X

ตรัง “300 ปี มีดพร้านาป้อ”

คณะพาณิชย์ฯ ม.อ.ตรัง ร่วมเปิดกิจกรรมเปิดโลกควนปริง สืบสานตำนานมีดพร้านาป้อ

เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ชุมชนบ้านเกาะปริง ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง ดร.นิพัฒน์ โพธิ์วิจิตร คณบดีคณะพาณิชยศาตร์และการจัดการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต เชื้อขำ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ในฐานะคณะกรรมการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. วิทยาเขตตรัง นางสาวสุวิมล เกตุทอง ผู้ประสานงานศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. วิทยาเขตตรัง ร่วมในพิธีเปิดกิจกรรมเปิดโลกควนปริง สืบสานตำนานมีดพร้านาป้อ จัดโดย ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง บัณฑิตอาสา อาสาสมัครชุมชน และนักศึกษาอาสาตำบล จากตำบลควนปริง ตำบลนาข้าวเสีย ตำบลนาหมื่นศรี ตำบลนาโยงใต้ โดยเรียนรู้ภูมิปัญยาท้องถิ่น วิถีชีวิต การตีเหล็ก ผู้เข้าร่วมจะได้ศึกษากรรมวิธีการตีเหล็ก ชมนิทรรศการความเป็นมาของมีดพร้านาป้อ เสวนาเรื่องการตีเกล็ก และนิทรรศการเล่าเรื่องด้วยภาพ เป็นต้น

ทั้งนี้ มีดพร้าบ้านนาป้อ เป็นสินค้าชุมชนอีกตัวหนึ่งที่มีคุณภาพ เป็นที่รู้จักของชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ บ้านนาป้อเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของมอ.วิทยาเขตตรัง โดยบ้านนาป้อนั้นผลิตมีดพร้ามามากกว่า 300 ปีมาแล้ว เป็นมีดที่ผลิตสำหรับชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ใช้ในเกษตรและชีวิตในประจำวัน นอกจากมีดพร้าแล้วชุมชนที่นี่ยังผลิตเครื่องมือทางเกษตรต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น จอบ เสียม คราด ชะแลง ขวาน และอื่น ๆ จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน หมู่บ้านนาป้อ มีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตมีดพร้า ทุกคนในครัวเรือนจะผลิตมีดพร้ากันหมด อนึ่ง มีดพร้าบ้านนาป้อตามตำนานเล่าว่ามีชาย 2 คน ชื่อนายเพชรกับนายคง ต้อนวัวควายไปขายที่อ.กันตัง ระหว่างทางนั่งพักเหนื่อยใต้ต้นจากนั้นก็หลับไปทั้ง 2 คน พอตื่นขึ้นมาก็เห็นเรือลำหนึ่งซึ่งจวนจะพังแล้วจอดทิ้งอยู่ จึงได้ถอนเอาตะปูเรือกลับมาด้วย จากนั้นลองเอาตะปูโยนใส่เข้าไปในเตาไฟ เหล็กตะปูเรือก็กลายเป็นเหล็กแหลม นำไปใช้เจาะดินหยอดเมล็ดพืชในการเพาะปลูก ต่อมาก็ได้ทดลองหาเหล็กมาเผาและตีเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตร และเครื่องใช้ในชีวิตประจำที่หลากหลาย ทำให้ชีวิตความเป็นของคนในหมู่บ้านดีขึ้นตามลำดับ

“เอกลักษณ์ของมีดพร้านาป้อที่มีชื่อเสียงเลื่องลือก็คือคุณภาพความคม ความแข็งแกร่งและความทนทาน จนมีคำเปรียบเปรยว่า “กินเหมือนมีดพร้านาป้อ” ซึ่งหมายถึงว่าเวลาตัดไม้หรือกรีดยางจะกินเนื้อไม้หรือต้นยางได้ง่ายเพราะมีความคมมาก”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน