X

(คลิป) ตรัง นร.ทั่วประเทศ กว่า 300 ทีม ร่วมแข่งขันทักษะหุ่นยนต์-วิทยาศาสตร์อากาศยาน ชิงถ้วยพระราชทาน

ตรัง เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนทั่วประเทศจาก 28 จังหวัด 85 โรงเรียนทั่วประเทศไทยที่มาเข้าร่วมกว่า 307 ทีม ร่วมแข่งขันด้านหุ่นยนต์และวิทยาศาสตร์อากาศยานนานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทานกรมสมเด็จพระเทพฯ เสริมทักษะเยาวชนรุ่นใหม่ยุคดิจิตอล เป็นโอกาสที่เด็กได้ฝึกทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์รวมไปถึงด้านหุ่นยนต์ให้กับเด็ก ๆ เพื่อปูพื้นฐานให้กับศตวรรษที่ 21

วันที่ 25 มิถุนายน 2565 ที่โรงเรียนพรศิริกุล อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ได้ดำเนินการจัดโครงการ Pornsirikul International Robotic Competition 3rd ชิงถ้วยพระราชทาน “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2560-2565 ทางโรงเรียนได้ดำเนินการจัดการแข่งขันในทุก ๆ 2 ปี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความสามารถทางด้านหุ่นยนต์และวิทยาศาสตร์อากาศยาน ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ทางโรงเรียนจึงได้จัดแข่งขันทักษะด้านหุ่นยนต์และวิทยาศาสตร์อากาศยานชิงถ้วยพระราชทาน “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” Pornsirikul International Robotic Competition 3rd ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2565

ซึ่งมีรายการแข่งขัน ดังต่อไปนี้ รายการชิงถ้วยพระราชทาน 1.โดรนทำภารกิจ Quad Rotor Drone Racing (Theme Save Dugong Save the Earth) ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 2.หุ่นยนต์ซูโม่ (Sumo Robot) ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 3.หุ่นยนต์ทำภารกิจบนบก Tourist Robotic Game ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา รายการ Exhibition Program 1.หุ่นยนต์อัตโนมัติทำภารกิจ (Robot Gatering) 2.หุ่นยนต์อัตโนมัติเดินตามเส้น (Line Fast) 3.หุ่นยนต์ ROV Battle 4.โดรน FPV Racing Simulator โดยมีนายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานมอบถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแข่งขันทักษะด้านหุ่นยนต์และวิทยาศาสตร์อากาศยาน ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนพรศิริกุล จ.ตรัง


ด.ช.ภาณวิชญ์ ทับเที่ยง อายุ 11 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ด.ช.ปริณัฐ เลื่อนล่อง อายุ 11 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทีม PK Power Drone Team นักเรียนโรงเรียนพรศิริกุล เข้าชิงรางวัลชนะเลิศระดับประถมประเภทการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับทำภารกิจ หลังจากการแข่งขันเสร็จ น้อง ๆ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่า วันนี้ได้มาแข่งขันบินโดรน โดยกรรมการ มีกติกา ให้ลอดห่วงและลอดเสา ซึ่งตนเองฝึกมาประมาณหลายปีแล้ว แล้ววันนี้ก็เข้ารอบชิงชนะเลิศก็รู้สึกดีใจ ที่ได้ชอบบินโดรนเพราะรู้สึกสนุก และก็ได้เรียนรู้ถึงการบังคับโดรน อาจจะมีความยากอยู่บ้างแต่ตัวเองสามารถฝึกได้ ซึ่งเพื่อนอีกคนจะคอยสังเกต ดูเส้นทางให้สัญญาณกับเพื่อนที่บังคับโดรนอยู่


ทางด้านด.ช.มูมิน สมบูรณ์ อายุ 8 ปีกำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และด.ช.บริรักษ์ สุทธิการ อายุ 10 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อทีมสายมโนโรบอต เป็นตัวแทนโรงเรียนบ้านแหลมโพธิ์จังหวัดกระบี่ ร่วมการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับทำภารกิจได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 น้อง ๆ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวว่า มาแข่งกันเป็นทีมในทีมจะมี 2 คน ซึ่งพ่อเป็นคนสอนให้หัดเล่นโดรนและตัวเองก็ชอบมากด้วย ได้บังคับโดรนให้บินได้


นางสาวเชาวภรณ์ สัมพันธรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพรศิริกุล บอกว่า ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้เราจัดเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เพื่อชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เพราะเรามีความเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีความสามารถ และโรงเรียนพรศิริกุลพร้อมที่จะเป็นเวทีที่ เปิดโอกาสให้กับนักเรียนด้านหุ่นยนต์และวิทยาศาสตร์อากาศยาน เราก็เลยยังคงจัดให้มีโครงการดี ๆ แบบนี้เพื่อให้เยาวชนไม่ใช่แค่เพียงเยาวชนในจังหวัดตรัง แต่ให้เยาวชนทั่วประเทศ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ตอนนี้ยังเป็นภายในเฉพาะประเทศ ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั่วประเทศจาก 28 จังหวัด 85 โรงเรียนทั่วประเทศที่มาเข้าร่วมกว่า 307 ทีม ซึ่งรายการในการแข่งขันของเรามี 2 รายการ ซึ่งรายการที่มีรายการชิงถ้วยพระราชทานก็จะมี 3 การแข่งขันคือ การแข่งขันโดรน หุ่นยนต์ซูโม่ หุ่นยนต์บังคับมือแบบภารกิจ และก็เป็นกติกาสาธิต 4 รายการ FPV Racing Simulator ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่เราได้จัดเป็นโดรน ให้นักเรียนจากจังหวัดเชียงใหม่แข่งขันแบบออนไลน์มา การแข่งขัน ROV Battle รวมไปถึงการแข่งขันไลน์ฟาสต์ ที่เป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมและ รายการหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติทำภารกิจ (Robot Gathering) เป็นการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับทางด้านหุ่นยนต์ ในวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ ทั้งในจังหวัด และทั่วประเทศไทย ซึ่งกว่าที่จะมีวันนี้เด็ก ๆ ก็ได้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านของหุ่นยนต์ และได้มีการฝึกซ้อมซึ่งเราเชื่อว่า หากมีเวลา มีสนามและหมั่นฝึกซ้อมไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ดก็ดี ภาษาที่สำคัญในอนาคต เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสที่เราให้เด็กได้ฝึกทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์รวมไปถึงด้านหุ่นยนต์ให้กับเด็ก ๆ เพื่อปูพื้นฐานให้กับศตวรรษที่ 21 ที่จะถึงนี้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน