X
LIMEC

ไทยร่วมขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย หนุนเศรษฐกิจ

กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคเอกชนในเครือข่ายระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (LIMEC) ร่วมหารือเตรียมการจัดงาน International Expo งานแสดงสินค้า การลงทุน ขับเคลื่อนกลุ่ม LIMEC อย่างเป็นรูปธรรม

สกว. LIMEC สกว. LIMEC

นางวิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร, นายนิกรเดช พลางกูร รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, นางสาวกุนทินี อักษรวงศ์ ผู้อำนวยการส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ, ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และภาคเอกชนในเครือข่าย LIMEC

ร่วมประชุมหารือในวันเสาร์ที่ 5 ม.ค.62 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (Luangprabang Indochina Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC) สู่การใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (Luangprabang Indochina Mawlamyine Economic Corridor: LIMEC) เป็นหนึ่งในผลการวิจัยของคณะวิจัย นำโดย ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่ง LIMEC เป็นแนวเชื่อมโยงระหว่าง แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มายังด่านพรมแดนภูดู่ จังหวัดอุตรดิตถ์ของประเทศไทย มายังพื้นที่อินโดจีน หรือพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งประกอบไปด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก โดยจะออกจากประเทศไทย ณ ด่านพรมแดนแม่สอด จังหวัดตาก เข้าสู่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ด่านเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ

สกว. LIMEC

โดยในปี 2558 กลุ่มภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 หรืออินโดจีน ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 หรือ กกอ.เหนือล่าง 1 เพื่อขับเคลื่อน LIMEC โดยมีสมาชิกเป็นกลุ่มภาคเอกชน ประอบด้วย สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของทั้ง 3 ประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ 5 ด้าน คือ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา สุขภาพ และโลจิสติกส์

ซึ่งจุดมุ่งหมายของ LIMEC คือ เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจ มีการเคลื่อนย้ายทั้งสินค้า การบริการ ผู้คน เงินทุน และสารสนเทศระหว่างกัน เพื่อจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันของประชาชนในทุกเมืองของประเทศสมาชิกทั้ง 3

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีสัญจร จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 61 ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พิจารณาในรายละเอียดการขอรับทุนสนับสนุนการเชื่อมโยง LIMEC

โดยคำนึงถึงขั้นตอน กฎ ระเบียบ และกฎหมายระหว่างประเทศทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา สุขภาพ และโลจิสติกส์ ที่อยู่ในกรอบความตกลงระหว่างสามประเทศร่วมกันให้ชัดเจนก่อนดำเนินมาตรการตามที่เสนอต่อไป

และในปี 2561 นั้นเองได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ LIMEC จากสมาชิกทั้ง 3 และลงนาม MOU ร่วมกัน ซึ่งวิสัยทัศน์ LIMEC 2028 คือ ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม บนความเสมอภาคและภราดรภาพ

ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ทำการสนับสนุนทุนในการวิจัยให้กับวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อยกระดับ LIMEC ให้สอดคล้องกับ ACMECS หรือกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคทางเศรษฐกิจ อิรวดี เจ้าพระยาแม่โขง สำหรับ ACMECS นั้นใช้ “ความเชื่อมโยง” เป็นกลไกสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อ 1. Seamless  Connectivity 2. Synchronized ACMECS และ 3. Smart and Sustainable ACMECS

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัด International Expo ขึ้นเพื่อเป็นการจัดงานแสดงสินค้า การลงทุน และการประชุมหารือร่วมกันในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนให้ LIMEC ได้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ปณิดดา เกษมจันทโชติ

ปณิดดา เกษมจันทโชติ

จบการศึกษาจาก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ฝึกงานที่หนังสือพิมพ์จุดประกาย/เสาร์สวัสดี (กรุงเทพธุรกิจ) และอมรินทร์ทีวี มีความสนใจด้านศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ