X

ตรัง กยท.ประชุมเตรียมพร้อมจ่ายเงินประกันรายได้ชาวสวนยาง

กยท.ตรัง เร่งประชุมผอ.กยท.สาขา เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจแนวทางการปฏิบัติในการรับปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยาง รองรับการจ่ายเงินประกันรายได้ชาวสวนยาง เฟส 2 ตามมติ ครม. เพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางอันเนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำ

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ที่การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง นายภิรมย์ หนูรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานการยางแห่งประเทศไทย จ.ตรัง เรียกประชุมผู้อำนวยการการแห่งประเทศไทย ประจำสาขาต่างๆในจังหวัดตรัง เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ มอบแนวทางการปฏิบัติงานเร่งด่วน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมฐานข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมติ ครม.ที่เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะ 2 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำ โดยเกษตรกรที่มีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท.ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 สวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน (ต.ค.63 – มี.ค.64) โดยจะเริ่มจ่ายเงินเข้าบัญชีงวดแรกพฤศจิกายน 2563 โดยยางแผ่นดิบคุณภาพดีประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 60 บาท น้ำยางสด 57 บาท/กก. ยางก้อนถ้วย 23 บาท/กก.วงเงินงบประมาณ 10,042 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการต.ค.63 – มี.ค.64

ทั้งนี้ ในที่ประชุมกำชับแนวทางปฏิบัติคือ เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวสวนยางให้รีบมาตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ที่กยท.ใกล้บ้าน โดยที่พบปัญหามากที่สุดคือ ข้อมูลเกษตรกรที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้โอนเงินเข้าบัญชีช้า ทำให้ไม่คล่องตัวในการบริหารโครงการ เช่น ยางที่เปิดกรีดใหม่ เจ้าของที่เคยขึ้นทะเบียนไว้ถึงแก่กรรม ต้องมาแก้ไขข้อมูล การโอนการขาย การเปลี่ยนแปลงเจ้าของ เปลี่ยนแปลงคนกรีด สวนที่โค่นใหม่ เจ้าของเปลี่ยนชื่อนามสกุล เปลี่ยนเลขบัญชีธนาคาร ให้ตรวจสอบหมายเลขบัญชีของตัวเองว่าเป็นปัจจุบันหรือไม่ และต้องใช้บัญชีธนาคาร ธกส.เท่านั้น หรือหากเป็นเกษตรกรรายเดิมที่เคยได้รับเมื่อโครงการระยะที่ 1 ให้ทำการตรวจสอบข้อมูล หรือเข้าไปตรวจสอบสิทธิในเวปไซต์ของการยาง โดยพิมพ์เลข 13 ว่าสถานะยังยืนยันหรือไม่ หากไม่ยืนยันให้เข้าไปตรวจสอบที่กยท.ใกล้บ้าน ทั้งนี้ เดิมเคยพบว่าบางคนแก้ไขข้อมูลในโครงการระยะที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จ อาจส่งผลให้ไม่ได้รับในโครงการระยะที่ 2 นี้ ให้เจ้าหน้าที่รีบติดต่อเกษตรกรเข้ามาแก้ไขข้อมูล ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน ทั้งนี้ สำหรับจังหวัดตรัง เจ้าของสวนยางพาราที่มีเอกสารสิทธิ์ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวนประมาณ 73,000 ราย เนื้อที่ประมาณ 925,000 ไร่, ส่วนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 20,000 ราย เนื้อที่กว่า 260,000 ไร่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน