X

ตรัง เข้มตรวจสถานบันเทิง เฝ้าระวังมาตรฐานความปลอดภัย หวั่นซ้ำรอยเมาท์เทน บีผับ

ตรัง เข้มตรวจสถานบันเทิง เฝ้าระวังมาตรฐานความปลอดภัย หวั่นซ้ำรอยเมาท์เท่น บีผับ เน้น 9 มาตรฐานความปลอดภัยของตัวอาคาร วัสดุลามไฟ ช่องทางหนีไฟ สัญญานเตือนภัย และถ้งดับเพลิง ตามกำหนด

วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เวลา 20.00 น. นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง สั่งการให้ ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครอง ร่วมกับ จนท.ของ สนง.โยธาธิการจังหวัดตรัง จนท.สาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง จนท.ตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดตรัง และ จนท.ตำรวจสภ.เมืองตรัง รวมกว่า 30 คน ร่วมกัรออกตรวจสถานบริการในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง เพื่อกำชับให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานบริการซึ่งเป็นสถานที่ปิด และ ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องปรามการกระทำผิดกฎหมาย ในพื้นที่จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
ร้านคันทรีโฮม , ร้านมหานคร @ ตรัง และ ร้านคัมแบ็ค


นายณหทัย สุนทรนนท์ ป้องกันจังหวัดตรัง กล่าวว่า การออกตรวจในครั้งนี้ เน้นตรวจตามหัวข้อมาตรฐานความปลอดภัย ได้แก้
1) วัสดุตกแต่งผิวผนังและฝ้าเพดานที่ใช้ภายในสถานบริการ จะต้องเป็นวัสดุที่ติดไฟหรือลุกไหม้ได้ยาก หรือติดไฟ แต่ไม่ลามไฟ การใช้วัสดุตกแต่งอื่นที่นอกเหนือจากข้างต้น เช่น โฟม เยื่อกระดาษ ให้มีพื้นที่ในการติดตั้งได้ไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผิวผนังและพื้นที่ฝ้าเพดานนั้น 2) ต้องมีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับ เครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉิน/ทางเดิน/บันได/บันไดหนีไฟ/ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ไฟส่องสว่างสำหรับทางเดิน ห้องโถง บันได บันไดหนีไฟเป็นอิสระจากระบบไฟฟ้าปกติ และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง 3) สถานบริการต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ 4) สถานบริการต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ หรือเครื่องดับเพลิงยกหิ้ว โดยให้มี 1 เครื่องต่อพื้นที่บริการไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง โดยการติดตั้งให้ระยะห่างแต่ละเครื่องไม่เกิน 45 เมตร 5) จำนวนทางออกหรือประตูทางออกให้มีอย่างน้อย 2 ประตู 6) ทางออกหรือประตูทางออกจากสถานบริการไปสู่ทางหนีไฟหรือออกสู่ภายนอกอาคารจะต้องมีลักษณะ
– เหนือทางออกต้องมีป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์แสดงทางหนีไฟที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลาที่มีคนอยู่
– ขนาดทางออกหรือประตูทางออกต้องมีความกว้างสุทธิ
ไม่น้อยกว่า 0.80 เมตร
– ประตูทางออกต้องสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา
ที่มีคนอยู่ข้างใน และต้องเปิดออกในจังหวะเดียวในทิศทางการหนีไฟรวมทั้งเมื่อเปิดออกแล้วจะต้องไม่กีดขวางทางเดิน
หรือบันได หรือชานพักบันได
– กรณีเป็นประตูทางออก เมื่อเปิดออกสู่บันไดหนีไฟโดยตรง
จะต้องมีชานพักขนาดกว้างสุทธิด้านละไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
– ห้ามใช้ประตูเลื่อน ประตูหมุน ประตูเปิดขึ้นบน ประตูเหล็กยือ
หรือประตูบานเฟี้ยมเป็นประตูทางออก
7) ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ หรือเจ้าของอาคารที่ใช้ตั้งสถานบริการต้องจัดให้ที่ผู้ดูแลระบบความปลอดภัยและ
การป้องกันอันตรายของสถานบริการอย่างน้อยหนึ่งคน 8) ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ หรืุถอเจ้าของอาคารที่ใช้ตั้งสถานบริการที่ให้บริการซึ่งมีความจุคนตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิง และฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อย
ปีละหนึ่งครั้ง  และ 9) อาคารสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไปต้องติดป้ายแสดงความจุคนในสถานบริการในที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสถานบริการทั้ง 3 แห่งได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วน

ด้านนางสาว ชรินทร์ธร มากชู ผู้ประกอบการ กล่าวว่า ตนใช้อุทาหรณ์จากเหตุการณ์ไฟไหม้ผับดังในกทม. เมื่อ 13 ปีก่อน มาปรับการก่อสร้างร้าน ให้มีความปลอดภัยเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร มีทางหนีไฟ 5 จุด มีสัญญาณเตือนไฟไหม้ พร้อมติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ทั่วเพดานของร้าน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้มาเที่ยวหากเกิดเหตุไม่คาดคิด

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน