X
กัญชาถูกกฎหมาย

จุฬาฯ ร่วม 10 องค์กรประชุมดึงชมรมใต้ดิน ร่วมดันกัญชารักษาโรคถูกกฎหมาย

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยเครือข่าย 10 หน่วยงานประชุม “เริ่มต้นการวิจัยและสนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์” เสนอดึงชมรมใต้ดินช่วยผลิตยาเพื่อผู้ป่วย เชื่อได้ความชัดเจนหลังนิรโทษกรรม 19 พ.ค.

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ร่วมมือกับ 5 มูลนิธิด้านการเกษตร สุขภาพ และผู้บริโภค  ประกอบด้วยมูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิชีววิถี พร้อมด้วย อ.เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งศึกษาเรื่องการนำสารสกัดกัญชามาใช้รักษาโรค เข้าร่วมการประชุม “เริ่มต้นการวิจัยและสนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์” โอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์
ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์

ผลักดันงานวิจัย ชูศักยภาพกัญชา

ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงผลการประชุมดังกล่าวว่า ในช่วงเริ่มต้นจะทำตามกระบวนการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ในวันที่ 29-30 เมษายน 2562 นี้ อ.เดชา จะต้องเข้าอบรมเป็นหมอพื้นบ้านที่ใช้กัญชาได้ จากนั้นจะมีเก็บข้อมูลการใช้กัญชาต่าง ๆ เพื่อส่งข้อเสนอการทำงานงานวิจัยในมนุษย์ช่วงต้นเดือน พ.ค. นี้

นอกจากนี้จะมีการเสนอตำรับกัญชาของ อ.เดชา ของยื่นเอกสารใช้ของกลางจาก ป.ป.ส. เพื่อนำกัญชามาผลิตน้ำมันกัญชาโดยมีงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานด้านการวิจัย อย่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยจะมีการวิจัยหลัก ๆ คือเรื่องของสารออกฤทธิ์ในกัญชา พันธุ์ของกัญชา การสังเคราะห์ และองค์ความรู้ตามแนวมานุษยวิทยา ทั้งนี้ องค์ความรู้จากการวิจัยทั้งหมดจะมอบให้สาธารณะ

ทั้งนี้ ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร ระบุว่างานวิจัยต่าง ๆ จะเริ่มต้นได้ประมาณเดือนหน้า (พ.ค.62) โดยโครงการทั้งหมดเสร็จสิ้นประมาณ 2-3 เดือน นำร่องโครงการก่อน หารือ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), องค์การอาหารและยา (อ.ย.) กรมการแพทย์แผนไทย ในการทำงานร่วมกันเพื่อให้โครงการเดินหน้าเร็วที่สุด เรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องของ อ.ย. และ ป.ป.ส. ต้องรอดูหลังนิรโทษกรรมต่อไป

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์

เดินหน้า อ.เดชา เป็นหมอพื้นบ้านเร็วที่สุด

ด้าน นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองธิบดีการแพทย์แผนไทยและทางเลือก ขยายความว่า การพิจารณารับรอง อ.เดชา ให้เป็นหมอพื้นบ้านถูกต้องตามกฎหมายนั้นสามารถรวบรวมข้อมูลตามหลักเกณฑ์ที่กรมการแพทย์แผนไทยกำหนด คาดว่าขั้นตอนไม่ได้ซับซ้อนและแล้วเสร็จได้ภายใน 1 สัปดาห์

จากนั้น อ.เดชา จะต้องอบรมการใช้กัญชาก่อนเนื่องจากถือว่าเป็นยาเสพติด เมื่อผ่านการอบรมกรมการแพทย์อนุญาตให้ดูแลผู้ป่วยได้ ซึ่งคาดว่าขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือ นำน้ำมันกัญชาเป็นสูตรเฉพาะของ อ.เดชา มานำเสนอเพื่อขอพิจารณว่าเป็นไปตามภูมิปัญญาดั้งเดิมหรือไม่อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกระบุว่า ถ้าศึกษาวิจัยตามการแพทย์ดั้งเดิมสามารถนำสูตรที่มีมาใช้วิจัยในคนไทยได้เลย ทำให้พยายามพิจารณาตรงนี้ให้ผ่ายก่อน จะทำให้ง่ายขึ้น การนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ขึ้นทะเบียนได้ง่ายขึ้น

อ.เดชา ศิริภัทร
อ.เดชา ศิริภัทร

ผลิตน้ำมันกัญชารักษาโรค ควบคู่การเรียกร้องแก้กฎหมาย 

อ.เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ กล่าวว่า กล่าวอีกว่าจะให้ตนเองอยู่ในสถานะใดก็สามารถทำได้ทั้งหมดแต่ประโยชน์จะยกให้สังคม พร้อมเปิดเผยว่าการขับเคลื่อนในครั้งนี้มีความตั้งใจหลักคือ อยากให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วและผลิตยาให้มากที่สุด เพราะขณะนี้มีผู้ป่วย 5,000 รายที่ใช้ยาอยู่และต้องขาดยาตั้งแต่ 3 เม.ย. และยังมีกลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่รอมารับยาเพิ่มเติม แต่ขณะที่ไม่สามารถทำยาแจกจ่ายได้เพราะต้องเข้ากระบวนการตามกฎหมาย

“กฎหมายปัจจุบันยังไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ส่งเสริมการรักษาและเป็นอุปสรรคในบางเรื่อง วางแผนว่าในระยะยาวหลังพัฒนายาได้แล้วจะผลักดันกฎหมายให้ดีขึ้น เปลี่ยนกฎหมายให้เข้ากับความจริง ไม่ใช่เปลี่ยนความจริงให้เข้ากับกฎหมาย”

ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำหนังสือไปยัง ป.ป.ส. เพื่อขอของกลางที่จับกุมได้ ซึ่งไม่ใช่เพียง 205 ต้นที่จับไปได้จากมูลนิธิข้าวขวัญเท่านั้น แต่ขอของกลางที่จับกุมได้ในท้องตลาด ซึ่งมีหลายเกณฑ์หลากหลายสายพันธุ์ และมีแหล่งที่มาจากหลายประเทศ โดยตัว อ.เดชา เองต้องไปคัดเลือกจากของกลางหลายตันเพื่อมาตรวจสอบก่อนมาสกัดเป็นยา อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับ ป.ป.ส. ว่าจะอนุญาตให้ทำในลักษณะดังกล่าวได้เมื่อไหร่ นอกจากนี้ อ.เดชา ยังเชื่อว่าไม่เกินสิ้นเดือน พ.ค. จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ที่ประชาชนมาช่วยกันขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนกฎหมาย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

ดึงชมรมใต้ดินเข้าร่วมพลิกกฎหมายกัญชา

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าหลังจากที่มีการประชุม “เริ่มต้นการวิจัยและสนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์” ในวันนี้ มีความหวังและมีทางเป็นไปได้ว่าทุกคนสามารถใช้กัญชาในหมู่บ้าน สถานีอนามัยโดยมีการควบคุมกันเอง ในแง่สำคัญคือการบรรเทาอาการเจ็บปวดทรมาน และช่วยลดผลข้างเคียงของยาในปัจจุบันบางตัวที่ส่งผลกระทบทางลบต่อร่างการเมื่อจำเป็นต้องใช้ในปริมาณมากเกินไป

ส่วนกำหนดนิรโทษกรรมในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ยังไม่ชัดเจนทางกฎหมาย แต่ขณะนี้มีผู้ป่วยร่วมแสนรายใช้น้ำมันกัญชาอยู่แล้ว และประเมินว่าของกลางที่ ป.ป.ส.ยึดมาอาจมีปริมาณไม่พอและไม่สะอาดพอที่จะสกัดเป็นยา และผู้อบรมเพื่อใช้กัญชาในวันที่ 29-30 เม.ย. นี้มีเพียง 200 ซึ่งมองว่าไม่เพียงพอ จึงมีการพูดคุยกับทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดึงกลุ่มชมรมใต้ดินที่ใช้กัญชาขึ้นมาร่วมเชื่อมโยงความร่วมมือ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากพอและที่ตรวจสอบได้ว่าสะอาด

พร้อมมองว่าการชักชวนชมรมใต้ดินให้เข้ามาอยู่ในสถาบัน ทำให้กัญชาถูกกฎหมายเป็นเพื่อนในการดูแลผู้ป่วย ด้วยความรู้และประสบการณ์ผ่านสถาบันต่าง คิดว่ากระทำได้ ขึ้นอยู่กับ ปปส. และ อย.

“เราไม่แคร์ว่าผู้ที่อยู่ในชมรมใต้ดิน มีประสบการณ์มาช่วยชีวิตคนในชุมชนเรายินดีที่จะร่วมมือ คิดว่ากฎหมายต้องแก้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ปณิดดา เกษมจันทโชติ

ปณิดดา เกษมจันทโชติ

จบการศึกษาจาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ฝึกงานที่หนังสือพิมพ์จุดประกาย/เสาร์สวัสดี (กรุงเทพธุรกิจ) และอมรินทร์ทีวี มีความสนใจด้านศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ