X

เปิดวิสัยทัศน์อธิการบดีคนใหม่ มรภ.วไลยอลงกรณ์ กับยุทธศาสตร์เป็นเลิศด้านการศึกษา

ปทุมธานี – เปิดวิสัยทัศน์อธิการบดีคนใหม่ มรภ.วไลยอลงกรณ์ กับยุทธศาสตร์เป็นเลิศด้านการศึกษา คู่การพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมคือ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันนี้มี ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว มาดำรงตำแหน่ง อธิการบดีใหม่ถอดด้าม ของ มหาวิทยาลัยฯแห่งนี่

ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว  กล่าวถึงถึงยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯแห่งนี้ ว่า “ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านบริบทของสังคมไทย และสังคมโลก จึงจะต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำ โดยจะบริหารด้วยการมีส่วนร่วม การมีเป้าหมายร่วมกัน แบ่งงานกันรับผิดชอบ ซึ่งตนเองนั้นได้คิดเตรียมแผนไว้แล้วและแนวยุทธศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยฯ ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีอยู่ 3 เรื่องที่สำคัญ

เรื่องแรกคือเรื่องของการพัฒนาท้องถิ่น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และทางมหาวิทยาลัยฯกำลังจะเคลื่อนงานเรื่องนี้ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาตนเองได้พบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 2จังหวัดคือจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปทุมธานี จะทำงานในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นอย่างไร อย่างที่จังหวัดสระแก้วมีโครงการสร้างเมืองสุขภาวะเป็นแนวคิดที่ดี สุขภาพดี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งได้เตรียมการส่งอาจารย์ลงพื้นที่ทำงานแล้ว

ส่วนจังหวัดปทุมธานีได้จับคู่กับองค์การบริหารส่วนตำบล  กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประชากร ที่จะร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในการที่จะทำงานร่วมกันและตอนนี้กำลังจะร่วมมือกับสถาบันพัฒนาชุมชนเมือง (พอช.) ที่จะพัฒนากลุ่มวิสาหกิจย่อยต่างๆ หรือชุมชนย่อยต่างๆของเขตภาคกลางจะได้มีการทำ (mou) และพัฒนาร่วมกันตรงนี้ถือว่าเราสร้างรูปธรรมการพัฒนาท้องถิ่นจากตัวชุมชนให้เกิดผลตามพระราชดำรัสคือการให้ไปพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นต่อซึ่งทางเราก็สร้างผลงานเชิงประจักษ์

ในด้านที่สอง คือด้านการผลิตและพัฒนาครูโดยได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่องแล้วแต่เรื่องการพัฒนาครูนั้นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยมีการจัดอบรมเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาครูในการที่ครูจะไปพัฒนาด้านการเรียนการสอนได้โดยใช้ทั้งคณะคุรุศาสตร์และโรงเรียนสาธิตเป็นหัวหอกสำคัญในการพัฒนาครูพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนต่างๆเพื่อให้ครูได้เห็นตัวอย่างที่ดีจากการเรียนการสอนรวมถึงยังได้แบกภารกิจในส่วนตรงนี้ไปยังคณะอื่นๆ ไปช่วยอบรมเด็กในโรงเรียนหรือไปพัฒนาครูในโรงเรียนและในปี พ.ศ.2561ที่กำลังดำเนินการอยู่นี้โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 2 ล้านบาทซึ่งได้ดำเนินการมาเกือบจะครบถ้วนแล้วในจุดต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้ครูเข้าใจในการเรียนการสอนแบบใหม่พร้อมทั้งนักเรียนจะได้พบกับครูที่มีความรู้ความสามารถทั้งเป็นการพัฒนาครูในการยกระดับการศึกษา

อีกทั้งในส่วนของทางมหาวิทยาลัยฯที่ไปร่วมกับชุมชนคลองสิบห้าและชุมชนคลองสามนั้นดำเนินการเพื่อที่มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์พืชแปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่แล้วเราก็ไปทำเก็ตติ้งให้เพื่อจะทำให้เกิดการมีมูลค่าเพิ่มของสินค้าเขามีสินค้าแล้วทางเราไปทำตลาดให้ตลาดที่ทำคือตลาดของไซเบอร์ตลาดทางเครือข่าย

ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยฯได้รับการยอมรับจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ช่วยทำตลาดไซเบอร์หรือทางอินเตอร์เน็ตขายผลิตภัณฑ์ของผู้พิการเช่าผ้าขาวม้าพร้อมทั้งการออกแบบให้ทำให้เกิดการซื้อขายมีมูลค่าที่สูงขึ้นหรือทางจังหวัดสระแก้ว (mou) กับหมู่บ้านที่จะช่วยกันพัฒนาและแนวทางการพัฒนาของเราจะเอาชุมชนนั้นเป็นฐานและเราจะมีชุมชนที่เป็นเป้าหมายสำคัญโดยจะมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฯเข้าไปดูแลชุมชนดังกล่าวนี้

ดร.สุพจน์  กล่าวต่ออีกว่า สุดท้ายคือเรื่องเกี่ยวกับการกิจการโดยการจะพัฒนามหาวิทยาลัย ฯของเราให้เป็นสีเขียวและมีสิ่งแวดล้อมที่สวยงามมีความร่มเย็นมีการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ เพื่อที่จะทำให้มหาวิทยาลัยๆ ของเราเป็นที่น่าอยู่น่าอาศัยพร้อมทั้งดึงดูดใจให้คนเข้ามาใช้บริการเข้ามาเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยซึ่งในตอนนี้ทางเราได้รับทราบจากเด็กที่เข้ามาสมัครเรียนในมหาวิทยาลัย ๆ เขาบอกว่าดูดีมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

แต่ก็จะต้องให้เต็มที่ในการพัฒนาต่อไปให้ได้อีกระดับหนึ่งและในปี พ.ศ.2561สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯจะเสด็จมาที่มหาวิทยาลัยฯแห่งนี้เพื่อเปิดนิทรรศการส่วนยุทธศาสตร์โรงเรียน ดังนั้นแล้วทางเราต้องปรับปรุงพัฒนามหาวิทยาลัยฯของเราให้มีสภาพออกมาเป็นตัวอย่างได้ว่านี่คือยุทธศาสตร์โรงเรียนซึ่งตนเองจะเร่งดำเนินการในช่วง1-2 ปีข้างหน้าที่จะเกิดขึ้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี