X

ชาวปทุมฯร่วมตักบาตรพระร้อยทางเรือและประเพณีลำพาข้าวสาร สืบสานวัฒนธรรม-ประเพณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ปทุมธานี ชาวปทุมฯร่วมตักบาตรพระร้อยทางเรือและประเพณีลำพาข้าวสาร สืบสานวัฒนธรรม -ประเพณีลุ่มน้ำเจ้าพระยา

วันที่27 ต.ค.61 ที่ วัดสำแล อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานในพิธีเปิดงานประเพณีตักบาตรพระร้อย (ทางน้ำ) และงานสืบสานประเพณีลำพาข้าวสาร จังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2561 พร้อมด้วยนางกาญจนี รุจนเสรี รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี นางสาวกันตรัตน์ เริ่มสูงเนิน นายอำเภอสามโคก นายวินัย เนตรพระฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีและประชาชน เข้าร่วมพิธีเพื่อสืบสานประเพณีท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี


ปทุมธานีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ทางเหนือของกรุงเทพมหานคร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน มีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี เมื่อไม่นานนี้พึ่งจะฉลองนามปทุมธานี 200 ปี และเมืองสามโคก 385 ปี บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมอญเมืองสามโคก ความสะดวกสบายในการสัญจรไปมาทาน้ำ โดยอาศัยเรือเป็นพาหนะ บ้านเรือนที่ปลูกติดใกล้ชิดกันโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน


ประเพณีตักบาตรพระร้อยในเทศกาลวันออกพรรษาตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 การตักบาตรพระร้อยเป็นประเพณีของวัดที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยจะตกลงกำหนดแบ่งกันเป็นเจ้าภาพเพื่อไม่ให้ตรงกัน เพราะถ้าตรงกันแล้วจำนวนพระที่มารับบิณฑบาตจะได้ไม่ครบ 100 รูป และต้องการให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้กำหนดเวลา จะได้เตรียมจัดทำอาหารหวานคาวไว้ทำบุญตักบาตรได้ถูกต้อง


ที่ผ่านมาเมื่อถึงช่วงเทศกาลงานบุญชาวบ้านก็จะจัดเตรียมข้าวปลาอาหาร พร้อมนำไปทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อย่างวันออกพรรษานี้ ชาวบ้านจะเดินทางมาทำบุญที่วันใกล้บ้าน การตักบาตรพระร้อยทางเรือนั้นเป็นวันสำคัญที่ประชาชนมักเข้ามาทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและเป็นการสานต่อวัฒนธรรมที่ดี ให้ลูกหลาน เยาวชนรุ่นต่อไปได้เห็นได้บ่มเพาะความดีที่ได้เข้าวัดทำบุญ ฟันเทศน์ฟังธรรมจากพระสงฆ์ความรู้เกิดความเลื่อมใส


นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า การจัดการตักบาตรพระร้อยเป็นหน้าที่ของวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและริมคลอง แต่ก็ไม่ได้กำหนดไปเสียทุกวัด หากวัดที่ไม่ได้ติดแม่น้ำก็จะเรียกประเพณีนี้ว่าตักบาตรเทโว ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตักบาตรเฉพาะในวัดใหญ่ๆ ตามที่ยึดถือกันมาแต่ดั้งเดิมเพราะว่าต้องนิมนต์พระภิกษุมาเป็นจำนวนมาก ดังที่เรียกว่า พระร้อย ด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของบรรดาพุทธศาสนิกชน การตักบาตรพระร้อยจึงเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี ส่วนงานสืบสานประเพณีลำพาข้าวสาร เป็นประเพณีการบอกบุญกฐิน โดยพ่อเพลงแม่เพลงและผู้ร่วมกิจกรรมจะลงเรือที่จัดเตรียมไว้ ร้องเพลงลำพาข้าวสาร บอกบุญเชิญชวนประชาชนริมแม่น้ำออกมาทำบุญ ข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัย ตามกำลังศรัทธาใส่กระบุงในเรือลำพาข้าวสารที่เตรียมไว้ แล้วนำไปถวายวัดที่กำหนด

พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา…รายงาน

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี