X
ประธานชมรมมโนราห์ตรัง ปลื้ม โนรา,ยูเนสโก,มโนราห์,มรดกโลก,

ประธานชมรมมโนราห์ตรัง ปลื้ม ยูเนสโก ประกาศมโนราห์เป็นมรดกโลก

มโนราห์ ประธานชมรมและเครือข่ายจังหวัดตรัง ปลื้ม ยูเนสโก ประกาศมโนราห์เป็นมรดกโลก เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ พร้อมขอจังหวัดส่งเสริมศิลปะการแสดงมโนราห์ ถึงเวลาปลดล็อกการรำมโนราห์โรงครู ตามประเพณีบรรพบุรุษของคนใต้ เว้นว่างมากว่า 2 ปี

มโนราห์ : วันนี้ 16 ธันวาคม 2564 บ้านของ นายวสันต์ สืบสังข์ หรือ โนราห์เกียร์ ประธานชมรมมโนราห์ชาวตรัง อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 5 ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง หลังจากทราบว่าทางยูเนสโก ประกาศให้มโนราห์เป็นมรดกโลก โดยประธานชมรมมโนราห์กล่าว่า รู้สึกดีใจภูมิใจที่ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุให้มโนราห์  เป็นภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยได้ดังไปทั่วโลก

ปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือได้เรียกร้องสิทธิให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ ในนามของประธานชมรมมโนราห์ชาวตรังมีความภูมิใจมากและเชื้อว่ามโนราห์ทุกคณะมีความภูมิใจไม่น้อยไปกว่ากัน  ตนอยากให้ทุกคนยอมรับว่ามโนราห์นั้นเป็นด้วยสายเลือดเพราะสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อยากให้หน่วยงานและผู้มีสายเลือดมโนราห์สืบทอดกันต่อไป ซึ่งผู้ที่รำมโนราห์จะต้องเป็นครูหมอตายายมโนราห์เป็นคนคัดเลือก ไม่ใช่ว่าใครอยากจะรำก็รำได้ ต้องสืบทอดทางสายเลือดต้องการให้มีการสืบทอดแบบนี้ตลอดไป 

หลังจากที่ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุให้มโนราห์  เป็นภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของประเทศไทย ตนอยากให้หน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญของการแสดงศิลปะมโนราห์มากกว่านี้ หวังว่าทางหน่วยงานจะเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมมากกว่านี้ มี่ผ่านมาอาจจะมีบ้าง แต่เค้าไม่มองเห็นความพยายามของมโนราห์ที่จะทำให้คนรู้จักทั่วโลก ในขณะที่ยูเนสโกยังเห็นความสำคัญ ถ้าคนที่เป็นเจ้าของยังเพิกเฉยก็แย่  เราต้องออกหน้าออกตาพยุงจรรโลงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมตรงนี้ให้มากยิ่งขึ้น

มโนราห์ส่วนมากจะรำในพิธีกรรมมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบโรงค้ำครู รำ 1 คืน 1 วัน  หรือ พิธีกรรมโรงครูใหญ่รำ 2 คืน 3 วัน เป็นการรำระหว่างเจ้าภาพเชื้อสายที่บนบานสานกล่าวเอาไว้ให้มีโชคมีลาภแล้วจะรำให้ตายาย  ฝ่ายเจ้าภาพไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานใดใด เป็นระหว่างเจ้าภาพกับมโนราห์เอง

มโนราห์โบราณในจังหวัดตรังที่จดทะเบียนมีจำนวน 50 คณะที่มีลูกคู่พร้อม แต่ที่แตกแขนงออกไปมีจำนวน 65 คณะ ในพื้นที่อำเภอนาโยงมีคณะมโนราห์มากที่สุด 23 คณะ นอกนั้นก็กระจายออกไปตามตำบลพื้นที่ต่าง ๆ

ตนเองเป็นตัวตั้งตัวตีสร้างโรงมโนราห์โรงครูใหญ่ให้กับจังหวัดตรังเหมือนกับพัทลุงที่รำกันที่ท่าแค ตนได้สร้างการรำมโนราห์พิธีกรรมประจำปีของจังหวัดตรังมาก็ร่วม 2-3 ปีแล้ว  ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด ต้องหาทุนเอง ต้องหาค่าใช้จ่ายมาเอง ที่ทุกสิ่งที่ทำไปก็เพื่อให้เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตรัง มีพิธีกรรมโรงครูแทงเข้ประจำจังหวัดอยากให้จังหวัดยื่นมือมาช่วยตรงนี้บ้าง  ในช่วงโควิดจบไปเลยตั้งแต่เดือนหก เมษายน ระยะเวลากว่า 24 เดือน เป็นต้นมา ที่มีคำสั่งให้หยุดการแสดงแกรงจะมีครัตเตอร์โรคโควิด รอบแรก  รอบ 2-3 ตามมา หยุดยาวเลย

แต่มา ณ ช่วงนี้มีการผ่อนคลายไปมากแล้วอยากเรียกร้องให้ทางหน่วยงานมองเห็นว่าในเมื่อมีการผ่อนคลายแล้ว มโนราห์มีการสัญญากับครูหมอตายายแต่ละบ้านของเจ้าภาพกำหนดไว้แล้วว่าต้องรำเดือนนั้น ๆ มองว่าควรให้มโนราห์รำได้แล้ว ซึ่งได้กำหนดว่าห้ามเกิน 50 คน  แต่รำมโนราห์ยังคน  30-50 คนก็หรูแล้ว ระหว่างเจ้าบ้านกับมโนราห์ก็มีคนประมาณนั้น บางคืนมีเพียงมโนราห์กับเจ้าภาพแค่นั้นเอง แต่ต้องทำไปเพราะต้องการให้ครูหมอมโนราห์รับรู้เท่านั้นเอง ไม่ได้ต้องการให้มหาชนมาดูกันมายอย่างนั้น

ส่วนทางด้าน  นายครื้น เอียดจุ้ย หรือ โนราห์ครื้น อายุ 80 ปี เจ้าของมโนราห์ครื้นน้อยดาวรุ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อ 50 ที่ผ่านมา และเป็นศิษย์ของมโนราห์เติม วินวาด ซึ่งเป็นชื่อดังที่ถูกกล่าวขวัญในรอบ 100 ปี โดยมโนราหฺครื้นเริ่มรำมโนราห์ตั้งแต่อายุ 19 ปี รำมาแล้ว 61 ปี และปัจจุบันก็ยังรำอยู่  กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ทางการยกมโนราห์เป็นมรดกโลก ตนก็จะถ่ายทอดสืบสานให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งปัจจุบันสืบทอดจากรุ่นลูกมาถึงรุ่นหลานแล้ว .

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน