X
กล้วยด่างเมืองตรัง, พิษโควิด,กล้วยด่าง,อาชีพเสริม,อาชีพใหม่,อาชีพเงินล้าน ซื้อขายกล้วยด่าง,

โควิด-19 ทำพิษ ผู้จัดการโรงแรมลาออกหันมาปลูกกล้วยด่างสร้างเงินล้าน

โควิด-19 ทำพิษธุรกิจท่องเที่ยวกระทบหนัก โรงแรมปิดตัว ผู้จัดการทั่วไปลาออกกลับบ้านหันมาปลูกกล้วยด่างสร้างอาชีพใหม่ สร้างรายได้หลักล้านภายใน 4 เดือน

กล้วยด่าง : วันที่ 19 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่บ้านเลขที่ 63/51 หมู่บ้านพรทวี หมู่ 2 ต.ท่าพญา อ.ปะเหลียน  จ.ตรัง  พบกับนายวรวุฒิ กังแฮ  อายุ 53 ปี อดีตผู้จัดการทั่วไปโรงแรมดังในจังหวัดกระบี่ ลาออกเพราะพิษโควิด-19 กลับมาอยู่บ้านแต่ด้วยเป็นคนรักต้นไม้ ก่อนที่จะลาออกก็ได้เพาะเลี้ยงกล้วยด่างเป็นงานอดิเรก เมื่อปลายปีที่แล้วโรงแรมมีการปิดให้บริการจึงได้ลาออก

ผนวกกับกระแสการเพาะเลี้ยงไม้ด่างเป็นกระแสนิยมที่เริ่มมาแรง มีการซื้อขายไม้ด่างในราคาสูงกว่าพันธุ์ไม้ทั่วไปตนเองจึงได้ใช้พื้นที่ข้างบ้านประมาณ 30 ตารางเมตร เป็นสวนกล้วยด่างที่มีทั้งต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ต้นอ่อนที่พึ่งแยกหน่อออกมา  นับ 100 ต้น

ซึ่งกล้วยด่างที่เพาะเลี้ยงไว้จะมีทั้งกล้วยด่างสายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์นำเข้ามาจากต่างประเทศ อาทิ สายพันธุ์แดงอินโด นำเข้ามาจากประเทศอิโดนิเซีย กล้วยด่างวาค่อม  กล้วยด่างฟลอริดา กล้วยเอนเซนเต้ นำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา

สายพันธุ์ไทยก็จะมี กล้วยธานีด่าง กล้วยเทพพนมด่าง กล้วยป่าสตูลด่าง กล้วยป่าสุราษฏร์ธานีด่าง  กล้วยป่าตรังทับทิมด่าง และอีกหลายสายพันธุ์ ส่วนราคาจะเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000 – 500,000 บาท หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาด อายุ และสายพันธุ์ของกล้วยด่าง  ที่ผ่านมาเคยขายวันเดียวได้ 10 ต้น   4 เดือนสร้างรายได้นับล้านบาท

การเพราะเลี้ยงกล้วยด่าง มีข้อจำกัดในเรื่องของหน่อกล้วยและต้นกล้ากล้วยด่างโตไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า ต้องมีการสั่งจองและวางมัดจำกันข้ามปี ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรักกล้วยด่างทั่วประเทศ ส่วนราคาที่สูงเพราะหายากขยายพันธุ์ได้ช้า และที่สำคัญกำลังเป็นกระแสนิยมอยู่ในขณะนี้ แต่ราคาที่สูงไม่มีผลต่อความต้องการของลูกค้า เพราะกล้วยด่างมีค่าทางจิตใจ มากกว่ามาคิดถึงราคา เป็นของสะสม บางคนเลี้ยงกล้วยด่างเพื่อคลายเครียด

นายวรวุฒิ กังแฮ ยังได้เผยสูตรการเลี้ยงกล้วยด่างให้โตเร็วต้นแข็งแรง  ซึ่งปัจจัยสำคัญของการเลี้ยงกล้วยด่างคือดิน เพราะดินเป็นที่รวมของสารอาหารทั้งธาตุอาหารหลักธาตุอาหารรอง ตนเองก็ได้ศึกษาค้นพบว่าดินที่ดีต้องร่วนซุย ด้วยการผสมดินด้วยเศษใบไม้ ดินดำ ดินภูเขาไฟ ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว และการเสริมด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์บ้างเล็กน้อย

ส่วนศัตรูพืชของกล้วยด่างก็จะเป็นตั๊กแตน ด้วง กำจัดด้วยการสร้างโรงเรือนปิด ควบคุมน้ำและอุณหภูมิ ลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อหรือปรึกษาวิธีการปลูกก็สามารถติดตามได้ที่ เฟสบุ๊ก กล้วยด่างเมืองตรัง หรือ Woody Sundowners  โทรศัพท์ 0918219144 ได้ทุกวัน.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน