X

ตรัง ปล่อยปลา ปลูกต้นไม้ ฉลิมพระเกียรติสมเด็จพะะเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

อบต.เขาไพร ร่วมกับ อบต.หนองบัว อ.รัษฏา ร่วมจัดกิจกรรมปล่อยปลา ปลูกต้นไม้ เพื่อ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพะะเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563

วันที่ 5 สิงหาคม 2563 ที่สระน้ำทุ่งหญ้าซาฟารี สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง ต.หนองบัว อ.รัษฎา จ.ตรัง นายทวี สุระบาล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในกิจกรรมปล่อยปลา ปลูกต้นไม้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพะะเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลเขาไพร และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันภายในสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง อ.รัษฎา ตั้งอยู่บนเนื้อที่รวมกันประมาณ 1,300 ไร่ โดยปลาที่นำมาปล่อยในวันนี้ รวม 70,000 ตัว แบ่งเป็น 2 บ่อๆ 35,000 ตัว ประกอบด้วย ปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ และปลาบ้า เป็นต้น ส่วนต้นไม้ที่ปลูกรอบคันสระคือ ต้นทองอุไรโ ดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อให้ข้าราชการ พนักงานส่วนตำบล และพี่น้องประชาชน ร่วมกันแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และแสดงออกถึงพลังความสามัคคีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน เพื่อเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนพรรษาครบ 68 พรรษา 28 กรกฎาคม 2563

นายทวี สุระบาล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เดิมศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง อยู่ที่ ต.นาท่ามเหนือ อ.เมือง เนื้อที่เพียงประมาณ 80 ไร่ เท่านั้น ในสมัยที่ตนเองเป็นส.ส.ตรัง สมัยแรกๆ จึงพยายามมองหาพื้นที่ เพื่อขยับขยายพื้นที่รองรับความต้องการของเกษตรกรในการจัดเตรียมหญ้าแห้งไว้สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้ง จึงได้มาก่อตั้งที่สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง ต.เขาไพร – ต.หนองบัว อ.รัษฎา เนื้อที่รวม 1,300 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกหญ้าพันธุ์ต่างๆเอาไว้ช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้ง หรือหากเกิดอุทกภัย ทำสัตว์ขาดแคลนแหล่งหญ้า ต่อมาสำนักงานชลประทานที่ 16 จังหวัดสงขลา ได้ทำการขุดบ่อให้จำนวน 2 บ่อ เนื้อที่บ่อละ 200 ไร่ รวมประมาณ 800 ไร่ เพื่อสำรองน้ำไว้ให้ประชาชนในบางส่วนของ 2 ตำบลดังกล่าว ได้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค จึงมีกิจกรรมปล่อยปลาและปลูกต้นไม้ในวันนี้ แต่ตนเองมีเป้าหมายจะนำปลานวลจันทร์ ปลาตะเพียน ปลายี่สก และปลาพื้นบ้านอื่นๆมาปล่อยเพิ่มอีกประมาณ 500,000 ตัว ในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้ได้ปริมาณตามความจุของสระ เพื่อเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป โดยปลาเหล่านี้จะใช้เวลาเติบโตหลังปล่อยเพียงประมาณ 6 เดือน หรือไม่เกิน 8 – 9 เดือน ก็จะโตเต็มที่ ได้น้ำหนักตัวละประมาณ 3-4 กิโลกรัม แต่หากเป็นปลายี่สก จะได้น้ำหนักมากถึงตัวละประมาณ 7-8 กิโลกรัม จะเปิดให้ประชาชนจับไปรับประทาน และนำไปขายสร้างรายได้อีกทางหนึ่งด้วย และในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนที่สำคัญของประชาชนต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน