X
เด็กพิเศษ ออทิสติก เด็กสมาธิสั้น เด็กพิการ เด็กเรียนร่วม ความสามารถพิเศษ

เด็กพิเศษ ไม่ได้ต้องการความสงสารแต่ต้องการรักและโอกาสจากสังคม

เด็กพิเศษ ไม่ได้ต้องการความสงสารแต่ต้องการรักและโอกาสจากสังคม เด็กพิเศษ เป็นเด็กที่มีความต้องการดูแลเอาใจใส่ การส่งเสริมด้านต่างๆ มากกว่าเด็กปกติ  ผู้ปกครอง ครู ต้องค้นหน้าความสามารถพิเศษ หรือความถนัดของเขาให้เจอ เพื่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

เด็กพิเศษ ไม่ได้ต้องการความสงสารแต่ต้องการรักและโอกาสจากสังคม

โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้จัดการเรียนร่วมให้กับเด็กพิเศษ มีโอกาสอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  เด็กพิเศษไม่ได้ต้องการความสงสารจากสังคม แต่เขาต้องการโอกาสและพื้นที่ให้เขาได้แสดงความสามารถที่เขามีอยู่ในตัว  ต้องการความรัก ความเข้าใจ การยอมรับจากสังคม

นางสาวอรพินท์  สินธุเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) กล่าวว่า โรงเรียนเทศบาล 6 ได้มีการจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติ ในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยมีนางสาวดิลกา  พรมมี  ครูผู้สอน การศึกษาพิเศษ จะเป็นคนดูแล จัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กพิเศษ ส่งเสริมพัฒนาขีดความสามรถของนักเรียนพิเศษ และค้นหาความสามารถพิเศษหรือความถนัดของนักเรียนแต่ละคน เพื่อส่งต่อให้เข้าห้องเรียนปกติ โดยครูดิลกา  พรมมี  ร่วมคิดร่วมวางแผนการนัดการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการตามวัยร่วมกับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง

ด้านนางสาวดิลกา  พรมมี ครูผู้สอน การศึกษาพิเศษ กล่าวว่าเด็กพิเศษไม่ใชเก็กที่มีปัญหา แต่เราต้องให้ความใส่ใจดูแลมากกว่าเด็กปกติเท่านั้นเอง เด็กพิเศษสามารถเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนปกติได้ แต่โรงเรียนต้องทำความเข้าใจกับ ครู นักเรียน ให้มีความเข้าใจในเด็กพิเศษ ที่นี้ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) นักเรียนพ้เศษจะมีความสุขกับการเรียนการใช้ชีวิต เพราะทางโรงเรียนจะมอบหมาให้เด็กปกติช่วยเหลือดูแลเด็กพิเศษแบบ พี่ดูแลน้อง เด็กปกติจะเป็นบัดดี้ในการดูแลกันและกัน

ก่อนที่เด็กพิเศษเข้าห้องเรียนร่วมนั้น ครูดิลกา  พรมมี จะพัฒนาเด็กพิเศษด้วยการสอน ด้วยศิลปะ การระบายสี การปั่นดินน้ำมัน การวาดภาพ เพราะช่วยให้เด็กพิเศษมองเป็นแยกแยะได้ และรู้จักใช้พื้นที่ให้เกิดความสวยงามด้วยเส้น สี มีความสุขกับการใช้ สี พู่กัน กระดาษ และอุปกรณ์ในการสร้างงานศิลปะ เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสสร้างงานที่เป็นสไตล์ตัวเอง การเรียนรู้ฝึกฝนด้วยศิลปะ ทำให้เด็กมีความกล้า ศิลปะทำให้มีสมาธิทำงานที่นาน ใช้เวลามุ่งมั่นกับงานนั้น

สอนดนตรี แต่ก็ต้องเลือกเครื่องดนตรี เหมาะกับแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีไทยหรือสากล เช่น กีตาร์ ระนาด ซอ และเครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสน่ห์ในตัวเอง เด็กพิเศษที่มีปัญหาทางสมองจึงมีโอกาสเลือกได้มากว่าจะเล่นอะไร เพราะเสียงของเครื่องดนตรีบางประเภท และสามารถทำให้เขาฟัง และทำกิจกรรมนานๆ การร้องเพลงการที่เขาได้เปล่งเสียงตามจังหวะทำนอง เพลงจะทำให้เขาเกิดสมาธิ ความตั้งใจ เกิดการคิดตามว่าประโยคต่อไปว่าอย่างไร

นายธนาธิป คล้ายเถาว์ ครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพ กล่าวอย่างปลื้มใจว่า ตนเองได้สอนเด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติ โดยนักเรียนชื่อ นายชมภพ  ศรีชัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ว่าเขามีความสามรถในการจับจีบผ้าปูโต๊ะ  การทำอาหาร การจัดตกแต่งอาหาร ได้ดีมาก และมีความตั้งใจเป็นอย่างสูง ซึ่งการสอนวิชาการวานอาชีพ เป็นพื้นฐานในการนำไปประกอบอาชีพต่อไป และอีกอย่างหนึ่งคือทางครอบครัวให้ความสนใจและให้โอกาสนายชมภพ ช่วยเหลืองานที่บ้านโดยมอบหมายให้ทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และนายชมภพก็ทำได้ดีเช่นกัน

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวของนักเรียนพิเศษเรียนร่วมนักเรียนปกติในสาขาศิลป์อาหาร กับวิชาศิลปะการจัดการอาหาร ในหน่วยการเรียนรู้ องค์ประกอบศิลปะเกี่ยวกับการจัดตกแต่งอาหาร เรื่อง เอกภาพ การจับจีบผ้าปูโต๊ะ โรงเรียนเทศบาล6 (วัดตันตยาภิรม) ในความรู้สึกการเป็นครูของผมที่สอนนักเรียนพิเศษนี้ผมไม่มีประสบการณ์เลยครับจึงทำให้ผมเครียด เลยต้องหาวิธีสอนให้นักเรียนเล่านี้ได้ มีอาชีพติดตัวเวลาจบออกไป จึงได้สอนแบบบูรณาการณ์ทฤษฏีพร้อมทำจริง ผลที่ได้ในวันนี้เขาทำได้และทำได้ดีด้วย นายธนาธิป คล้ายเถาว์ กล่าว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน