะกิจจงอางศึก ทหารชุดประสานงานโครงการพระราชดำริ ตำรวจ จิตอาสาอำเภอกุยบุรีรวมกว่า 200 คน ร่วมในพิธี

โดยหลังจากประธานในพิธีได้ทำการเปิดกรวยดอกไม้ ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และกล่าวเปิดงานเสร็จแล้ว ก็ได้ร่วมกันปล่อยไก่ป่าตุ้มหูแดง และไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง  กลับคืนสู่ธรรมชาติ จากนั้นได้ร่วมกันสร้างโป่งเทียม หว่านเมล็ดพันธุ์หญ้าลูซี่ เติมกระทะน้ำเพื่อให้สัตว์ดื่มกิน

ด้านนายวัฒนา พรประเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันช้างป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำให้แปลงพืชอาหารแหล่งน้ำและโป่งเทียม ที่ได้จัดทำไว้มีความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์ของช้างป่าลดลง การปรับปรุงแปลงพืชอาหารแหล่งน้ำและโป่งเทียม เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ของช้างป่า สนองแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในการแก้ไขปัญหาช้างป่า และในครั้งนี้ได้มีการดำเนินการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติสร้างความสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีจึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการ ปันน้ำใจให้ช้าง สร้างอาหารให้สัตว์ป่า และปล่อยคืนสัตว์ป่า ถวายเป็นพระราชกุศลในรัชกาลที่ 9 เป็นการสนองแนวพระราชดำรัส ในการปรับปรุงแหล่งอาหารและแหล่งน้ำในพื้นที่ให้สามารถรองรับกับจำนวนช้างป่าและสัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศสัตว์ป่า เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวชมสัตว์ป่า เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าและป้องกันช้างป่าออกนอกพื้นที่ไปทำลายพืชไร่ของราษฎร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐภาคเอกชนและภาคประชาชนในการอนุรักษ์สัตว์ป่า

เรื่อง/ภาพ  พันธุ์พงษ์ โพธิ์จินดา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน