X

ประเพณีบุญบั้งไฟ แข่งขันเรือยาวคึกคักนักท่องเที่ยวแห่ชมกว่าหมึ่น

ประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดอุทัยธานี และการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ    สยามบรมราชกุมารีประจำปี 2565 มีประชาชนและนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศร่วมเข้าชมงานกันอย่างคักคักหลายหมื่นคน

บริเวณอ่างเก็บน้ำทับเสลา ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานเปิดงาน แข่งขันเรือยาวจังหวัดอุทัยธานี ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดอุทัยธานี ประจำปี 2566  ที่จะมีการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2566  ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำทับเสลา ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งถือเป็นประเพณีโบราณที่ชาวไทยเชื้อสายอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในหลายอำเภอของจังหวัดอุทัยธานี ได้ร่วมกันอนุรักษ์สืบสานกันมายาวนานถึง 16 ปี โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี ได้ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานดังกล่าวขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ 2550 เป็นต้นมา       นายเผด็จ นุ้ยปรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน การจัดงานการแข่งขันเรือยาว จังหวัดอุทัยธานี ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ    สยามบรมราชกุมารี และงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดอุทัยธานี  ประจำปี 2566  ณ สถานที่แห่งนี้ เป็นประเพณีที่เคยจัดอย่างต่อเนื่องมาจนกระทั้งปี 2558 แต่ได้เว้นว่างการจัดกิจกรรมอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติของทางราชการเกี่ยวกับการจุดและปล่อยบั้งไฟ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ อย่างไรก็ดีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่งดงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และในขณะนี้สถานการณ์ของโรคโควิด 19 ของจังหวัดอุทัยธานี ดีขึ้นตามลำดับ จังหวัดอุทัยธานีร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้ร่วมกันการจัดงานการแข่งขันเรือยาว จังหวัดอุทัยธานี ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ    สยามบรมราชกุมารี และงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดอุทัยธานี  ประจำปี  ขึ้นใหม่อีก ครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ชุมชนรุ่นหลังให้เกิดความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ดีงาม และส่งเสริมให้ประชาชน    ในท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในระหว่างชุมชนและครอบครัว และเป็นการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป รักษาและหวงแหนประเพณีอันดีงามรวมถึงเพื่อส่งเสริมประเพณีพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ถ่ายทอดและอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุทัยธานี โดยกิจกรรมในงานหลากหลายเช่นการประกวดริ้วขบวนบั้งไฟ การแข่งขันจุดบั้งไฟ กิจกรรมการแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ    สยามบรมราชกุมารี ประเภทเรือยาว 55 ฝีพาย  40 ฝีพายและเรือยาว 30 ฝีพาย กิจกรรมประกวดผาแดงนางไอ่และกิจกรรมแข่งขันมอเตอร์ไซด์วิบากต้านยาเสพติด ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทับเสลา และส่วนราชการอื่นรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุทัยธานี

สำหรับ ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ จุดประสงค์หลักใหญ่ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้มีน้ำในการทำนาและดำรงชีพ ทำให้พืชพันธุ์ ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ชาวอีสานก็จะได้มีกินดีอยู่ดีและมีรายได้จากความอุดมสมบูรณ์นั้น นอกจากนี้ยังคงมีความเชื่อดังนี้ เพื่อการบูชาพระยาแถน เทพเจ้าแห่งฝนให้ท่านบันดาลให้ฝนตกลงมา  เพื่อบูชาอารักษ์มเหศักดิ์หลักเมือง เพื่อขอฝนเช่นเดียวกันและยังขอให้ท่านอำนวยความสมบูรณ์พูนสุขให้กับท้องถิ่นนั้นๆด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากก่อนจุดบั้งไฟก็จะนำบั้งไฟไปคารวะเจ้าพ่อหลักเมืองเสียก่อน เพื่อสักการะแก่พระพุทธศาสนา โดยเชื่อว่าเพื่อเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรืออีกนัยหนึ่งเดือนหกเป็นเดือนที่ตรงกับเดือนที่เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน และเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า (ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ) เมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างพากันจัดสักการะบูชาถวายความเคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยพร้อมเพรียงกัน ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟก็เหมือนกับการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า เพื่อเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ ธัญญาหาร ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ปีนั้นฝนฟ้า พืชพันธุ์ ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ถ้าบั้งไฟไม่ขึ้นหรือแตกเสียก่อน ปีนั้นก็จะขาดแคลนน้ำ เป็นต้นเพื่อประสานความสามัคคีระหว่างกันของคนในชุมชน งานบุญบังไฟเป็นการรวบรวมผู้คนให้มาชุมนุมกันและร่วมมือกันทำกิจกรรม เพื่อประสานความสามัคคีและร่วมสนุกสนานรื่นเริงกันก่อนที่ลงมือทำนา

 

 

 

 

 

 

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นันทศักดิ์ วัฒนพานิช

นันทศักดิ์ วัฒนพานิช

ผู้สื่อข่าว 77 ข่าวเด็ด ประจำ จ.อุทัยธานี