X

งัดพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าเบรค”รถมินิบิ๊กซี”

พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ2542 ,พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 จะแก้ปัญหา”ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”ได้หรือไม่ หากปล่อยให้”บิ๊กซี” ดำเนินการใช้รถมินิบิ๊กซีออกให้บริการลูกค้าเพื่อการทดลองและศึกษาผลกระทบ แต่หากเมื่อดำเนินการจริงทั่วประเทศแล้วจะแก้ปัญหาได้หรือไม่

Fb Live28มี.ค.61 รถมินิบิ๊กซี ที่บิ๊กซีออกแถลงการณ์ว่าเป็นเพียงรถค้นแบบระหว่างทดลอง แต่ในมุมกฎหมาย การทำการค้าลักษณะนี้ทำได้หรือไม่”ศรีสุวรรณ จรรยา”ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล #บิ๊กซี #รถมินิบิ๊กซี #รถพุ่มพวง

โพสต์โดย 77ข่าวเด็ด เมื่อ วันพุธที่ 28 มีนาคม 2018

หลังฝ่ายสื่อสารองค์กรกลุ่มบิ๊กซี  ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีรถมินิบิ๊กซี ที่ออกให้บริการและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นเพียงรถต้นแบบที่บริษัทสร้างขึ้นมาเพียงคันเดียวโดยได้นำมาทดลองวิ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งบริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาตลาด  ต้นทุนและผลกระทบในด้านต่างๆเท่านั้น แต่”ศรีสุวรรณ จรรยา” เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยยังเดินหน้าร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบกรมการค้าภายใน และรมว.กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเสนอแนะคณะรัฐมนตรีให้ขจัดหรือระงับความไม่เป็นธรรม และให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

ศรีวสุวรรณ จรรยา ระบุว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลักๆมี 2 ฉบับ คือพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ2542 พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 ซึ่งทั้ง2 พ.ร.บ.มีคณะกรรมการกำกับดูแล แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีบทบาทมากนักซึ่งโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายก็เพื่อป้องกันการผูกขาด หรือกระทำลักษณะ”ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ซึ่งแม้ว่าบิ๊กซีจะอ้างว่ามีเพียงรถคันเดียวที่ออกบริการเพื่อทดลองตลาดและศึกษาผลกระทบ แต่เรื่องนี้จะนิ่งนอนใจไม่ได้เพราะธุรกิจขนาดนี้หากมีการดำเนินการและมีการนำรถมาให้บริการจำนวนมาก มีการลงทุนเป็นพันล้านบาทแล้วจะแก้ปัญหายาก

ศรีสุวรรณ บอกว่าตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า มาตรา50 ระบุชัดว่ามีการห้ามธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาดกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ค้า ซึ่งชัดเจนว่าธุรกิจรายใหญ่อย่างบิ๊กซี มีอำนาจเหนือการตลาดและเมื่อกระทำแบบนี้ย่อมกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยหรือร้านค้าโชว์ห่วย ที่คนกลุ่มนี้ไม่สามารถกำหนดราคาหรือต่อรองอะไรได้อยู่แล้ว

แม้ธุรกิจค้าปลีกในลักษณะรถเร่ของผู้ค้ารายใหญ่จะสร้างความสะดวกสบายกับผู้บริโภค แต่ศรีสุวรรณ มองว่าในอนาคตเมื่อผู้ค้ารายย่อยในชุมชนหมดไปอำนาจเบ็ดเสร็จก็จะตกกับผู้ค้ารายใหญ่ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นผู้บริโภคเองก็ไม่มีอำนาจต่อรองอะไรได้ทั้งสิ้น ซึ่งในอนาคตข้างหน้าหากปล่อยให้มีการดำเนินการโดยไม่ทำอะไรเลยแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วจะแก้ปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ความลำบากก็จะตกกับผู้บริโภคที่ไม่มีทางเลือก.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นิกร จันพรม

นิกร จันพรม

ทำงานข่าวต่อเนื่องหลากหลายทั้งสายข่าวอาชญากรรม สาธารณสุข การเมือง ภูมิภาค กว่า20ปี ผ่านสื่อยุคเก่าทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สำนักข่าว ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่สื่อออนไลน์