X

ชาวเมืองพลยังกดดันให้แก้ไข”รูลอดหักศอก”รถไฟทางคู่

คุยกับคุณวิชิตชนม์ ทองชน เครือข่ายชุมพลเมืองพล ที่เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่เรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไข จุดข้ามทางรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ นครราขสีมา-ขอนแก่น ที่มีปัญหาช่วงผ่านตัวเมืองพล จ.ขอนแก่น โดยผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นทางลอดเล็กๆบนถนนสายเมืองพล-แวงใหญ่ ที่ชาวบ้านที่นั่นเรียก”รูลอด”ที่จะกระทบกับการเดินทาง และวิถีชีวิตชาวชุมชนที่เหมือนกับถูกแบ่งตัวเมืองเป็นสองซีก ฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกจากเงื่อนไขการเดินทางที่ลำบากขึ้น

คนเมืองพล ไม่เอารูลอดรถไฟทางคู่FB LIVE 8 มิ.ย.2561 วันนี้คุยกับ "วิชิตชนม์ ทองชน" เครือข่ายชุมชนเมืองพล ที่คัดค้านการสร้างทางลอด ทางรถไฟทางคู่ช่วงผ่านตัวเมืองพล จ.ขอนแก่น บริเวณถนนสายเมืองพล-แวงใหญ่ ที่ชาวชุมชนบอกว่าทั้งแคบ เตี้ย แถมยังเป็นโค้งหักศอก สุดอันตราย…17.40 น.ร่วมติดตามและแสดงความคิดเห็นครับ #77ข่าวเด็ด #รถไฟทางคู๋ #เมืองพล

โพสต์โดย 77ข่าวเด็ด เมื่อ วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2018

โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ นครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง187 ก.ม.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เซ็นสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้าซีเคซีเอช ที่มี บจม.ช.การช่าง เป็นแกนหลักด้วยงบประมาณ 23,430 ล้านบาทโโยตามสัญญาพร้อมจะเปิดให้บริการตลอดสายภายในเดือน ก.พ.2562 ซึ่งตามสัญญานอกจากการก่อสร้างระบบราง สถานี แล้ว งานโยธาอื่นๆเช่น ระบบระบายน้ำ สะพานลอยคนเดินข้าม ถนนยกระดับ(overpass) ถนนยกระดับรูปตัวยู เพื่อแก้ปัญหาระหว่างถนนกับทางเป็นความรับผิดชอบของโครงการรถไฟทางคู่

ช่องลอดถนนสายหลักของเมืองพลที่ชาวชุมชนเรียกร้องให้ปรับปรุงแก้ไข เป็นหนึ่งในจุดตัดของโครงการ แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เคยรับรู้รายละเอียดในการก่อสร้าง แลเะเพิ่งจะเห็นแบบแปลนโครงการเมือ่กลางเดือนพ.ค.2561 หลังจากที่มีการเริ่มก่อสร้างทางลอดไปบางส่วนแล้ว

ชาวชุมชนยังคงเดินหน้าเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อไป เพราะหลังจากนี้เมื่อระบบรถไฟทางคู่เปิดใช้อย่างเป็นทางการต้นปี2562 การแก้ปัญหาจะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นิกร จันพรม

นิกร จันพรม

ทำงานข่าวต่อเนื่องหลากหลายทั้งสายข่าวอาชญากรรม สาธารณสุข การเมือง ภูมิภาค กว่า20ปี ผ่านสื่อยุคเก่าทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สำนักข่าว ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่สื่อออนไลน์