X
ปล่อยลูกพะยูน,แหลมจุโหย,เกาะลิบง,พะยูนเกยตื้น,ทช.10,

ปล่อยลูกพะยูนให้ไปตามหาแม่ที่แหลมจุโหย เกาะลิบงจากการพลัดหลง

ปล่อยลูกพะยูน อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือลูกพะยูนน้อยเกยตื้น กระบี่ก่อนช่วยกันนำขึ้นเรือไปปล่อยคืนทะเลสำเร็จ ท่ามกลางความดีใจของทุกฝ่ายที่เข้าช่วยเหลือลูกพะยูนน้อย

ปล่อยลูกพะยูน เมื่อช่วงดึกคืนวันที่ 29 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ที่ท่าเทียบเรือหาดยาว ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นายประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.10   นายสัตวแพทย์ปฐมพงษ์ จงจิตต์ จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน

นายอับดุลรอหีม ขุนรักษา กำนันตำบลเกาะลิบง และนายสมพร จิเหลา นายก อบต.เกาะลิบง พร้อมอาสาสมัครทีมพิทักษ์ดุหยง เกาะลิบง อ. กันตัง และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง และชาวบ้านรวมประมาณ 30 คน ได้ช่วยกันขนย้ายลูกพะยูนเพศเมีย อายุราว 1 ปีเศษ

และนำเรือออกเดินทางมุ่งสู่แหลมจุโหย ม.1 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งพะยูนน้อยตัวนี้คาดว่าเข้ามากินหญ้าทะเลและผลัดหลงฝูงเข้ามาเกยตื้นบริเวณท่าเรือโกเต็ก คลองม่วง อ.เมือง จ.กระบี่  เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2562  ซึ่งเจ้าหน้าที่และชาวประมงก็ได้ช่วยเหลือและทำการขนย้ายเพื่อปล่อยคืนสู่ทะเล

ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์ปฐมพงษ์ จงจิตต์ จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กล่าวว่า จากการหารือกับนักวิชาการและเจ้าหน้าที่เห็นตรงกันว่าพื้นที่แหลมจุโหย ต.เกาะลิบง จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีฝูงพะยูนจำนวนมากที่สุด

อีกทั้งบริเวณดังกล่าวเป็นเขตอนุรักษ์ฯ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล และมีเรือประมงจำนวนน้อย จึงทำให้เชื่อมั่นได้ว่าลูกพะยูนตัวนี้จะปลอดภัย เหตุที่ต้องนำมาปล่อยในเวลากลางคืนก็เพราะ 2-3 วันที่ผ่านมาลูกพะยูนที่หลงฝูงเช่นนี้มีอาการเครียด ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องขนย้ายปล่อยสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เท่าที่ตรวจดูอาการลูกพะยูนยังคงมีสภาพแข็งแรง น่าจะเจอกับแม่และฝูงได้ไม่ยาก

ด้านนายประจวบ โมฆรัตน์
ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สบทช.10  กล่าวว่า ในพื้นที่อนุรักษ์ฯก็จะจัดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนตลอดเวลา เพื่อเฝ้าระวังทั้งเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายและการดูแลสัตว์ทะเลหายากและทรัพยากรทางทะเลซึ่งบริเวณแหลมจุโหย ต.เกาะลิง

ก็มีความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลและจากการสำรวจพบว่ามีจำนวนประชากรพะยูนมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งปีนี้มีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็น 185 ตัว และมีอัตราการตายลดลง เฉลี่ยแค่ปีละ 3 ตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีชี้ให้เห็นถึงการทำงานจองเครือข่ายฯที่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

ส่วนนายอับดุลรอหีม ขุนรักษา กำนันตำบลเกาะลิบง อ.กันตัง กล่าวว่า อาสาสมัครทั้งท้องที่และท้องถิ่นก็มีการผลัดเปลี่ยนกันลาดตระเวนฝ้าระวังในเขตพื้นที่อนุรักษ์ฯตลอดเวลา และชาวบ้านเองก็ช่วยดูแลอย่างเต็มที่ จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ปลอดภัยสำหรับพะยูนและสัตว์ทะเล ซึ่งทุกคนก็เต็มใจและทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งเสมอมา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน