ตรัง รื้อถอนโพงพาง และโป๊ะป้องกันแก้ไขปัญหายับยั้งขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยังยืนในพื้นที่ทะเลจังหวัดตรัง
ตรัง รื้อถอนโพงพาง : วันที่ 9 ก.ย. 67 นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ทะเลจังหวัดตรัง มอบหมายให้ชุดปฏิบัติการรื้อถอนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายประเภทเครื่องมือโพงพางและโป๊ะในเขตพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ปฏิบัติการรื้อถอนฯ โดยการนำของนายณัฐวุฒิ สังข์สุข นายอำเภอปะเหลียน (หัวหน้าชุดปฏิบัติการดูแลความปลอดภัยภาคพื้นดิน) พร้อมด้วย คณะทำงานจากป้องกันจังหวัดตรัง
ตำรวจภูธรจังหวัดตรัง สถานีตำรวจภูธรปะเหลียน จังหวัดตรัง ชุดอาสารักษาดินแดน และนางพรรณี เดชภักดี ประมงจังหวัดตรัง (หัวหน้าชุดปฏิบัติการรื้อถอน) พร้อมด้วยคณะทำงานจากกองกำกับการ 9 กองบังคับการตำรวจน้ำ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตรัง ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 สำนักงานประมงจังหวัดตรัง และประชาสัมพันธ์จังหวัดตรัง ร่วมคณะทำงานปฏิบัติในครั้งนี้ จำนวน 100 นาย
ในเวลา 08.30 น. คณะทำงานชุดปฏิบัติการรื้อถอนฯ ได้สนธิกำลังบูรณาการรื้อถอนเครื่องมือโพงพางและโป๊ะ ในเขตพื้นที่ทะเลอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง สำหรับเครื่องมือโพงพางเป็นเครื่องมือผิดกฏหมายที่ห้ามใช้หรือมีไว้ในครอบครองตามมาตรา 67(1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 และเครื่องมือโป๊ะ เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ตามประกาศ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คึกคัก “ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม” แห่องค์ศักดิ์สิทธิ์ในเขตเทศบาลนครตรัง สาธุชนชาวตรังนับหมื่น ฝ่าสายฝนร่วมสืบสานประเพณี ถือศีลกินผักด้วยพลังศรัทธา
- ตรัง ม้าทรงแสดงอภินิหารสุดหวาดเสียวใจกลางเมืองตรัง
- ชาวตรังหลายพันคนร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์-ล้างเค่วเตรียมขบวนแห่ยิ่งใหญ่องศักดิ์สิทธิ์ออกโปรดลูกหลาน
- กินเจตรัง "ศาลไต่เซี่ยฮุดโจ้ว" ม้าทรงแสดงอภินิหารนำลูกหลานลุยไฟ สะเดาะเคราะห์ให้ผู้มีจิตศรัทธา
คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง ห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางประเภท หรือวิธีการทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่งของจังหวัดตรัง พ.ศ. 2566 โดยปฏิบัติการได้เริ่มออกจากท่าเทียบเรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง และได้มีการรื้อถอนเครื่องมือประเภทโป๊ะ จำนวน 18 หลัง ซึ่งจะดำเนินการรื้อถอนจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ปฏิบัติการในครั้งนี้สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายในพื้นที่ทะเล จังหวัดตรัง เป็นการป้องกัน ยับยั้ง ขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยังยืน อีกทั้งเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องมือผิดกฎหมายเหล่านี้ต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: