X

จุฬาฯดันแผนแม่บทสู่ศตวรรษที่ 2 ทุบกำแพงคณะ เปิดคนภายนอกเรียนรู้24ชม.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีสาธารณะนำเสนอโครงการผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา ภายใต้แนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” เพื่อสร้างและกระตุ้นสภาพแวดล้อมทางการศึกษา และรองรับความเปลี่ยนแปลงในอีก 100 ปีข้างหน้า

 

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่า ภายหลังจากแผนแม่บทดังกล่าวเสร็จสมบรูณ์ จะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจากมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์การเรียนรู้ภายใน 20 ปีแรก ใน CU2040 Master Plan ซึ่งนับเป็นศตวรรษที่ 2 ของจุฬาฯ

จากแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” จุฬาตั้งใจจะใช้พื้นที่ต่างๆให้ที่มี ให้เหมาะสมกับแหล่งการเรียนรู้มากขึ้น โดยการ “ปรับ” สาธารณูปโภคและพื้นที่ต่างๆภายในสถาบันให้มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันห้องเรียนและห้องทดลองของจุฬา มีการใช้งานเพียง 1 ใน 4 ของห้องทั้งหมดเท่านั้น “เปลี่ยน” การเปิด-ปิด ประตูให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ตลอด 24 ชั่วโมง และ “เปิด” โอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ที่จุฬาฯ

ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาผังเมือง หรือ uddc และ หัวหน้าโครงการผังแม่บทฯ ระบุว่า ในอนาคตรูปแบบการเรียนรู้และการศึกษาจะเปลี่ยนไป โดยอาศัยการร่วมมือกันระหว่างคณะต่างๆมากขึ้น ซึ่งคำถามแรกที่ทีมวางผังได้รับคือ ในอนาคตมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จากการศึกษาการปรับเปลี่ยนของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกพบว่า มหาวิทยาลัยจะกลายเป็นสถานที่บ่มเพาะนักศึกษาให้สามารถเรียนรู้ข้ามศาสตร์วิชามากขึ้น เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ทดลองสิ่งใหม่ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา โดยการสร้าง Learning Common สำหรับทุกคน ทั้งห้องเรียน ห้องทดลอง และ สถานการเรียนรู้

สัญญาณที่ จุฬาฯจะเผชิญในอนาคตจะต้องปรับตัว คือการเปิดกว้างให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้มากขึ้น แม้ไม่ใช่นิสิตของจุฬา , หลักสูตรที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนสามารถออกแบบได้เอง , สามารถสร้างบัณฑิตที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของสังคม , การเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์วิชา และ การเปลี่ยนจากศูนย์การเรียนรู้สู่สถานที่ทดลองสิ่งใหม่ๆ

ปัญหาที่พบของจุฬาฯ ปัจจุบัน คือ รั้วและกำแพงระหว่างคณะ รวมถึงเวลาเปิดปิดประตูของคณะต่างๆ ทำให้ไม่เกิดการเชื่อมโยงระหว่างคณะ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์วิชา เสียงส่วนหนึ่งจากการสำรวจบุคลากรภายในจุฬาฯ พบว่า แสงสว่างในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอ , สาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอ , ข้อจำกัดในการใช้งานสถานที่ต่างๆ และการที่มี Community Complex ไม่เพียงพอ

“จุฬาลงกรณ์อยู่กลางเมืองจริง แต่บุคลากรภายในไม่สามารถจัดการประชุมได้ ทั้งๆที่มีห้องประชุมพร้อม”

เสียงส่วนหนึ่งจากการรับฟังความเห็นจากบุคลากรภายในจุฬาฯ

ถ้าหากจุฬาฯไม่เปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น ? จากการคาดการณ์ของทีมโครงการ พบว่า จำนวนวิจัยและนวัตกรรมจะลดลงเพราะสภาพแวดล้อมไม่เปิดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับของมหาวิทยาลัยลง รวมถึงส่งผลให้จำนวนนิสิตน้อยลงและทำให้มหาวิทยาลัยต้องอาศัยเงินจากการเก็บค่าเข้าจากส่วนการค้าที่ปล่อยเช่า

แล้วศูนย์การเรียนรู้ของจุฬาฯที่จะใช้เป็น Learning Common จะปรับอย่างไร ? จากแผนแม่บทนี้จะเปิดโอกาสให้ ผู้ที่ต้องการศึกษาและเรียนรู้ ทำได้ 24 ชั่วโมง สร้างศูนย์กลางที่จะเปิดเป็น co-working space ที่สามารถมีการร่วมทุนจากเอกชนหรือคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัยได้ และสร้างพื้นที่โชว์ผลงานของอาจารย์และนิสิตจากคณะต่างๆได้ โชว์ผลงานต่อสาธารณชน

ขณะที่ตัวแทนนิสิตจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ (อบจ.) ถามถึง การเปิดกว้างมหาวิทยาลัยให้คนภายนอกจะทำให้นิสิตและบุคลากรเองได้รับผลกระทบจากบุคคลภายนอกหรือไม่ ? ทีมทำงานระบุว่านี่เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องมีแผนแม่บท การเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาก็ต้องมีแผนว่าเขาสามารถเข้ามาในส่วนไหนบ้าง ขณะที่ปัญหาหนึ่งในด้านของโรงอาหารที่เกิดขึ้น สาเหตุดังกล่าวเกิดจากการที่ไม่มีแผนรองรับ

หลังจากการนำเสนอต่อสาธารณชนครั้งนี้ จะมีการนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยต่อไป หากผ่านการพิจารณาแผนแม่บทดังกล่าวจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

นพฤทธิ์ กมลสุวรรณ

ผู้ประกาศข่าว รายการ 77 ข่าวเด็ด ช่อง FIVE Channel HD / ผู้สื่อข่าว การเมืองและสังคม เว็บไซต์ 77ข่าวเด็ด และผู้สื่อข่าวออนไลน์ BrickinfoTV.com