X

รัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิเคราะห์โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง 62

รัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ คนรุ่นใหม่อาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงการเมืองได้จริง ประชาธิปัตย์อาจเดินเกมยากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ และประชาชนเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกของการแก้ปัญหา แต่กลับสวนทางกับชนชั้นนำ

(19 มี.ค. 62)ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนา “โค้งสุดท้าย การเลือกตั้ง” ที่ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร , ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ , ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล , รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง , รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี และ ดำเนินรายการโดย รศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์

ถ้าผลเลือกตั้งไม่เป็นไปตามที่พวกเขาตั้งไว้ จะเป็นเหมือน 14 ตุลา หรือไม่ ?

นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่นักศึกษารัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถูกถามถึงขณะเรียนกับ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ มองว่า เดิมปัญหาทางการเมืองเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ แต่กลับกลายเป็นว่าในช่วงโค้งสุดท้ายจะกลายเป็นเรื่องของการที่ประชาชนจะเอาหรือไม่เอาระบอบเผด็จการ ซึ่งโค้งสุดท้ายนี้ คนที่เดินเกมยากที่สุดคือ พรรคประชาธิปัตย์

ซึ่งเงื่อนไขของการเลือกตั้งต้อง เปิดกว้าง , ยุติธรรม และ มีความหมาย สิ่งหนึ่งที่การเลือกตั้งรอบนี้สร้างขึ้นคือ ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ยอมรับในแง่ที่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นทางออกของปัญหา

ส่วนหนึ่งที่ชาวต่างชาติและสื่อต่างชาติสนใจ ไม่ได้สนใจว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยหรือไม่ แต่สิ่งที่สนใจคือ หลังการเลือกตั้งประเทศไทยจะวุ่นวายหรือไม่ ? การมีประชาธิปไตยก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้องมีเสถียรภาพด้วย

คนรุ่นใหม่จะสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้หรือไม่ ?

ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล มองว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในแง่มุมของสื่อมวลชนเริ่มให้ความสนใจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ แต่ในแง่ของการเมืองนั้นแทบจะไม่มีพรรคการเมืองใดรณรงค์เกี่ยวกับคนรุ่นใหม่จริงๆหรือไม่ ? ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หากมองกันตามตรงพรรคอนาคตใหม่ แทบจะเป็นพรรคเดียวที่ให้ความสนใจกับคนรุ่นใหม่อย่างจริงๆจังๆ

ขณะที่ถ้าเราย้อนกลับไปมองยังพรรคการเมืองเก่าๆ พรรคเหล่านี้มองว่าเป็นพรรคที่มีฐานเสียงเดิมอยู่แล้ว ซึ่งพรรคเหล่านั้นจะเดินเกมในทิศทางที่สนับสนุนกลุ่มมวลชนที่ยังไงก็เลือกตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของพรรคเก่าต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสีเสื้อ , ชูคนรุ่นใหม่ในพรรค แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกับคนรุ่นใหม่เลย หากเปรี่ยบเทียบเชิงตัวเลขแล้ว กลุ่มคนรุ่นใหม่ ก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่ากลุ่ม gen x หรือ gen y เลย

จากการวิจัยของสถาบันวิจัยของสหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ว่ามีช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น ซึ่ง คนรุ่นเก่าจะเอียงไปทางอนุรักษ์นิยม และคนรุ่นใหม่จะเอนเอียงไปทางเสรีนิยมมากขึ้น สาเหตุสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ตัวอย่างง่ายๆคือ นิทานก่อนนอน โดยคนสมัยก่อนจะเติบโตมากับเรื่อง บ้านเล็กในป่าใหญ๋ ซึ่งในเรื่อง สอนให้เห็นถึงการแบ่งชนชั้นในสังคม แต่คนรุ่นใหม่กลับเติบโตมาในรูปแบบ แฮรี่ พอดเตอร์ ซึ่งเปรียบได้กับเป็นคนชายของที่สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงในสังคม

“เชื่อว่ายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะไม่อยู่กับเราใน 10 ปีข้างหน้า” ดร.กนกรัตน์ กล่าว

การเลือกตั้งครั้งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่กลับใช้การหาเสียงรูปแบบเก่า ?

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ระบุว่า หากมองระบบการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็น “เครื่องมือการจัดระเบียบทางการเมืองระบอบใหม่” ภายใต้การนำของกลุ่มชนชั้นอนุรักษ์นิยม เช่น ทหาร , ผู้นำ เพื่อรักษาฐานรากที่มั่นคงทางการเมืองไว้ให้ได้นานที่สุด

คนรุ่นใหม่เห็นว่าปัญหาถูกนำมากางบนถนนแล้วคนรุ่นใหม่ ทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีคนมาพูดแทนเขาเช่นกัน ซึ่งช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถนำเสนอความคิดเห็นได้ ซึ่งหากเทียบตัวเลขคนรุ่นใหม่ 8 ล้านคน อาจสามารถเลือก ส.ส. ได้ถึง 100 คน ถ้าออกไปใช้สิทธิ์กันทุกคน

ภาพรวมการเลือกตั้งในครั้งนี้ในโซนพื้นที่แดงเข้มทางภาคเหนือ หรือน้ำเงินเข้มทางภาคใต้อาจได้เห็นเหตุการณ์ “เสาไฟฟ้าล้ม” บ้าง และในภาคกลางจะเป็นภาคที่มีการแข่งขันสูงที่สุด และเชื่อว่าโคราชจะไม่ใช่ฐานที่มั่นของพรรคชาติพัฒนาอีกต่อไป เพราะการหาเสียงของพรรคที่พร้อมจะร่วมกับใครก็ได้ อาจจะไม่ได้ใจของประชาชน

หากกลุ่มคนรุ่นใหม่ถ้าออกมาเลือกตั้งเยอะ อาจทำให้พรรคอนาคตใหม่ ได้คะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อสูงสุด และอาจได้จำนวน ส.ส. มากที่สุดถึง 50 ที่นั่ง ส่วนคนกลุ่มที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ชอบพรรคไหนก็จะเลือกพรรคนั้นอยู่ ส่วนกลุ่มคนวัยทำงานตั้งแต่ 30-49 ปี จะเป็นกลุ่มที่คะแนนเสียงไม่แน่นอนมากที่สุด พร้อมทั้งมองว่าพรรคพลังประชารัฐ ยังคงใช้รูปแบบการหาเสียงแบบเก่าอยู่ คือการใช้พลังดูดของอดีต ส.ส.ในพื้นที่ ซึ่งหากเป็นในอดีตอาจได้ผลแต่ในปัจจุบันอาจได้เพียง 50 ที่นั่ง

ผลของการเลือกตั้งครั้งนี้มีความเป็นไปได้หลายกหลายแนวทาง ?

รศ.ดร.สิริพรรณ เชื่อว่าหลังการเลือกตั้งอาจมีความเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้แต่เลือกนายกฯได้ , จัดตั้งนายกฯได้แต่เลือกนายกฯไม่ได้ หรืออาจเป็นการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติในระยะเวลาสั้นๆเพื่อแก้ไขกฏเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้บ้านเมืองก้าวต่อไปได้ และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือการที่มีคนร้องเรียนให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ จนทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ฯ เปิดนายกต่อไป

สำหรับมุมมองของประชาชน ประเทศไทยมองแล้วว่าการเลือกตั้งจะเป็นเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนผ่าน แต่กลับกลายเป็นว่าชนชั้นนำยังไม่มองว่าการเลือกตั้งเป็นการเปลี่ยนผ่านสู้ประชาธิปไตย

ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ?

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ให้เหตุผลว่า ไทยเราติดอันดับ 2 ของโลกในการรัฐประหาร แต่อันดับ 1 เขาใช้องค์กรอิษระในการแก้ไขปัญหา ถึงแม้ในอาเซียน ไทยจะมีการรัฐประหารเยอะ แต่ไทยก็ไม่ได้มีการสืบทอดยาวนานเหมือนในประเทศอื่นๆ เพราะในประเทศไทยหลังจากรัฐประหารไม่นานก็จะมีการเลือกตั้ง จากการศึกษาการเปลี่ยนผ่าน สู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ อย่างแท้จริงชาติต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติ และชนชั้นผู้นำเห็นด้วย

ดังนั้นสำหรับประเทศไทย จะต้องมีการผนึกกำลังและการประณีประนอมของฝ่ายค้านที่ต้องการประชาธิปไตย , ผู้นำที่ต้องมีวิศัยทัศน์ จริงใจต่อการวางรากฐานประชาธิปไตย , กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน แต่สิง่ที่เกิดขึ้นจริงๆคือ การแตกแยกกันเองในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย และ การเลือกตั้งของไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมในการแก้ไขปัญหา

อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาว่าการปฏิวัติก็สามารถส่งผ่านไปยังประชาธิปไตยอย่างมีเสถียรภาพได้ แต่ก็ต้องอยู่ในระยะเวลาที่ไม่เนิ่นนานจนเกินไป

ในการศึกษาของ Machiavelli ระบุว่า ในช่วงวิกฤต ผู้ปกครองที่มีกองกำลังเท่านั้นที่จะสามารถปฏิรูปเปลี่ยนผ่านได้ แต่ขณะเดียวกันผู้นำก็มีโอกาสที่จะเป็นทรราชได้ซึ่งเขาก็จะสร้างเงื่อนไขให้ประชาชนเห็นว่าทำไมเขาต้องมีอยู่ต่อไป

การเมืองจะกลับไปบนท้องถนนหรือไม่ ?

ศ.ดร.ไชยันต์ ระบุว่า เนื่องจากปัจจุบันมี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งไม่สามารถเกิดได้ในรัฐบาลเลือกตั้ง ซึ่งจะไม่มีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลเหมือนในอดีต แต่ถ้าหาก ส.ว. ทำตัวเป็นสภาทาส อาจจะมีการชุมนุมอีก ดังนั้นถ้าประชาชนเห็นอะไรที่ไม่ชอบ ไม่ยุติธรรม ก็จะมีการออกมาชุมนุม

การเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้เกิดระบอบใหม่ แต่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ?

รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง มองว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ อยู่ในเส้นทางของการสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ซึ่งหลังจากการรัฐประหารปี 57 ก็ทำให้เห็นถึงระบอบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีความชัดเจนว่าชนชั้นนำในอดีตอาจมองว่าประชาธิปไตยเป็นภัยกับตัวเอง

สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้อาจจะมีแนวโน้มในการเลือกพรรคอนาคตใหม่มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน การเมืองเข้ามาสู่ชุมชนมากขึ้น การซื้อเสียงด้วยการแจกเงินเหมือนในอดีตจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป แต่จะมาในรูปแบบอื่น หากสังเกตุจากการลงประชามติครั้งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัดและชนบท กลับมีแนวโน้มที่ต่างจากเขตเมือง เพราะประชาชนยังคงให้เหตุผลที่ไม่รับเพราะ ทหารไม่ยอมเปิดน้ำให้ ดังนั้นนี่คือรูปแบบอื่นที่กำลังจะกิดขึ้น

แล้วภาคประชาชนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไร ?

รศ.ดร.ประภาส อาจจะไม่ได้มีผลต่อประชาชนมากนัก แต่จะเป็นการเปลี่ยนผ่านระบอบเก่าๆให้ออกไป แต่จะยังคงเป็นการเมืองบนท้องถนนแบบนี้ต่อไป แต่จะไม่ได้เป็นรูปแบบการขับไล่รัฐบาล แต่จะเป็นในรูปแบบของการเรียกร้องให้แก้ไขบางเรื่องมากกว่า เช่น การรวมตัวเรียกร้องให้หยุดพิจารณากฏหมาย หรือ แก้ไขกฏหมายต่างๆ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

ผู้ประกาศข่าว รายการ 77 ข่าวเด็ด ช่อง FIVE Channel HD / ผู้สื่อข่าว การเมืองและสังคม เว็บไซต์ 77ข่าวเด็ด และผู้สื่อข่าวออนไลน์ BrickinfoTV.com