X
จักสานต้นคลุ้ม,กศน.ตำบล, กศน.ตำบลนาชุมเห็ด,สร้างงานสร้างอีพ,อาชีพเสริม,อาชีพใหม่,

กศน.ตำบลนาชุมเห็ดฟื้นภูมิปัญญาจักสานจากต้นคลุ้มสร้างอาชีพ

จักสานต้นคลุ้ม ครู กศน.ตำบลนาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง รื้อฟื้นภูมิปัญญาจักสานสร้างอาชีพให้ชุมชน หลังจากแม่บ้านตกงานออกไปทำงานต่างพื้นที่ไม่ได้เพราะการระบาดของโควิด-19 ด้วยการสำรวจความต้องการและร่วมค้นหาวัตถุดิบที่มีอยู่มากในชุมชนก็พบว่า แม่บ้านในชุมชนมีพื้นฐานการทำการจักรสานภาชนะด้วยต้นคลุ้ม ต้นคล้า ซึ่งเป็นพืชที่มีมากในชุมชน

จักสานต้นคลุ้ม : วันที่ 26 กรกฎาคม 2564 2564 ที่ กศน.ตำบลนาชุมเห็ด ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พบกับนางสาวจารุณี เส็นฤทธิ์ครู กศน.ตำบล และแม่บ้านจำนวน 20 คน กำลังนั่งจักสานฝาชี ตะกร้า รูปแบบต่างๆ ฆ้อง ซุ่ม  และแม่บ้านทุกคนต่างปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ทั้งสวมหน้ากาดอนามัย เว้นระยะห่างในการนั่ง ยืน และต่างก็หมั่นล้างมือ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ซึ่งแม่บ้านแต่ละคนที่มานั่งจักสานภาชนะจากต้นคลุ้ม ต่างก็มีพื้นบ้านงานจักรสานมาบ้างแล้วจึงง่ายต่อการเรียนรู้และต่อยอดการสร้างชิ้นงาน แม่บ้านแต่ล่ะคนยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งไม่สามารถออกไปทำงานต่างพื้นที่ต่างจังหวัดได้ ทำให้ขาดรายได้ในการดำรงชีพ จึงได้รวมกลุ่มเดินเข้ามาหาครูกศน.ตำบล

เพื่อที่จะหาที่ร่วมสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ ด้วยการทำความรู้และภูมิปัญญางานจักสานที่ทุกคนเคยทำมา และครูกศน.ตำบลได้ประสานให้ผู้ทรงภูมิปัญญามาสอนให้จนทุกคนสามารถสร้างชิ้นงานของตัวเองได้ ชิ้นงานของแต่ละชิ้นจะมีราคา ตั้งแต่ 600-1,200 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความยากง่ายของชิ้นงาน ชิ้นงาน1 ชิ้นใช้เวลาในการทำ2-3 วัน

นับว่าคุ้มและสามารถสร้างรายได้ให้กับแม่บ้านที่ตกงานในยุคโควิด-19ได้เป็นอย่างดี ส่วนลูกค้าที่สั่งซื้อชิ้นงานจักสานจากต้นคลุ้มก็มาจากทั่วประเทศ เพราะครู กศน.ได้ทำตลาดให้ด้วยการขายผ่าน OOCC  (ONIE Online Commerce Center) ของ กศน. และโพสขายผ่าน เพจ เฟสบุ๊กของกศน.ตำบลนาชุมเห็ด ส่วนใครสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ ครูจารุณี เส็นฤทธิ์  โทรศัพท์หมายเลข 089 649 4858

นางสาวจารุณี เส็นฤทธิ์ ครู กศน.ตำบล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตนเองได้รับทราบถึงความต้องการของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่สามารถออกไปทำงานต่างพื้นที่ได้และสนที่ที่จะหาอาชีพเสริมจึงได้ลงความเห็นกันว่า จะรวมกลุ่มกันทำจักสานภาชนะจากต้นกลุ่มกับ ซึ่งได้ได้แม่บ้านมารวมกลุ่มกัน 20 คน และได้เชิญผู้ทรงภูมิปัญญามาสอนให้จึงได้ชิ้นงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดเพราะสวยงามและมีความประณีต ราคาก็ไม่สูงมากนัก ซึ่งทำให้แม่บ้านแต่ล่ะคนมีรายได้เสริมจากการทำจักสานจากต้นคลุ้มได้เป็นอย่างดี.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน