X
หม้อข้าวหม้อแกงลิง, รายได้เสริม, โอทอป นวัตกรรมวิถี, อาหารพื้นบ้าน,ขนมไทย,

ฟื้นฟูอาหารภูมิปัญญาบ้านไสไทย “ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง”

อนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและต่อยอดการใช้ประโยชน์จากต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ด้วยการนำมาทำขนมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านเดือนละหลายพันบาท ส่วนยอดอ่อนยังนำมาแกงส้ม แกงกะทิและเป็นผักเครื่องเคียงรับประทานกับน้ำพริก

ฟื้นฟูอาหารภูมิปัญญาบ้านไสไทย “ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง”

วันนี้(14 พ.ย) ชาวบ้านไสไทย หมู่ที่ 7 ต.อ่าวตง อ.วังวิเศษ จ.ตรัง ชาวบ้านออกไปเก็บหม้อข้าวหม้อแกงลิงซึ่งชอบขึ้นอยู่ในป่าพรุ ในป่าดิบชื้นเชิงเขาหลายแห่งในหมู่บ้าน โดยขึ้นเองตามธรรมชาติเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของป่า และเป็นหมู่บ้านเดียวในจ.ตรังที่ พบต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากที่สุด ซึ่งในอดีตมีการนำมาใส่ข้าวเหนียวนึ่งทำขนมทานกันในหมู่บ้านมานานหลายสิบปีแล้ว ต่อมามีขนมขบเคี้ยวเข้ามาในหมู่บ้าน

ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักการทานข้าวเหนียวจากต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ทำให้นายอาคม ครชาตรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ต.อ่าวตง เกิดแนวความคิดในการรวมกลุ่มแม่บ้าน เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านและต่อยอดการใช้ประโยชน์จากต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ด้วยการนำมาทำขนมขาย โดยการนำหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาล้างให้สะอาด แล้วนำข้าวเหนียวที่แช่น้ำทิ้งไว้แล้ว 4 ชั่วโมงมาใส่และเติมน้ำกะทิ ผสมเกลือน้ำตาลเล็กน้อย นึ่งให้สุกโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนนำมารับประทานได้ทั้งเปลือก ซึ่งให้รสชาติที่หอมหวานมันกำลังดี จนกลายเป็นจุดขายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่แปลกใหม่ ตอนนี้ได้บรรจุอยู่ในของดีของชุมชนตามโครงการโอทอป นวัตกรรมวิถีบ้านไสไทย

โดยให้กลุ่มแม่บ้านนำออกจำหน่ายในงานต่าง ๆ รวมทั้งนำไปร่วมกิจกรรมในหมู่บ้านจนสร้างชื่อเสียงให้กับบ้านไสไทยได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ชาวบ้านยังต่อยอดด้วยการนำต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาเพาะขยายพันธุ์ เพื่อขายให้กับนักท่องเที่ยวในราคาถูก โดยนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการต่าง ๆ และนำไปตกแต่งสถานที่จนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้านได้เป็นอย่างมาก สร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านเดือนละหลายพันบาท ซึ่งส่วนยอดอ่อนยังนำมาแกงส้ม แกงกะทิและเป็นผักเครื่องเคียงรับประทานกับน้ำพริก

ด้านนางสาววีรวรรณ ราชเดิม อายุ 43 ปี 1 ในกลุ่มแม่บ้านทำข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิงบ้านไสไทยกล่าวว่า วัตถุดิบทุกชนิดมีเยอะมากทั้งต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง และมะพร้าว นำออกขายได้ทุกฤดู ลูกค้าชอบมากเพราะเป็นขนมพื้นบ้านโบราณ ซึ่งในอนาคตอันใกล้ จะทำการเพาะขยายพันธุ์เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และเป็นรายได้เสริมด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน