X

ตรังพบฝูงค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ เขาควนเหมียงหรือถ้ำแรด กว่า 400 ตัว

ค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ เขาควนเหมียงหรือถ้ำแรด พบกว่า 400 ตัว ชาวบ้านในเขา ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง นำชมแหล่งอาศัยของค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ ซึ่งเป็นค้าวคาวที่ใกล้สูญพันธุ์ ชาวบ้านเชื่อเป็นแหล่งใหญ่และแหล่งสุดท้ายที่พบในประเทศ

ค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ วันนี้(18 พ.ย.62) ที่เขาควนเหมียงหรือถ้ำแรด บ้านในเขา หมู่ที่ 1 ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง  สุดตื่นตาตื่นใจเมื่อพบว่าฝูงค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ค้างคาวที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย มีประชากรเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลามาสำรวจเมื่อปี 2545 มีอยู่ประมาณ 150 ตัว

แต่เมื่อนักวิชาการกลับมาสำรวจใหม่ในปี 2562 พบว่าค้างคาวหน้ายักษ์เพิ่มมากขึ้นอีก 1 เท่าตัวหรือไม่ต่ำกว่า 400 ตัว ซึ่งค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ พบเพียง 3 ประเทศคือเวียดนาม ไทย และญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังจะสูญพันธุ์เพราะถูกรบกวนจากฝีมือของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่กินแมลงเป็นอาหาร ช่วยรักษาระบบนิเวศน์ของป่าธรรมชาติไม่ให้มีแมลง เช่น แมงปีก แมงเม่าและแมลงซึ่งเป็นศัตรูของพืชไร่มากเกินไป ซึ่งปัจจุบันถูกประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นที่เรียบร้อย

จากการสำรวจถ้ำบริเวณโดยรอบของเขาควนเหมียง ยังพบมูลของค้าวคาวหน้ายักษ์อีก 3-4 ถ้ำ ชาวบ้านจึงเชื่อว่าในหมู่บ้านของตนมีค้าวคาวหายากสายพันธุ์นี้อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งใหญ่แหล่งสุดท้ายที่พบในประเทศไทย จึงช่วยกันอนุรักษ์ไว้เรื่อยมาจนพบว่ามีค้าวคาวหน้ายักษ์เพิ่มขึ้น

โดยจะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานต่อไปในอนาคต ส่วนนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าไปเที่ยวชมค้างคาวหายากชนิดนี้ได้ที่ถ้ำแรด ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หรือติดต่อผ่านทางนายสมคิด นาเลื่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ปากแจ่ม หมายเลขโทรศัพท์ 084-4475664

ทั้งนี้ นายสมคิด นาเลื่อน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ปากแจ่ม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง กล่าวว่า ที่ถ้ำแรดพบค้าวคาว 3-4 ชนิดแต่ที่มีมากที่สุดและเด่นที่สุดจากการสำรวจของนักวิชาการเมื่อปี 2545 คือค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ พบประมาณ 150 ตัวในปี 2545 แต่เมื่อนักวิชาการกลับมาสำรวจใหม่ในปีนี้ พบมากกว่า 300-400 ตัว

ตนเชื่อว่าจากการที่ตนเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเคยเดินสำรวจภายในถ้ำต่างๆ บริเวณใกล้เคียง พบมูลค้างคาวกินแมลงชนิดเดียวกันอีก 3-4 ถ้ำจึงเชื่อว่ามีค้างคาวหน้ายักษ์อีกเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่าเป็นแหล่งสุดท้ายของไทย ซึ่งชาวบ้านทุกคนช่วยกันอนุรักษ์มาตั้งแต่ต้น เพื่อให้ลูกหลานได้ดู ส่วนใครสนใจสามารถติดต่อตนได้ทุกวัน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน