X

ผ้าทอใยกล้วยบัวหลวง เติมเสน่ห์ ชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าทอท้องถิ่นของเมืองปทุมฯ

ปทุมธานี ผ้าทอใยกล้วยบัวหลวง เติมเสน่ห์ ชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าทอท้องถิ่นของเมืองปทุมฯ

 

จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ปลูกกล้วยมากกว่า 3,000 ไร่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ต้นกล้วยหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เกษตรกรจะตัดทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกรอบใหม่ โดยมีปริมาณมากกว่า 30,000 ต้นต่อปี เป็นเพียงแค่เป็นปุ๋ยบนดิน ซึ่งหากมีการนำเศษวัสดุเหลือทิ้ง ในส่วนของกาบและก้านใบของกล้วย นำมาแยกสกัดเป็นเส้นใยน่าจะมีประโยชน์ สิ่งทอจากใยกล้วยเป็นโครงการทีกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จังหวัดแต่ละจังหวัดจัดทำโครงการโดยน้อมนำแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหลัก ในการพัฒนาชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของจังหวัดปทุมธานีได้มีความสนใจที่จะพัฒนาเส้นใยธรรมชาติโดยเลือกกล้วยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานี และหาได้ไม่ยากในท้องถิ่น

เนื่องจากทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้มีการพัฒนาเส้นใยจากกล้วยอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับจังหวัดปทุมธานีเป็นแหล่งผลิตและปลูกกล้วยจำนวนมาก จึงได้พัฒนาเส้นใยกล้วยนำมาเป็นผ้าขาวม้าและชุดแต่งกายเพื่อพัฒนาให้เป็นผ้าประจำจังหวัดปทุมธานี โดยเริ่มต้นที่กลุ่มแม่บ้านแสงตะวันวิชชาลัยชุมชนแสงตะวัน ศูนย์ส่งเสริมอาชีพ วัดไก่เตี้ย ตำบลกระแชงอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่มีความสนใจและมีภูมิปัญญาด้านงานฝีมือด้านการผลิตผ้าสิ่งทออยู่ก็อยู่แล้ว จึงได้มาร่วมกัน ที่จะทำให้ผ้าจากเส้นใยกล้วย เกิดขึ้นจากที่นี่ ภายใต้ชื่อ โครงการ การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ จังหวัดปทุมธานี

เส้นใยกล้วย มีคุณสมบัติเด่นในด้านความแข็งแรง และเงามันสามารถขึ้นรูปเป็นเส้นด้าย ยังสามารถนำมาต่อยอดทอเป็นผืนผ้าและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ ถือเป็นการลดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตกล้วย และสร้างมูลค่าด้านการพัฒนาเส้นใยในอุตสาหกรรมสิ่งทอให้แก่เกษตรกร ลดการนำเส้นใยธรรมชาติ จากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกใช้ผ้าจากเส้นใยกล้วย ซึ่งเป็นแนวโน้มในการผลิตเสื้อผ้า Eco-friendly เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋าถือ หมวก และรองเท้า สามารถเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ จึงนำงานวิจัยมาถ่ายทอดและต่อยอดให้เกษตรกรเพื่อสร้างรายได้ และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ผ้าจากเส้นใยกล้วยของจังหวัดปทุมธานี

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้นำทีมวิทยากรมาให้ความรู้กับชาวบ้าน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำอย่างไรให้ผ้าออกมามีคุณภาพที่ดี ประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรที่ 1 การแยกเส้นใยกล้วย หลักสูตรที่ 2 การปั่นเส้นด้ายด้วยใยกล้วย หลักสูตรที่ 3 การทอผ้าใยกล้วย และหลักสูตรที่ 4 การเย็บผลิตลายผ้าและการย้อม พร้อมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายจากเส้นใยกล้วยให้เป็นสินค้าประจำจังหวัดปทุมธานีต่อไป
เมื่อนำใยกล้วยมาผสมผสานกับเส้นใยธรรมชาติอย่างใยบัวหลวงจึงเกิดผ้าทอใยกล้วยบัวหลวงที่มีอัตลักษณ์และคุณค่าผ้าท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี

นางสาวบุญนภา บัวหลวง ประธานเครือข่ายโอทอปจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ทางจังหวัดได้ผลักดันให้ผ้าใยกล้วยบัวหลวง ของทางกลุ่มเป็นผ้าประจำจังหวัดปทุมธานี และปัจจุบันทางจังหวัดได้ดำเนินการในการจัดซื้อเครื่องแยกใยกล้วยและเครื่องทอผ้าให้กับทางกลุ่ม เพื่อให้นำมาใช้ในการผลิตผ้าใยกล้วยบัวหลวง ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มได้นำความรู้ที่ทาง มทร.ธัญบุรี มาต่อยอดพัฒนาลวดลายผ้าใยกล้วยบัวหลวงได้ 7 ลวดลาย และตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า จำหน่าย ตามความต้องการของลูกค้า ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมผ้าเส้นใยกล้วยบัวหลวงได้ที่ กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ณ ศูนย์ส่งเสริมอาชีพวัดไก่เตี้ย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยทางกลุ่มมีการทอผ้ากันทุกวัน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี