X

เสวนา มธ. ตั้งคำถาม รบ.ประยุทธ์ 2 ความหวังหรือวิกฤต

“รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์” จัดเสวนา มองรัฐบาลใหม่ ความหวังหรือวิกฤตครั้งใหม่ “ธนาธร” มองเป็นผลพวงจากปี 49 ด้าน 2 พรรครัฐบาล “พลังประชารัฐ” และ “พลังท้องถิ่นไท” ไม่เอาการเมืองบนท้องถนนแล้ว ต้องยกขึ้นมาบนโต๊ะ แก้ไขในสภา

(14 มิ.ย. 62)คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “ทิศทางการเมืองไทยภายใต้รัฐบาลใหม่: การเมืองของความหวังหรือจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งใหม่ ?” โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆเจ้าร่วม ได้แก่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ , นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ , นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา จากพรรคเพื่อไทย , ศ.ดร. โกวิทย์ พวงงาม จากพรรคพลังท้องถิ่นไท และดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ เกริ่นนำ ระบุว่าเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมามี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้กล่าวว่า “ผมขอยืนยันว่าจะทุ่มเททำงานด้วยมาตรฐานจริยธรรมอย่างซื่อสัตย์สุจริตโดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญจะเพียรมุ่งมั่นพยายามทำงานและเปิดรับรู้ความคิดเห็นของทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทยในทุกด้านทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจสังคมและต่างประเทศรวมถึงด้านอื่นๆและป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นลดความเหลื่อมล้ำสร้างความมั่นคงในชีวิต และเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสได้ร่วมพัฒนาประเทศเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่มีความสามัคคีและสมานฉันท์” ขณะที่มีการจัดตั้งรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็มีรูปแบบการจัดตั้งรัฐบาลที่พูดคุยกันไม่ต่างจากยุคที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกรด A ต่างๆ

เรื่องข่าวการแบ่งกระทรวงประชาชนควรรู้สึกอย่างไร ? สร้างความหวังหรือความกลัว ?

นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า เป็นเรื่องปกติแล้วก็ไม่มีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่เพียงแค่ว่าคณะรัฐมนตรีภายใต้กฎหมายใหม่สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ คือสิ่งที่เขียนไว้รัดกุมจนทำให้อาจถูกตรวจสอบและหลุดพ้นจากตำแหน่งได้

พร้อมเกริ่นนำว่า พรรคพลังประชารัฐ เป็นภาพที่เกิดขึ้นมาเพียง 6-7 เดือนก่อนการเลือกตั้งแต่มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน โดยได้เล่าย้อนหลังไปถึงตอนที่ตนเองเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วงปี พ.ศ. 2516 โดยช่วงนั้นระบุว่าที่นี่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว แต่กลับมีการปฏิวัติปี พ.ศ.2519 ซึ่งตอนนั้นตนเองรู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างมาก แต่ช่วง พ.ศ. 2516 ตอนนั้นมีการปฏิวัติ และก็รู้สึกเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ผมขอเรียนว่าช่วงเวลานั้นไม่เหมือนกับช่วงเวลานี้เพราะปัจจุบันมีการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ หากมองย้อนกลับไปประเทศไทยมีการรวมอำนาจ ไปอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎรโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่เมื่อพอถึงปี 2540 มีรัฐธรรมนูญที่แก้ไขระบบปัญหาต่างๆในรัฐสภา จนถึงปัจจุบันเรามีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปี 2560 คล้ายกับปี 2540 ที่ให้อำนาจผู้แทนราษฎรสูงสุดเหมือน ปี 2540 แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีความเป็นลูกผสม ของการเป็นประธานาธิบดีคือการมีองค์กรอิสระเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐมากขึ้น

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในตอนนี้ ไม่ใช่ผลการเลือกตั้งที่มีเสียงปริ่มน้ำ บอกว่าตัวเองดีอย่างไรแต่เป็นบรรยากาศทางการเมืองที่ก่อนการเลือกตั้ง “ทุกพรรคบอกว่าตนเองดีอย่างไร” กับ “การเปลี่ยนเป็นคนอื่นไม่ดีอย่างไร” จนทำให้เกิดการโจมตีกันทางการเมือง และนำไปสู่การเมืองบนถนน รักและมองว่าเราควรทำการเมืองให้เป็นการสร้างความเคารพรักและศรัทธาให้กับพี่น้องประชาชน เราควรเคารพสิทธิ์ของทุกๆคนด้วย

ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม จากพรรคพลังท้องถิ่นไท ระบุว่า เรื่องความหวังหรือความกลัว ไม่ใช่เรื่องที่พรรคพลังท้องถิ่นไทยมองแต่พักมองว่าทำอย่างไรให้การเมืองเดินไปข้างหน้าจึงทำให้หัวหน้าพรรคประกาศไม่ขอรับการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีใดๆ ที่ผ่านมาในอดีต เรามาพูดคุยกันว่ารัฐบาลจะอยู่หรือจะไปก็ทำให้มีเหตุผลละอย่างนำมาวิเคราะห์ และความซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมืองที่ไม่มองเรื่องผลประโยชน์ของพรรค สร้างธรรมาภิบาลและความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องประชาชนศรัทธาในระบบการเมืองอีกครั้งหนึ่ง ถึงยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างการเมืองในอนาคตจะต้องยอมรับในความแตกต่างและอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจุดเด่นของ พรรค คือ การทำนโยบายของตนเองที่หาเสียงไว้ นั่นคือ การกระจายอำนาจให้สามารถทำได้จริง ดังนั้น พรรคพลังท้องถิ่นไท พร้อมที่จะร่วมกับทุกคนเพื่อให้นโยบายเป็นไปได้จริง สิ่งที่จะทำให้การเมืองเป็นวิกฤตได้คือการที่พรรคการเมืองไม่สามารถผลักดันนโยบายที่ตนเองหาเสียงไว้กับประชาชนได้ สิ่งที่จะทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ครบสมัยมีอยู่ไม่กี่เรื่อง คือ การยุบสภาและการเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ถามต่อว่า แต่ในวันที่นายกรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการฯไม่ได้มีการพูดถึงกระจายอำนาจเลย

ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าวตอบว่า ผมก็จะฝากไปถึงรัฐบาลรวมถึงนายกรัฐมนตรีให้ทำนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาล เช่น การกระจายอำนาจด้วย แล้วถ้าหากไม่ทำผมก็จะอภิปรายในรัฐสภาด้วยตนเอง

รัฐบาลผสมจะอยู่ได้หรือไม่ ในมุมมองของฝ่ายค้าน ?

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา จากพรรคเพื่อไทย มองว่า ความหวังของการเมืองไทยในครั้งนี้ คือ สิ่งที่เราเห็นอยู่ไม่เกินเอื้อม แต่มองดูแล้วก็อาจจะเป็นไปได้ยาก สิ่งแรก คืออำนาจของ คสช. และอำนาจ ม.44 จะหมดไป และจะไม่สามารถสั่งย้ายข้าราชการระดับสูงได้ตามใจชอบอีกต่อไป การตรวจสอบไม่ได้ของ คสช. จะหมดไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะหมดไปก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าไปถวายสัตย์ปฏิญาณ แต่เมื่อ คสช. หมดไปกลับมีตัวแทนของ คสช. ยังคงอยู่ ซึ่งหลังจากนี้ผู้แทนราษฎรจะทำหน้าที่ตรวจสอบตัวแทนของ คสช. ในรัฐสภา หลังจากนี้เราจะทำการตรวจสอบรัฐบาลอย่างเข้มข้นและสิ่งที่เราเคยสงสัยในอดีตและเขาไม่ตอบคำถามที่สงสัย เมื่อองค์กรอิสระไม่สามารถตรวจสอบเวลาที่เราสงสัยได้ จะถึงเวลาที่ผู้แทนราษฎรจะทำหน้าที่ฝ่ายค้านในรัฐสภาเพื่อตรวจสอบข้อสงสัยของประชาชน พร้อมก็ตั้งปัญหาถึงความโปร่งใสในการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา

“ผมสงสัยว่าพรรคพลังประชารัฐทำไมไม่ตั้งชื่อว่า พรรคประชารัฐ ก็พบว่าในอดีตมีพรรคชื่อ ประชารัฐ แล้วกลับถูกยุบไปและตามความเข้าใจของตนเองคือ ในระยะเวลา 10 ปี จะไม่สามารถตั้งพรรคชื่อเดิมได้” นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กล่าว

นายวิเชียร ชวลิต โต้กลับภายหลังว่า “เดิมมีแนวคิดที่จะตั้งชื่อว่า พรรคพลังประชารัฐ อยู่แล้ว แต่มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งคือพรรคพลังประชารัฐ อยากจะใช้ชื่อย่อว่า ปชร. แต่กลับบเข้าเงื่อนไขระยะเวลา 10 ปีจึงใช้ว่า พปชร. แทน”

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า สิ่งที่เราเจออยู่ครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤตใหม่แต่เป็นวิกฤตเดิม ที่เกิดจากจุดเริ่มต้นการรัฐประหาร ปี 2549 ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ อารมณ์ของ พลเอกประยุทธ์ หรือจมูกสั้นยาวของ พลเอกประยุทธ์ อยู่ที่อำนาจของประชาชนในปัจจุบันตกอยู่กับใคร หากเขาย้อนมองรัฐธรรมนูญในปี 2540 จนถึงปี 2560 ซึ่ง 20 ปีที่ผ่านมามีรัฐธรรมนูญถึง 5 ฉบับ โดยสาเหตุเกิดจากสังคมไทยไม่สามารถตกลงได้ ว่า “อำนาจจะอยู่ที่ใคร” จนเป็นต้นตอของวิกฤตดังกล่าว เมื่อเห็นวิกฤตแล้วก็ยังมีส่วนหนึ่งที่ยังคงยืนยันอย่างหนักแน่นว่า อำนาจเป็นของประชาชน แต่อีกฝั่งหนึ่งที่มีผู้สนับสนุนน้อยกว่าแต่เชื่อว่าอำนาจของประเทศนี้อยู่ที่อภิสิทธิ์ชนและคนไม่กี่คนที่มีอำนาจปืนและถือตราชั่งทางกฎหมาย ซึ่งนี่คือปัญหาใจกลางของสังคมไทยที่ยังแก้ไขไม่ได้

แล้วตอนนี้เราอยู่จุดไหนของวิกฤตที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2549 ? นายธนาธร ระบุว่า หลังจากนี้ก็จะก้าวไปสู่จุดที่ไม่มี คสช. แต่เขายังคงอยู่กับเราในรูปแบบของรัฐธรรมนูญปี 2560 ในรูปแบบ ส.ว. และองค์กรอิสระ รวมถึงจะยังคงอยู่กับเราในรูปของนายกรัฐมนตรีในชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่นี่จะเป็นการเปิดประตูแห่งความหวัง จะมีการปรับความคิดในรูปแบบใหม่ๆในสังคม ที่เชื่อว่า อำนาจเป็นของประชาชน เช่น พานไหว้ครูที่เสียดสีการเมือง

“ผมมองไม่เห็นว่าฝ่ายที่เชื่อว่าอำนาจเป็นของประชาชนจะพ่ายแพ้ได้อย่างไร” นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าว

ซึ่งหลังจากที่รูปของพานไหว้ครูของเด็กนักเรียนกลุ่มดังกล่าว ถูกเผยแพร่ออกไป  กลับมีเจ้าหน้าที่รัฐ เข้ามาพูดคุยกับโรงเรียนของนักเรียนดังกล่าว แต่สิ่งที่ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสและความหวังให้กับประชาชนในปัจจุบัน คือ การนำเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปข่มขู่และข่มเหงประชาชนไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปในยุคนี้ เมื่อเปิดสภาพรรคอนาคตใหม่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าไปพูดคุยในรัฐสภาถึงสาเหตุการเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปหานักเรียนกลุ่มนั้น

โดยเรื่องแรกที่เราจะตั้งกระทู้ในรัฐสภา คือ เรื่องอำนาจและหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาและการที่คำสั่งของ คสช. มีอายุไม่สิ้นสุด ต่อจากนั้นจะดำเนินการ “ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร” และนำเรื่องของเศรษฐกิจและปากท้องของพี่น้องประชาชนเข้ามาพูดคุยในรัฐสภา และหลังจากนี้จะมีคนสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ โดยการระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เกิดจากระบบประชาธิปไตย ซึ่งมองว่า “ไม่เป็นความจริง”

พร้อมทั้งกล่าวอ้างคำพูดของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ระบุว่า “พรรคประชาธิปัตย์ต้องการที่จะเป็นรัฐบาลเพื่อที่จะผลักดันนโยบายซึ่งการเข้าร่วมกับฝั่งที่ต้าน คสช. ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เป็นรัฐบาลได้” สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าการทำหน้าที่ของ ส.ว. เข้ามาส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของพรรคการเมือง ซึ่งการดำรงอยู่ของส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งทำให้พรรคการเมืองต่างๆมีการถูกบิดเบือนตั้งแต่ต้น

อีกทั้งยังกล่าวอ้างถึงคำพูดของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ระบุว่า “พรรคจะไม่ร่วมกับรัฐบาลที่มีเสียงข้างน้อย” ซึ่งถ้าหากใช้สูตรคำนวณที่นักวิชาการทั่วไปคำนวณจะพบว่ากลุ่มพรรคที่ต่อต้านคสชจะมีเสียงมากกว่าฝั่งพรรคพลังประชารัฐในรัฐสภา ซึ่งถ้าหากใช้สูตรที่ไม่ใช่ของ กกต. จะทำให้ นายอนุทิน เข้าร่วมฝ่ายต่อต้าน คสช.

“ในรัฐบาล ประยุทธ์ 2 ประชาชนทุกคนมีความหวังเท่ากันแต่บางกลุ่มจะมีความหวังมากกว่าคนอื่นๆ ในระยะการต่อสู้ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้” นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวทิ้งท้าย

ถึงเวลาที่นำความขัดแย้งขึ้นมาจากถนนสู่บนโต๊ะ

นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า  สิ่งที่พลังประชารัฐไม่เห็นด้วยคือการที่จะต้องพารัฐมนตรีวิ่งออกจากทำเนียบรัฐบาล ในขณะที่มีการชุมนุมที่เกิดจากความขัดแย้ง พร้อมฝากเรื่องไปถึงนายธนาธร จุดเริ่มต้นของวิกฤตนี้ไม่ได้เกิดจากปี 2549 และพลังประชารัฐไม่ใช่องครักษ์ของ คสช. แต่คนธรรมศาสตร์ทุกคนเคยเจอวิกฤตที่ร้ายแรงกว่านี้มาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เล็กน้อยกว่าสิ่งต่างๆที่ผ่านมา

ปัจจุบันความขัดแย้งและความแตกต่างในสังคมไม่ได้เกิดแค่การเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากสังคมที่มีความแตกต่างกันด้วย  รัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำและความแตกต่างของสังคมได้ ถ้าหากความเหลื่อมล้ำยิ่งมากก็จะมีความขัดแย้งสูง ต้นทุนชีวิตเราแต่ละคนแตกต่างกัน  เพราะฉะนั้นเราจะเรียกร้องทางการเมืองอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องทำอย่างไร เอกภาพมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในส่วนนี้ด้วย

“อย่าคาดหวังว่าเลือกตั้งแล้วจะทำให้เรานำไปสู่สังคมที่ร่ำรวยได้ทันที เวลานี้เราเป็นสังคมผู้สูงอายุ คนที่ไม่มาลงทุนในประเทศไทยเพราะเหตุผลอื่นๆ แต่ความจริงคือประเทศไทยมีคนไม่เพียงพอ เพราะผู้สูงอายุมีสูงถึงร้อยละ 30 ของประเทศ ไทยตอนนี้ไม่ได้สิ้นหวังแต่กลับมีเสน่ห์ที่ทุกคนอยากจะมาท่องเที่ยวถ้าหากประเทศไทยมีความสงบ สง่า สวยงาม ก็จะทำให้คนมาท่องเที่ยว” นายวิเชียร ชวลิต กล่าว

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ถามต่อว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่ชนกับเห็นว่ากลุ่มนายทุนธุรกิจขนาดใหญ่จะมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรมากกว่ารายอื่นๆ จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร

นายวิเชียร ระบุว่า ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคของ คสช. พร้อมทั้งยกตัวอย่างของรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่กระจายความเจริญสู่ชุมชน ซึ่งหลังจากรัฐบาล พลเอก เปรม ก็ไม่มีรัฐบาลใดพัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเชื่อว่าการลดความเหลื่อมล้ำนี้จะเป็นนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาลดปัญหาดังกล่าว

ด้าน ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม จากพรรคพลังท้องถิ่นไท มองว่า ความขัดแย้งอีกประเด็นหนึ่งที่ยังแก้ไม่ตก คือ ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการแบ่งฝ่าย เคยมีการเสนอเรื่องความปรองดองอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ผมยังเชื่อว่าถ้าหากรัฐบาลยังคงกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นไม่ได้ก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ รวมถึงไม่เชื่อเรื่องการรวมศูนย์อำนาจ เรามีความหลากหลายเรื่องของ ส.ส. ในสภาอยู่พอสมควร มีพรรคที่เกิดใหม่ พรรคที่รวมคนรุ่นเก่าและใหม่ที่อยู่ในรัฐสภา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความแตกต่าง และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม  ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตของประชาชนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผมไม่เห็นด้วย กับการแบ่งแยกและแบ่งฝั่ง แบ่งฝ่าย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยไม่เคยหลุดจากการรวมอำนาจที่ศูนย์กลาง ซึ่งยังคงมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกหลายเรื่อง

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา จากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมา ไม่คิดว่าความเหลื่อมล้ำเป็นปัจจัยหลัก เพราะเราต่างกันมานานแล้ว แต่ในช่วงที่ผ่านมามีคำพูดคำหนึ่งเกิดขึ้นมาคือ “เมื่อความยุติธรรมไม่มีความสามัคคีไม่เกิด” เราพบ “ระบบการทำงาน 2 มาตรฐาน” ในองค์กรอิสระและองค์กรตุลาการต่างๆ ลำพังผู้ชุมนุมเพียง 50 คน ตำรวจก็สามารถพูดได้ แต่ถ้ามีการทำงาน 2 มาตรฐานทำให้มาชุมนุมจนสามารถยึดสนามบินและสถานที่ราชการได้ ซึ่งหลังจากนี้คงกรอิสระและองค์กรตุลาการมาจากวุฒิสภาซึ่งเราก็รู้กันดีว่าวุฒิสภามาจากไหน ซึ่งหลังจากนี้ผมคงตั้งความหวังอันเล็กน้อยไว้ที่องค์กรตุลาการซึ่งสามารถปัดตกได้โดยองค์กรอิสระ

และหลังจากนี้อนาคตของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรเมื่อมีการผสมถึง 19 พรรค ที่มีนโยบายต่างๆและมีความเห็นที่แตกต่างกันไม่น้อยถามย้อนกลับไปว่า พลเอกประยุทธ์ และ พลเอกประวิตร มีนโยบายเหล่านี้หรือไม่ซึ่งไม่เคยประกาศต่อประชาชนเลย ทำอย่างไรให้ประชาชนเห็นว่าหลังจากนี้รัฐบาลจะสามารถทำงานได้อย่างมีเอกภาพหรือไม่

“ผมมองว่ารัฐธรรมนูญของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ไม่ได้มีไว้แก้ไขแต่มีไว้ฉีกเพราะมีการโยงมาตราต่างๆไว้เป็นจำนวนมากจนแก้ไขได้ยาก” นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กล่าว

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ มองว่าสิ่งที่เป็นต้นตอของวิกฤตต่างๆในปัจจุบัน คือ เรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม ถ้าหากใครที่เคยไปในต่างประเทศ จะพบว่า ในหลายๆประเทศมีความเท่าเทียมกันในสังคมซึ่งประเทศไทยเคยทำสิ่งเหล่านี้สำเร็จมาแล้ว ทำไมเราไม่พูดความจริงว่า ต้นตอของปัญหาไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นคนที่ขโมยอำนาจของประชาชนไปและเขียนกติกาใหม่ให้อำนาจอยู่กับพวกเขาไปนานแสนนาน อย่าลืมว่า พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เคยเป็นส่วนหนึ่งของ ศอฉ. และก็มาเป็นส่วนหนึ่งของ คสช. และจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้อย่างไร ? ผมเติบโตมาในยุคของหนังสือและข้อเขียนของ ศ.ดร. โกวิทย์ พวงงาม ที่พูดเรื่องการกระจายอำนาจและผมเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก ดร.โกวิทย์ แต่หากเรามองถึงความจริงในปัจจุบันนี้กลับพบว่าอำนาจไม่ได้ถูกกระจายออกไปเลยแต่ระบอบเผด็จการต้องการนำเอา อำนาจจากส่วนกลางเข้ามามีผลต่อการปกครอง การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือไม่ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

“อาจารย์(ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม)อยู่ผิดพรรคแล้วครับ ผมพูดจริงๆ” นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าว

จะยึดอำนายอีกหรือไม่ ?

นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า ไม่ได้อยู่ในจุดที่จะสามารถตอบได้ว่าจะยึดอำนาจหรือไม่ยึดอำนาจและ พล.อ. ประยุทธ์ ไม่ได้ถูกเสนอชื่อเป็นหัวหน้าพรรคแต่อย่างใดระบุว่า มันมีอิทธิพลทางการเมืองก่อนหน้าการเข้ามามีบทบาทของ 250 ส.ว. ด้วย เมื่อ รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ก็ทำให้สมาชิกพรรคต่างๆ ตัดสินแล้วว่าใครจะชนะ ขณะที่เรื่องการปฏิวัติตนเองคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเพราะช่วง จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีและปฏิบัติตนเองยังคงดำรงตำแหน่งในกองทัพ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า เรื่องที่คาดเดาไม่ได้ว่าจะมีการปฏิวัติหรือไม่ ? แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองย้อนกลับมาว่า “อำนาจอยู่ที่ใคร” เมื่อยังไม่มีฉันท์ทามติเรื่องนี้ ก็อาจเกิดรัฐประหารขึ้นอีก คำถาม คือ หากมีการรัฐประหารอีก เราจะออกมาต่อต้านหรือไม่  ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนว่าถ้าหากมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทยให้ลุกขึ้นมาต่อต้านการรัฐประหารลูกหลานของเราไม่ควรที่จะโทรมาพร้อมกับการรัฐประหาร

ขณะที่นายวรัญชัย โชคชนะ ได้ระบุว่าตนเองเป็นนักเคลื่อนไหวชื่อดังของประเทศไทยและขึ้นตั้งคำถาม นายวิเชียร ชวลิต ว่า เกิดปัญหาการแต่คอกันจริงในพรรคหรือไม่ ?

นายวิเชียร ชวลิต จากพรรคพลังประชารัฐ ยืนยันว่าจะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยและทำงานในรัฐสภาที่ทำงานผ่านระบบการเลือกตั้งมา ไม่มีใครสามารถปิดกั้นอำนาจของประชาชนได้

นายวรัญชัย ถามต่อ ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม ว่า ถ้าหากพรรคพลังท้องถิ่นไทไม่มีเป้าหมายในการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในรัฐสภาแล้วพรรคอะไรบ้างหรือไม่ ? และถ้าหากระยะเวลาผ่านไปแล้วนโยบายการกระจายอำนาจนำมาพิจารณาในรัฐสภาจะถอนตัวจากการเป็นรัฐบาลหรือไม่ ?

ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม จากพรรคพลังท้องถิ่นไท ระบุว่า ไม่ได้คิดเรื่องตำแหน่งในการเข้ามาเล่นการพนันในครั้งนี้แต่สนใจว่าการเป็นส.ส. ที่ดีและสามารถผลักดันนโยบายของตนเองให้ได้ผลทางการเมืองได้เป็นอย่างไร นักการเมืองบางคนเล่นการเมืองแค่สมัยเดียวและเลิกเล่นเพราะสามารถที่จะผลักดันนโยบายของตนเองได้สำเร็จ แล้วผมมองว่าถ้าหากนโยบายของผมเป็นจริงทางการเมืองก็อาจจะเลิกเล่นกัน

นายวรัญชัย ระบุว่า ได้รับกระแสข่าวว่า หลังจากนี้ จะมีการเคลื่อนไหว หลังจากการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรี จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ และเชื่อผู้นำทางการเมืองฝ่ายทหารจะไม่เกรงกลัวผู้แทนราษฎรแต่เกรงกลัวประชาชนที่ออกมาเรียกร้องบนท้องถนน

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า บทบาทของประชาชนทหารแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราคงเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นก่อนจะถึงขั้นตอนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงไม่มีใครทำสำเร็จ ถ้าหากไม่มีการระดมพลังจากพี่น้องประชาชน ถึงเวลาในการดึงจิตวิญญาณในการรณรงค์และทำมติร่วมกันใหเรื่องรัฐธรรมนูญของคนทุกเพศทุกวัย อย่าไปเชื่อว่าถ้ากรรมเรื่องผิดๆของผู้นำในปัจจุบัน การรณรงค์เรื่องต่างๆโดยปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนทั่วโลก

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

ผู้ประกาศข่าว รายการ 77 ข่าวเด็ด ช่อง FIVE Channel HD / ผู้สื่อข่าว การเมืองและสังคม เว็บไซต์ 77ข่าวเด็ด และผู้สื่อข่าวออนไลน์ BrickinfoTV.com