X

“หนี้สินครู”ผลประโยชน์ทับซ้อนกว่า 4 แสนราย  “มุ่งสู่ที่พึ่งสุดท้าย ศาลสถิตยุติธรรม”

“หนี้สินครู”ผลประโยชน์ทับซ้อนกว่า 4 แสนราย  “มุ่งสู่ที่พึ่งสุดท้าย ศาลสถิตยุติธรรม”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 19 ตุลาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เวลา 10.00 น.โดย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ /นายไชยวัฒน์ สินธุ์สุวงค์/นายสมคิด หอมเนตร นายสำคัญ จงโกเย็น นายแรงเกื้อ​ ชาวหินฟ้า​(พิสิฐ​  สร้อยสุหร่ำ)​ ลงทะเบียนเข้าประชุมเสวนา-300กว่าคนเวลา 10:00 น .ประชุมเสวนา- ความเป็นมาของหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา- เสวนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ชักถามปัญหา/สรุปการเสวนา .”ผลประโยชน์ทับซ้อนกว่า 4 แสนราย”กลุ่มครูยุติธรรมภิวัฒน์ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เปิดข้อมูลแหลก พร้อมขุด!!หลักฐาน”ประกันชีวิตและ/หรือประกันวินาศภัย”เกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมลูกหนี้ครูผู้กู้ออมสิน4แสนคนต่างเดือดร้อนแสนสาหัส?

-ในการเสวนาความเป็นมาของหนี้สินครูและบุคคลากรทางการศึกษา โดย นายสำคัญ  จงโกเย็น-เสวนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคคลากรทางการศึกษา โดย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์/ทนายสมพงษ์​  โตสินธพ/นายสมคิด หอมเนตร​/นายแรงเกื้อ​ ชาวหินฟ้า​(พิสิฐ​  สร้อยสุหร่ำ)​ความเป็นมาของโครงการมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการแผนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ.กระทรวงๆเสนอตามหนังสือกระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ 5208.1/1197 ลงวันที่ 23 มีนาคุม 2550 ในข้อ “1.3โครงการพัฒนาชีวิตครู มีสาระสำคัญดังนี้ โครงการพัฒนาชีวิตครูเป็นโครงการร่วมมือในแนวราบของสามฝ่าย”คือ กลุ่มข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ และธนาคารออมสิน* เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมิถุนายน2543 หัวใจสำคัญของโครงการคือ “การพัฒนาสำคัญกว่าการกู้เงิน” โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ข้าราชการครูกระทรวงศึกษาธิการโดย สำนักงาน สกสค. และธนาคารออมสิน กล่าวเฉพาะธนาคารออมสิน (บทบาทหน้าที่)กลั่นกรองและพิจารณาให้สินเชื่ออย่างสร้างสรรค์ ประสานกับครู กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน สกสค.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อสนับสนุน

โครงการติดตามการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และสร้างเสริมขวัญกำลังใจโดยการให้ทุนสนับสนุนร้อยละ 1 ต่อปีสำหรับกลุ่มใหญ่ที่สมาชิกชำระหนี้ได้ครบถ้วนตามกำหนด* โครงการนี้ยังได้กล่าวถึงหลักทรัพย์ค้ำประกันว่า “ผู้กู้ทุกคนจะต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทที่ธนาคารกำหนดดูปัญหาใหญ่ยุ่งยากเกิดกับลูกหนี้ครูผู้กู้ เริ่มตันในโครงการ ช.พ.ค.5 ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1มิถุนายน2552ถึง 31ตุลาคม 2552(วงเงินกู้สูงสุด600,00บาท) โครงการ ช.พ.ค.6 เริ่ม 1 สิงหาคม 2553 ถึง 30 เมษายน2554(วงเงินกู้สูงสุด 1,20,000บาท) โครงการ ช.พ.ค.7 เริ่ม16 กันยายน2554ถึง 31มีนาคม 2558(วงเงินกู้สูงสุด 3,000,000บาท) และ โครงการ ช.พ.ส.เริ่ม 1 กุมภาพันธ์2551 ถึง 29มกราคม 2553(วงเงินกู้สูงสุด150,000บาท)เริ่มก่อเค้ายุ่งยาก จาก “ผู้กู้ทุกคนจะต้องทำประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อกับบริษัทที่ธนาคารกำหนด”ธนาคารออมสินมักจะบอกเสมอในหลายครั้งว่า “เป็นบริษัทที่ธนาคารกำหนด” สำหรับลูกหนี้ปัจจุบันผู้กู้คงเหลือ 435,944 บัญชี เงินต้น(ไม่รวมดอกเบี้ย MLR+) คงเหลือ 395,430.64 ล้านบาท (สำนักงาน สกสค ข้อมูลเพียงวันที่ 31อันวาคม2561) อาจจะแยกพิจารณาดังนี้

ก่อนวันออกใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยจาก คปภ. 20กรกฎาคม 2549 ธนาคารออมสินใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอะไร(พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกันชีวิตพ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ป.พผ.หมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 ฯลฯ) ที่ไปหักเงินครูผู้กู้แล้วส่งให้ฐานะ”ได้ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย” แก่บริษัททิพยประกันภัยจำกัด(มหาชน)ในชื่อบัญชีค่าเบี้ยประกันภัย สาขาบางกะปี เลขที่บัญชี79001000017-8 และบริษัทประกันฯนี้ยังแบ่งส่ง(ทำในสองบริษัทไปทำประกันชีวิตที่บริษัทธนชาติซูริคประกันชีวิต จำกัด

 

สำนักงาน คปภ.ได้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันสินเชื่อเงินกู้ ช.พ.ค.โครงการ 5 และ 6 ชี้ว่ามีสองบริษัทคือบริษัททิพย์ประกันภัยจำกัด(มหาชน) และบริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัด กำหนตระยะเวลา 10 ปี แต่มี “การออกเอกสารแนบท้ายยกวนไม่คุ้มครองการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ” จึงเป็นการออกแบบกรมธรรม์ประกันแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ ผลก็คือผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเลือกให้บริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัดต้องรับผิดตามแบบ กล่าวคือขัอความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ กล่าวคือ แม้ผู้เอาประกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัดต้องรับผิดชดใช้เงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามความในมาตรา 19 วรรคสาม แห่ง พ.รบ.ประกันชีวิต พศ.2535 นั่นหมายถึงทายาทผู้เอาประกันภัยที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจะต้องได้เงินค่าสินไหมจากทั้งบริษัททิพย์ประกันภัยจำกัด(มหาชน) และบริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัด เท่ากับจะได้เงินค่าสินไหม 1,200,000 บาท ไม่ใช่เพียง 600,000 บาทจากบริษัททิพย์ประกันภัยจำกัดมหาชน)เ ท่านั้น ซึ่งแต่เดิมครูไม่เคยรับรู้เรื่องนี้เลย.เอกสารเหล่านี้จะช่วยตรวจสอบพฤติการณ์แห่งคดี พฤติการณ์แห่งการกระทำขององค์กรของรัฐทั้งสาม และหน่วยงานของรัฐอีกแห่งก็คือ คปภ, ว่าจะเป็นองค์กรตรวจสอบและลงโทษได้จริงหรือไม่ เป็นองค์กรโปร่งใสหรือไม่ ดังนั้นเราควรถามไปยัง คปภ ในข้อ 1-2-3 4-5 ขอให้ตรวจสอบและขอผลการสอบสวนทั้งหมด มาให้เราเพื่อจะได้เสนอต่อศาลทุจริตฯ และศาลคุ้มครองผู้บริโภคในขอบเขตทั่วประเทศ.) เห็นว่า ความน่าสงสัยยังมีอยู่หลายประการ เป็นต้นว่า ธนาคารออมสินได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย(ประเภทนิติบุคคล) แต่กลับไปทำนายหน้าประกันชีวิต(ประเภทนิติบุคคล) โอนเงินจากลูกหนี้ครูไปยังบัญชีบริษัททิพย์ประกันภัยจำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแล้ว บริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัด ทำบันทึกยินยอมให้ธนาคารออมสินโอนเฉพาะส่วนผ่านบัญชีบริษัททิพย์ประกันภัยจำกัด(มหาชน) สาขาบางกะปี ไปให้บริษัทธนชาติประกันชีวิตจำกัด รับช่วงอีกทอดหนึ่ง นั้น ซอบด้วยกฎหมายหรือไม่? อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์.กล่าว

ต่อจากนั้นกลุ่มครูได้เดินทางเข้ามาจากต่างจังหวัดเช่นบรีรัมย์ สุรินทร์ อุดร ลพบรี มาฟังการเสวนาเรื่อง ความเป็นมาของหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา- เสวนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา และชักถามปัญหาเราเพื่อจะได้เสนอต่อศาลทุจริตฯ และศาลคุ้มครองผู้บริโภคในขอบเขตทั่วประเทศ.

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน