X

เปิดประวัติโรงหนังนิวเฉลิมอุทัย ย้อนเวลาไปยุคจอมพล ป.

ย้อนรำลึกโรงภาพยนตร์นิวเฉลิมอุทัยเก่าแก่ 80 กว่าปีเริ่มก่อตั้งในสมัยจอมพล ป.เหล่าบรรดาศิลปินวาดภาพฝาผนังรูปดาราดังในอดีตหน้าทางเข้าเพื่อให้คนรุ่นหลังรู้ถึงความเป็นมาและเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

ที่บริเวณโรงภาพยนตร์นิวเฉลิมอุทัย หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานีในตอนนี้บรรดาอาจารย์และลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยสถาบันมหาวิทยาลัยรังสิตได้วาดรูดาราดังในอดีตทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่นและที่ล่วงลับไปแล้ว ฉัตรชัย เปล่งพานิช จินตหรา สุขพัฒน์ อัศวิน ขัวญประชา อภัสรา หงศ์สกุลและอีกหลากหลายนางเอกและพระเอกหนังไทยที่มีชื่อเสียงในอดีต ซึ่งทางอาจารย์นลินี ทองแท้ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดเผยว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีและเทศบาลเมืองอุทัยธานีและทางโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุทัยธานีได้มีโครงการให้บรรดาศิลปินมาวาดภาพขึ้นตามสถานที่สำคัญในอดีตขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นโรงภาพยนตร์นิวเฉลิมอุทัยแห่งนี้ในสมัยก่อนนั้นเคยมีอดีตที่เจริญรุ่งเรืองในยุคแผ่นฟิล์มหนังโรงภาพยนต์แห่งนี้นั้นฉายหนังมาไม่รู้กี่เรื่องผ่านสายตาชาวจังหวัดอุทัยธานีซึ่งสมัยนั้นความบันเทิงมีแค่โรงภาพยนต์เท่านั้นซึ่งสถานที่แห่งนี้นับว่าเป็นสถานที่สำคัญอีกที่หนึ่ง ที่ยังไม่ถูกรื้อถอนทิ้งถึงแม้ในตอนนี้จะไม่ได้ทำการฉายภาพยนต์มนานมากแล้ว จนกลายเป็นโรงภาพยนต์ร้างไปแล้ว แต่ในอดีตถือว่าเป็นแหล่งรวมของผู้คนที่มาดูหนังและพูดคุยกันและยังเป็นโรงภาพยนต์โรงแรกของจังหวัดอุทัยธานีเลยก็ว่าได้ จึงได้มีโครงการวาดภาพเหล่าบรรดาดาราไทยนั่นเอง ซึ่งทางจังหวัดอุทัยธานีนั้นได้สร้างเป็นจุดถ่ายรูปดึงดูดการท่องเที่ยวนั่นเอง

ผู้สื่อข่าวได้ไปยังโรงภาพยนตร์นิวเฉลิมอุทัยเพื่อสำรวจพบว่าโรงภาพยนต์ที่ชาวอุทัยธานีกันติดปากว่าวิกนิวส์ซึ่งเป็นตึกสองชั้นโดยได้ไปพบค้นประวัติพบว่าโรงหนังนิวส์เฉลิมอุทัยสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2486 โดยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในยุคนี้มีการสร้างโรงหนังไว้หลายแห่งในประเทศไทย โรงที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคเดียวกันก็คือศาลาเฉลิมไทย ที่เคยโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนราชดำเนินในกรุงเทพฯนั่นเอง ส่วนตัวโรงภาพยนตร์นั้นเป็นตึกทรงโบราณสองชั้นสร้างในพื้นที่ของกรมศาสนาในสมัยก่อนที่ได้ขออนุญาติให้ที่ดินเพื่อสร้างและตอนนี้ร้างไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีร่องรอยในอดีตอยู่บ้างเช่น เช่นเคาเตอร์ขายตั๋วและที่ปิดโปสเตอร์ภาพยนต์ว่าฉายเรื่องอะไรส่วนด้านในนั้นไม่มีเก้าอี้นั่งแล้วเหลือแต่จอที่ขึงไว้แต่ก็เก่าแล้วก็ขาดหลุดลงมาแล้ว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรังของนกที่เข้าไปอาศัยอยู่ก็ว่าได้ แต่ตัวตึกของโรงภาพยนต์นั้นยังคงมีมนต์ขลังในอดีตอยู่มากหากย้อนไปเป็นยุคที่รุ่งเรืองของความบันเทิงบนแผ่นฟิล์ม

นางสาวนางสาวณิชชาภา อุณหอุทัย อายุ 64 ปี ซึ่งได้เปิดเผยว่าได้ทันดูหนังในโรงนี้แถมผู้เป็นเตี่ยหรือพ่อเคยมาประมูลกิจการที่โรงภาพพยนต์แห่งนี้อีกด้วยได้เล่าให้ฟังว่าในสมัยที่เป็นสาวในตอนนั้นอายุประมาณ 20 รู้สึกตื่นเต้นมากเวลาเข้าไปดูภาพยนต์ในโรงในรอบมิดไนท์หรือรอบดึกคนเยอะขาดต้องมาเรียงแถวซื้อตั๋วเพื่อชิงที่นั่งเข้าไปดูกันเลยเรียกได้ว่าคนนั้นเยอะมากในสมัยที่ขายข้าวต้มอยู่ในตลาดเมื่อประมาน 40 กว่าปีมาแล้ว และรู้สึกดีใจมากที่มีบรรดากลุ่มศิลปินเหล่านี้มาวาดรูปย้อนรำลึกอดีตดาราไทยหนังเก่าที่ผนังตึกทางเข้าก็เพราะเหมือนว่าได้ดูรูปดาราไทยที่ชื่นชอบซึ่งมีสีสีสันขึ้นมาอีกด้วยซึ่งเด็กรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันก็จะได้มาศึกษากันซึ่งเรียกได้ว่าดูหนังในโรงนี้เยอะมากจนจำไม่ได้ แต่จะจำตัวพระเอกนางเอกได้ เช่น มิตร ชัยบรรชา เพชรา และอีกหลายคนซึ่งราคาตั๋วหนังนั้นในสมัยก่อนั้นเด็ก 3 บาท ผู้ใหญ่ 5 บาท ซึ่งโรงหนังแห่งนี้ถือว่าเป็นโรงแรกในจังหวัดอุทัยธานีที่ยังคงมีตึกให้ดูอยู่ยังไงไม่รื้อหรือทุบทิ้งส่วนอีกโรงหนึ่งก็คือศรีอุทัยนั้นได้รื้อกลายเป็นอาคารหรือตึกไปแล้ว

นางสาวณิชชาภา นั้นได้บอกให้ผู้สื่อข่าวนั้นตามไปที่บ้านที่อยู่เยื้องกับโรงภาพยนต์แห่งนี้เพื่อที่จะให้ชมรูปเก่าทีมีคุณค่ามากตั้งแต่เป็นรูปขาวดำซึ่งในรูปนั้นเป็นบาร์เบียร์ในสมัยก่อนซึ่งนายเป็งหยวย แซ่อุน เตี่ยของ นางสาวณิชชาภา นั้นเคยประมูลโรงภาพยนตร์แห่งนี้มาทำกิจการอยู่พักหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.0502-2504 ซึ่งก็ได้ทำการตั้งชื่อโรงภาพยนต์แห่งนี้ในยุคนั้นว่า สหภาพยนต์บาร์และชื่อบาร์ที่ตั้งอยู่ในโรงภาพยนตร์นั้นชื่อว่าชาติอาชาไนย ซึ่งในรูปนั้นมีรูปเตี่ยหรือนายเป็งหยวยยืนขายของอยู่แถมป้ายน้ำอัดลมยี่ห้อ เซเว่นอัปที่ติดอยู่หน้าบาร์ก็นำมาติดไว้ที่บ้านในตอนนี้ด้วย

ผู้สื่อข่าวได้ไปพูดคุยกับพี่ชายของนางสาวณิชชาภาก็คือนายสุเทพ  อุณหอุทัยหรือเฮียเก้าได้เล่าให้ฟังว่า โรงหนังดังกล่าวนี้เริ่มแรกในยุคของจอบพล ป.พิบูลย์สงครามเป็นนายกรัฐมนตรีและมาเยี่ยมจังหวัดอุทัยธานีแล้วบอกว่าในจังหวัดอุทัยธานีนั้นน่าจะมีโรงหนังสักโรงหนึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีในสมัยนั้นเลยหาสถานที่อยู่ตรงชุมชนตลาดก็เลยมาสร้างโรงภาพยนต์แห่งแรกของจังหวัดอุทัยธานีซึ่งนายสุเทพนั้นเคยเป็นคนขายตั๋วหนังอีกด้วยซึ่งเจ้าของคือนายชิดพงษ์ เลาหวิโรจน์ รับราชการเป็นปลัดอำเภอไม่ค่อยว่ามาขายตั๋วหนังจึงได้ชักชวนนายสุเทพ  จากนั้นก็ได้เข้าไปขายตั๋วในโรงหนังนั่นเอง  ซึ่งตอนที่ขายอยู่นั้นราคาเด็ก 2 บาท ผู้ใหญ่ 4 บาทซึ่งในยุคนั้นคนมาดูหนังกันเยอะหากหนังดังๆ เข้าก็จะฉายเรื่องเดียวกันติดกันถึง 3 คืนซึ่งในตอนนั้นไม่มีวีดีโอไม่มีซีดีเหมือนสมัยนี้ ซึ่งมีโรงหนังคู่กันอีกที่หนึ่งก็คือโรงหนังศรีอุทัยตรงข้ามกับโรงแรมพิบูลย์สุขแต่ก็ปิดไปนานแล้ว

ขณะเดียวกันทางจังหวัดอุทัยธานีนั้นจะเปิดให้เข้าชมและเข้าไปไปถ่ายรูปกันอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดถ่ายรูปและเช็คอินที่บรรดานักท่องเที่ยวและชาวจังหวัดอุทัยธานีเองนั้นเข้ามาชมกันเยอะอย่างแน่นอนซึ่งเป็นกระแสหนึ่งที่ปลุกความเป็นมาในอดีตให้คนรุ่นหลังให้มาดูกันเพื่อให้รู้ถึงประวิติศาสตร์ความเป็นมาอีกด้านหนึ่งของชาวอุทัยธานีเอง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นันทศักดิ์ วัฒนพานิช

นันทศักดิ์ วัฒนพานิช

ผู้สื่อข่าว 77 ข่าวเด็ด ประจำ จ.อุทัยธานี