X
ต้นไม้ในเมือง

“ต้นไม้” สินทรัพย์กลางเมือง

ผู้บริหารหน่วยงานยังมีวิสัยทัศน์กับต้นไม้ในเมืองว่าเป็นสิ่งกีดขวาง ทุกอย่างจึงมาก่อน ต้นไม้จึงเป็นตัวสุดท้าย หรือ The last priority เมื่อทุกอย่างต้องมาก่อนต้นไม้เป็นเรื่องทีหลัง การปฏิบัติกับต้นไม้จึงเป็นวิธีการที่ผิดๆ ทั้งที่ต้นไม้ในเมืองมันมีคุณค่า และสามารถสร้างรายได้ 

จากการตัดต้นไม้ริมถนนเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในกทม ล่าสุดการตัดต้นไม้ข้างถนนที่อ.สบปราบ ลำปาง เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคมที่เห็นคุณค่าต้นไม้เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ คุณช่อผกา วิริยานนท์ จากเครือข่ายต้นไม้ในเมือง มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล #ต้นไม้ในเมือง #เมืองสีเขียว

โพสต์โดย 77ข่าวเด็ด เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2018

คุยกับคุณช่อผกา วิริยานนท์ จากเครือข่ายต้นไม้ในเมือง หลังจากที่ร่วมรณรงค์ ดูแลต้นไม้ในเมืองอย่างถูกวิธีร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนที่รักต้นไม้ ทั้งกลุ่มบิ๊กทรี กลุ่มจตุจักรโมเดล ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ม.เกษตรศาสตร์ เพจกรุงเทพเดินสบาย ที่เรียกร้องให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม.รับผิดชอบต่อการตัดต้นนนทรี14 ต้นหน้า ม.เกษตรศาสตร์ โดยผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จนกลายเป็นโมเดลให้คนเมืองเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ในเมืองมากขึ้น และรัฐเริ่มมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการจัดการกับต้นไม้ในเมืองมากขึ้น

คุณช่อผกา สะท้อนปัญหาที่เข้ามาร่วมรณรงค์ดูแลต้นไม้ในเขตเมืองช่วง2 ปีที่ผ่านมาว่าปัญหาใหญ่คือความเข้าใจทั้งประชาชนทั่วไปและผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่ยังมองว่าที่ดำเนินการมาในการตัดต้นไม้ทั้งในเขตทางหลวง และในเมืองที่ผิดวิธีเป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งที่เป็นวิธีการที่ผิดมาตลอด ต้นไม้ในเขตเมืองที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานภาครัฐอย่างน้อย7 หน่วยงาน จากการพูดคุยกับผู้บริหารหน่วยงานยังมีวิสัยทัศน์กับต้นไม้ในเมืองว่าต้นไม้เป็นสิ่งกีดขวาง ทุกอย่างจึงมาก่อน ต้นไม้จึงเป็นตัวสุดท้าย หรือ The last priority เมื่อทุกอย่างต้องมาก่อนต้นไม้เป็นเรื่องทีหลังสายไฟจึงมาก่อนและมีความสำคัญกว่าต้นไม้จึงทำให้การปฏิบัติจึงเป็นอย่างที่เห็น ทั้งที่วิทยาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้สายไฟกับต้นไม้อยู่กันได้อย่างกลมกลืนแต่เราขาดการวางแผนที่ดีจึงทำได้แค่ตัด

ถ้าผู้บริหารทั้งหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐยังคิดว่าต้นไม้ในเมืองเป็นสิ่งกีดขวาง วิธีปฏิบัติก็จะเป็นเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ที่ต้นไม้ต้องมาทีหลัง แต่ถ้ามองว่าต้นไม้ในเมืองเป็นสินทรัพย์มันไม่ใช่สิ่งกีดขวางแล้วทำให้มันงอกเงยขึ้นมามันสามารถสร้างรายได้ ดูอย่างญี่ปุ่นที่เขาจัดการกับซากุระมาเป็นพันปี ณ วันนี้ญี่ปุ่นสามารถทำเงินเข้าประเทศได้เท่าไหร่ ต้นไม้มันไม่ใช่ภาระมันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มันไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่มันมีรายได้กลับมา มันไม่ใช่สิ่งกีดขวาง และหน่วยงานที่อยากจะพูดคุยมากที่สุดคือกรมทางหลวงที่มีต้นไม้ตามขอบทางทั่วประเทศกว่า 30 ล้านต้นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันที่ถูกต้อง

ความพยายามสร้างความเข้าใจทั้งการตัดแต่งต้นไม้ให้ถูกต้องถูกวิธี เป็นกิจกรรมที่เครือข่ายคนรักต้นไม้ที่เป็นจิตอาสาหลายๆกลุ่มผลักดันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความพยายามให้การผลักดันให้การจัดการปัญหาต้นไม้ในเมืองเข้าไปในระดับรัฐบาลและมีความคืบหน้าในหลายประเด็นในทางบวกทั้งการให้มีการตั้งหน่วย”รุกขกรรม”ในกรมป่าไม้ ที่เป็นหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ในเมืองที่จะมีรุกขกรให้คำปรึกษา แต่การใช้บริการจากหน่วยงานนี้โดยส่วนราชการหรือองค์กรต่างๆที่ต้องดูแลต้นไม้ยังใช้บริการไม่เต็มที่

คุณช่อผกา บอกว่าเพื่อกระตุ้นให้คนให้คนใส่ใจดูแลต้นไม้ในเมืองมากขึ้น ขณะนี้ได้เปิดรับ”สายตรวจต้นไม้” โดยสมัครเข้าเครือข่ายผ่านเพจ”ต้นไม้ในเมือง”เพื่อให้แต่ละคนเป็นอาสาสมัครช่วยถ่ายภาพ หรือร้องเรียนกับเรื่องการปฏิบัติกับต้นไม้ในเมืองแบบผิดวิธีทั่วประเทศ.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นิกร จันพรม

นิกร จันพรม

ทำงานข่าวต่อเนื่องหลากหลายทั้งสายข่าวอาชญากรรม สาธารณสุข การเมือง ภูมิภาค กว่า20ปี ผ่านสื่อยุคเก่าทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สำนักข่าว ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่สื่อออนไลน์