X
มโนราห์เหยียบเสน.โนราห์เหยียบเสน,มโนราห์โรงครู,

มโนราห์เหยียบเสนความเชื่อความศรัทธาในการรักษาหายได้

มโนราห์เหยียบเสน หรือพิธีกรรมเหยียบเสนของมโนราห์โรงครู การปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพชน เป็นเสนแล้วไปรักษาทางวิทยาศาสตร์ หรือรักษาด้วยเลเซอร์ก็ไม่หายขาดต้องให้มโนราห์ใหญ่เหยียบให้เท่านั้น

มโนราห์เหยียบเสน  : วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00 น. ที่บ้านเลขที่ 73/3 หมู่ 1 ต.หนองบ่อ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง มีการตั้งโรงมโนราห์ชั่วคราวเพื่อรำมโนราห์โรงครู แก้บน แทงเข้ และวันมีพิธีกรรมหนึ่งที่น่าสนใจยิ่งที่ไม่มีให้ชมมากนักและไม่ได้มีทุกโรงมโนราห์ คือพิธีกรรมการเหยียบเสน   เสน คือ ปานแดง-ดำ หรือปานขาว  มีลักษณะนูนใหญ่และปรากฏบนใบหน้าหรือร่างกายทำให้เด็กที่เป็นเสนดูไม่สวยงาม

ซึ่งเมื่อโตขึ้นจะทำให้เป็นเสียความมั่นใจ และอับอายได้ ซึ่งการรักษาทางการแพทย์ปัจจุบันจะรักษาด้วยการเลเซอร์ ก็ไม่หายขาดและจะกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งชาวบ้านทางภาคใต้ จะนิยมรักษาเสนด้วยการนำบุตรหลานมาให้มโนราห์โรงครูเหยียบให้ ซึ่งเป็นความความเชื่อว่าเสนจะหายขาดและก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ  ทั้งนี้การรำมโนราห์เหยียบเสนต้องมีพิธีกรรมของมโนราห์ร่วมด้วย และไม่ใช่ว่ามโนราห์ทุกโรงจะสามารถเหยียบเสน เพราะจะต้องเป็นมโนราห์ใหญ่ที่ผ่านพิธีผูกผ้า ตัดจุก เป็นมโนราห์ใหญ่ถึงจะเหยียบเสนได้

นายอดิศร ด้วนรู้ที่  อายุ 29 ปี มโนราห์ใหญ่ หัวหน้าคณะมโนราห์สองทำนองศิลป์ จังหวัดตรัง กล่าวว่า พิธีกรรมการเหยียบเสนมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพชน การเป็นเสนแล้วไปรักษาทางวิทยาศาสตร์ ทางโรงพยาบาลจะไม่หาย จะไปรักษาด้วยเลเซอร์ก็ไม่หายต้องให้มโนราห์ใหญ่เหยียบให้เท่านั้น และต้องเป็นมโนราห์ที่ผ่านพิธีผูกผ้า ตัดจุกผูกผ้าเป็นมโนราห์ใหญ่ถึงจะเหยียบเสนได้

และต้องเป็นโรงมโนราห์โรงคืนวัน โรงมโนราห์แทงเข้ (จระเข้) แต่ส่วนใหญ่จะเลือกเหยียบดสนกับโรงมโนราห์แทงเข้ มโนราห์โรงครูใหญ่ และตัวของคนรำมโนราห์จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการผู้ผ้า ตัดจุก ครอบมือในพิธีการเหยียบเสน ซึ่งเสนเป็นความเชื่อทางมโนราห์ว่าใครผู้ใดทีเป็นเสน(ปานแดง) จะต้องให้มโนราห์รักษาเท่านั้นถึงจะหาย เพราะเชื่อว่าการที่มโนราห์เหยียบเสนให้เปรียบเสมือนว่าเป็นตัวแทนของท่านขุนศรัทธา

ต้องรักษาด้วยการเอาน้ำล้างเท้าของขุนศรัทธามาล้างและเหยียบ เท่านั้นจึงจะหาย ทางวิทยาศาสตร์รักษาไม่หายขาด  ในการเหยียบเสนกี่ครั้งถึงจะหายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเสมถ้าเป็นมากก็ 3 ครั้งหายขาด ถ้าไม่มากก็ให้มโนราห์เหยียบครั้งเดียวหายขาดได้เช่นกัน ซึ่งเสนหรือปานจะมีทั้งปานแดง ปานดำ ปานขาว แต่ที่พบมากก็จะเป็นปานแดง หรือเสนแดงลักษณะเป็นเนื้อนูนขึ้นมา ส่วนค่ารักษาแต่ละครั้งทางมโนราห์จะไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความพร้อมของชาวบ้านที่มารักษา แต่ต้องมีเพื่อเป็นค่าครู จะ 1บาท 2 บาท 50 สตางค์ สุดแล้วแต่ความศรัทธา

สิ่งที่ชาวบ้านจะต้องเตรียมมาเพื่อใช้ในการประกอบพิธีเหยียบเสน ก็จะมีพานไหว้ครูที่ใส่หมากพูล  ธูปเทียน ดอกไม้  ขันลงหิน น้ำสะอาด มีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ (สิบบาท) แหวนทอง รวงข้าว และเงินใส่ในพาน

การเหยียบเสนเริ่มทำพิธี โดย มโนราห์ใหญ่ ทำการบริกรรมคาถา ลงยันต์ที่นิ้วหัวแม่เท้าขวาด้วยดินสอที่ผ่านการสวดยัด ทำการไหว้ครู ร่ายรำในท่วงท่าของมโนราห์ ระหว่างนั้นตัวแทนของคณะมโนราห์ก็จะเอาขันลงหินที่มีน้ำ มีดโกน หินลับมีด เงินเหรียญ (สิบบาท) แหวนทอง รวงข้าว โดยเอารวงข้าวที่จุมน้ำมาทาบริเวณที่เป็นเสน แล้วเอาแหวนทองเหรียญสิบมาวางบนที่เป็นเสนจากนั้นมโนราห์จะเอานิ้วหัวแม่เท้าที่ลงยันต์แล้วแตะที่เสน(หรือปาน)ที่ตัวเด็ก ทำเช่นนี้สามรอบ หลังจากเหยียบเสนครบแล้ว มโนราห์จะร่ายรำท่ามโนราห์พร้อมทั้งบริกรรมคาถาถือเป็นเสร็จพิธี

ทางด้านนาง พิมใจ รอดเตียน อายุ 55 ปี ชาวบ้าน ต.คลองลุ อ.กันตัง จ.ตรัง ได้นำหลานชาย อายุ 6 เดือน มาทำพิธีเหยียบเสนที่ บ้านเลขที่ 73/3 หมู่ 1 ต.หนองบ่อ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง มีการตั้งโรงมโนราห์ชั่วคราวเพื่อรำมโนราห์โรงครู เพราะเชื่อและศรัทธาว่าเมื่อนำหลานชายที่เป็นเสนที่ข้อมือซ้าย ก็จะหาย เพราะไม่อยากให้เป็นเสน หรือปานไปตลอดชีวิต และดูแล้วไม่สวยงามด้วย.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน