X

นักวิชาการเผย ตรังกัดเซาะชายหาดมากสุด พบโครงการกำแพงกันคลื่นกระทบระบบนิเวศน์โดยเฉพาะเกาะสุกร

นักวิชาการเผย ตรัง กัดเซาะชายหาดมากสุด พบโครงการกำแพงกั้นคลื่นกระทบระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะเกาะสุกร เวทีรับฟังความคิดเห็นที่หาดปางเมง อสิเกา จตรัง ของเครือข่ายชายหาด 5 จังหวัดอันดามัน ผู้ได้รับผลกระทบจากแนวทางแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่ง เสนอ ส.ส.ท.ต้องเป็นองค์กรกลางในการสื่อสาร และรับฟังเสียงชุมชนชายฝั่งทั่วประเทศ ในการแก้ไข พ.ร.บ.ปภ. ให้ “กัดเซาะชายฝั่ง ต้องป็นสาธารณภัย” เพื่อให้อำนาจชุมชน-ท้องถิ่นสามารถป้องกันและแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวได้ นักวิชาการเผย ตรัง กัดเซาะมากสุด พบ โครงการกำแพงกั้นคลื่นตรังหลายพื้นที่ส่งผลกระทบ โดยเฉพาะเกาะสุกร

เมื่อวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมมา  ที่ทรายทองรีสอร์ท ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการภาคใต้ Thai PBS จัดเวทีเวทีรับฟังความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1/2565 “กัดเซาะชายฝั่ง ควรถือเป็นสาธารณะภัย แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” เพื่อร่วมผลักดันการแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ… โดยมีเครือข่ายชายหาดอันดามัน ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ประมงพื้นบ้าน นักอนุรักษ์ ภาคประชาสังคม ในพื้นที่อันดามัน ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า สถานการณ์กัดเซะชายฝั่งอันดามันมาจากฝีมือมนุษย์ ทั้งการขุดลอกร่องน้ำ การก่อสร้างโครงสร้างแข็งทั้งของภาครัฐและเอกชน เช่น ท่าเรือ ที่พักอาศัยรุกล้ำชายฝั่ง กำแพงกั้นคลื่น ทั้งนี้ พื้นที่ชายฝั่งอันดามันมีความอ่อนไหวทางระบบนิเวศน์สูง เช่น จ.ตรัง ที่มีพะยูน หญ้าทะเล และเต่าวางไข่ โครงสร้างแข็งได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งเป็นอย่างยิ่ง โดยในส่วนของจ.ตรัง ข้อมูลจากการเสวนา นักอนุรักษ์ในพื้นที่แจ้งสภาพปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างกำแพงกั้นคลื่นหลายพื้นที่รวมทั้งโครงการที่กำลังดำเนินการ อาทิ หาดหัวหิน อ.สิเกา , ชายหาดต.เกาะลิบง และโดยเฉพาะ บริเวณหาดแตงโม และหาดบ้านทุ่ง ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน โดยพื้นที่ชายหาดในระยะความยาว 3 กิโลเมตร มีหลักฐานการขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่าตั้งแต่ปี 2534 แต่ปัจจุบันชายธรรมชาดเพียง 400 เมตรสุดท้าย นอกนั้นมีโครงการก่อสร้างกำแพงกั้นคลื่น และยังมีโครงการปรับปรุงกำแพงกั้นคลื่นแบบเดิมให้เป็นเขื่อนกั้นคลื่นแบบขั้นบันไดที่หาดบ้านทุ่งอีกระยะ 1,100 เมตร โดยต้องมีการรื้อกำแพงกั้นคลื่นเดิมของกรมเจ้าท่าระยุ 1,500 เมตร เพื่อปรับปรุงใหม่ ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ให้เปิดพื้นที่ในการรับฟังเสียงชุมชนชายฝั่งทั่วประเทศ ต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ… เพื่อให้เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สาธารณภัย” หมายความรวมถึงการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติได้ นอกจากการแลกเปลี่ยนและเสวนาเพื่อรับฟังข้อเสนอในการผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ.ปภ.แล้ว เครือข่ายชายหาดและภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่หาดปากเมง แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังจังหวัดตรัง

โดย ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมทางทะเล ได้แนะนำเครื่องมือการติดตามสภาพชายหาดด้วยตนเองผ่านแอพลิเคชั่น Angle Meter ในการวัดความลาดชันของชายหาด โดยรูปร่างของชายหาดที่ตอบสนองต่อคลื่น และการเคลื่อนที่ของทรายในและนอกชายฝั่ง เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนฟื้นฟูชายหาด หรือการออกแบบโครงสร้างชายฝั่งประเภทต่างๆ ในการผลักดันเพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.ปภ. ยังคงมีการเสนอแก้ไขในอีกหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ เครือข่ายชายหาดอันดามัน และเครือข่ายภาคประชาชนภาคใต้ ได้มีแนวทางในการเปิดพื้นที่ให้ความรู้และรวบรวมรายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมาย โดยมีข้อเสนอให้ ส.ส.ท.เป็นกระบอกเสียงในการสร้างความเข้าใจของสังคมถึงความจำเป็นของการแก้ไข พ.ร.บ.ปภ.ในครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ชายฝั่งทะเลอันดามันมีความยาว 1,111 กิโลเมตร มีการกัดเซาะชายฝั่ง 27.39 กม. คิดเป็น 2.46% โดย จ.ตรัง มีการกัดเซาะชายฝั่งมากที่สุด 5.73% รองลงมาคือ จ.ภูเก็ต 4% จ.ระนอง 3.15% จ.พังงา 1.95% จ.กระบี่ 0.59% น้อยสุดคือ จ.สตูล 0.19% การกัดเซาะชายฝั่งเกิดจากธรรมชาติและมนุษย์ เกิดขึ้นเร่งด่วนฉุกเฉิน คาดเดาความเสียหายได้ยาก ต้องถือเป็นสาธารณภัย หากไม่บรรจุเป็นสาธารณภัย ในกลไกของ พ.ร.บ.ปภ. จะทำให้ท้องถิ่นไม่มีงบประมาณ ไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา ต้องร้องขอส่วนกลาง และเกิดโครงการแก้ปัญหาโดยใช้โครงสร้างแข็ง แบบชั่วโครต ใหญ่โตเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อชายหาดใกล้เคียง ชุมชน เกิดการกัดเซาะชายฝั่งไปเรื่อยๆ ต้องแก้ปัญหานี้ไปเรื่อยๆ

ผศ.ดร.สมปรารถนา กล่าวอีกว่า ดังนั้น เหตุผลที่ต้องให้การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นสาธารณภัยที่ชุมชนสามารถจัดการได้ ด้วยเหตุผล 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากทั้งฝีมือมนุษย์เเละธรรมชาติ 2.การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นภัยที่เกิดขึ้นฉุกเฉินเร่งด่วน 3.การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นภัยที่คาดเดาความเสียหายได้ยาก เพราะบริบทพื้นที่เเตกต่างกันออกไปเเละความเสียหายที่เกิดขึ้นเเต่ละพื้นที่ก็ต่างออกไป

ด้านนายอภิศักดิ์ ทัศนี จาดกลุ่ม Beach for life กล่าวว่า มีตัวอย่างการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ชายหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ที่ชุมชนเเละเทศบาลจัดการการป้องกันชั่วคราวโดยชุมชนตนเอง ซึ่งเป็นการป้องกันชั่วคราวที่ท้องถิ่นทำงานร่วมกับชุมชน ตัวอย่างเช่นนี้ทำให้เห็นว่า จริงเเล้วชุมชนท้องถิ่นจัดการการกัดเซาะชายฝั่งเองได้ ไม่ต้องหวังพึ่งรัฐส่วนกลาง เเละหากเราให้การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นสาธารณภัยตาม พรบ.ปภ. ที่จะเเก้ไขปรับปรุงนี้ จะทำให้ท้องถิ่นมีอำนาจ งบประมาณ มีกลไก ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราว เท่ากับว่า เรากำลังกระจายอำนาจมาสู่ชุมชนท้องถิ่น

ด้านนายแสวง ขุนอาจ ตัวแทนชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า สำหรับการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่กำแพงกันคลื่นกำลังระบาดในประเทศไทยขณะนี้ โครงสร้างแข็งแรงเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็นโครงสร้างที่ทำลายทรัพยากรชายฝั่ง พื้นที่อันดามันในช่วงมรสุมมีการกัดเซาะตามธรรมชาติ และเป็นการกัดเซาะแบบชั่วคราว มั่นใจว่าชุมชนและท้องถิ่นสามารถจัดการได้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน