X

ปทุมธานี นายอำเภอเปิดงานวันล้มตอซังข้าวบ้านคูบางหลวง ช่วยลดฝุ่น PM2.5

ปทุมธานี นายอำเภอเปิดงานวันล้มตอซังข้าวบ้านคูบางหลวง ช่วยลดฝุ่น PM2.5

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่แปลงนาสาธิตล้มตอซังข้าว หมู่ที่ 9 ตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี นางรัฐยา อาจหาญ เผยพร นายอำเภอลาดหลุมแก้ว เป็นประธานเปิดงานวันล้มตอซังข้าวบ้านคูบางหลวง รณรงค์ลด “เผาตอซัง” ลดฝุ่นละออง PM 2.5 โดยมี นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี นางสาวทิชากร บุเกตุ เกษตรอำเภอลาดหลุมแก้ว ให้การต้อนรับ

สำหรับการจัดงาน “วันล้มตอซังข้าวบ้านคูบางหลวง” ภายในงานมี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และเกษตรกรชาวนา ร่วมชมการสาธิตการล้มตอซังข้าว มีการแข่งขันเกี่ยวข้าว เกษตรกรผู้เข้าร่วมงานเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ ได้แก่ 1. สำนักงานเกษตรจังหวัด จัดนิทรรศการการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา 2. สถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี จัดนิทรรศการการปรับปรุงบำรุงดิน 3. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จัดนิทรรศการข้าวพันธุ์ใหม่ของกรมการข้าว4. บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ได้จัดนิทรรศการวัสดุปรับปรุงดินกรด CPB และปลูกจิตสำนึกของเกษตรกร ด้วยการรณรงค์ให้การเผาซังตอข้าวเป็น 0% เพื่อลดปัญหามลพิษและฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่

นางสาวทิชากร บุเกตุ เกษตรอำเภอลาดหลุมแก้ว กล่าวว่า อำเภอลาดหลุมแก้ว มีคำขวัญว่า “ไข่เป็ดแดงดี มีนกให้ดู ริมคูบัวบาน สุสานแห่งหอย” มีพื้นที่รวมทั้งหมด 132,887 ไร่ พื้นที่การเกษตร 62,573 ไร่ ครัวเรือนเกษตรกร 4,750 ครัวเรือน อำเภอลาดหลุมแก้วตั้งอยู่ทิศตะวันตกของจังหวัดปทุมธานี มีอาณาเขตทิศเหนือติดอำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทิศตะวันออกติดอำเภอสามโคก และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ทิศใต้ติดอำเภอปากเกร็ด และอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ทิศตะวันตกติดอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 7 ตำบล 61 หมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง โดยอำเภอลาดหลุมแก้วมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองส่งน้ำผ่านพื้นที่ในอำเภอ มีระบบชลประทานในพื้นที่ 100 % ทำให้มีน้ำในการทำการเกษตรอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก อยู่ใกล้ตลาด เกษตรกรมีความรู้ความชำนาญในการทำการเกษตร จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการผลิตทางการเกษตร พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว 58,104 ไร่ สมุนไพร 1,651 ไร่ ไม้ผล 1,261 ไร่ และพืชผัก 711 ไร่ มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและศูนย์เครือข่ายรวม 23 ศูนย์ วิสาหกิจชุมชน 44 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 5 กลุ่ม กลุ่มยุวเกษตรกร 5 กลุ่ม กลุ่มส่งเสริมอาชีพ 5 กลุ่ม แปลงใหญ่ข้าว 3 แปลง และแปลงใหญ่ผัก 1 แปลง

นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมในการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นถิ่นและฟื้นฟู วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเกษตร ซึ่งภูมิปัญญาข้าวล้มตอซังบ้านคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อปี พ.ศ. 2565 ให้เป็นภูมิปัญญาที่มีความโดดเด่น สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีได้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวล้มตอซังบ้านคูบางหลวง และเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทางสื่อต่าง ๆ

ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพและสืบค้นได้สะดวกขึ้น เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสามารถนำข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตรไปใช้ประโยชน์ต่ออาชีพอย่างแพร่หลาย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านการเกษตร โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงานในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตรหมายที่ดี ในการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นข้าวล้มตอซังบ้านคูบางหลวงให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้รู้จักและนำไปปรับใช้ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นต่อไป.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี