X

แถลงข่าว “โครงการโคราชกรีนบ็อกซ์”

วันศุกร์ ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 15.00 น. ณ อ่ำงเก็บน้ำสายศร ลำนอุทยำนแห่งชาติเขาใหญ่ Online ผ่าน zoomLive ผ่านเพจ : ประชำสัมพันธ์จังหวัดนครรำชสีมา / สภาอุตสำหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา / หอการค้าจังหวัดนครราชสีมาBizclub Nakhonratchasima / สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดนครราชสีมาผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าว “โครงการโคราชกรีนบ็อกซ์” โดยนายกอบชัย บุญอรณะผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา นายยุทธศักดิ์ สุภสรผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมอบหมายให้นายสมชาย ชมพูน้อย (เป็นผู้แทน)ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สานักงานภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายแพทย์ประสาน ชัยวิรัตนะผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา นายแพทย์นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ บารุงถิ่นผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากช่องนานา ผศ.ดร.ณัฏฐินี ทองดีผู้อานวยการศูนย์ส่งเสริมการจัดประชุมพัฒนา Covid Manger อบรมเรื่อง SOP และรับสมัคร คุณศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อานวยการสานักงานส่งเสริมการจัดประชุม(สสปน.เจ)และนิทรรศการ : TCEB 9น.ส.สมลักษณ์ ศรีสุวรรณประธานคณะกรรมการเครือข่ายธุรกิจเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวบิสคลับ จังหวัดนครราชสีมาน.ส.สุรีวัลย์ จันทร์ประทักษ์ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยนายศารุมภ์ โหม่งสูงเนินพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมานายสวัสดิ์ มังกรวัฒน์นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดนครราชสีมานางสาวพันชนะ วัฒนเสถียรนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่นายจีระศักดิ์ คาระวิวัฒนาประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมีผู้อานวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษการคุณวัชรี ชูรักษา (เป็นผู้แทน)ผู้ช่วยผู้อานวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) นายศักดิ์ชาย ผลพานิชย์ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา

โครงการโคราชกรีนบ็อกซ์ (Korat Green Box)

คำว่า Green กรีน คือ สีเขียว มีความหมายถึง ความยังยืน และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

คำว่า Box บอกซ์ คือ กล่อง มีความหมายถึง พื้นที่ปิด เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจากเชื้อโควิด19

ดังนั้น โคราชกรีนบอกซ์ จึงมีความหมายว่า พื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาที่มีความปลอดภัยและคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

โครงการ”โคราชกรีนบ็อกซ์”  ริเริ่มโดยสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา นำโดย ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาฯ ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 มีความตั้งมั่นที่จะช่วยภาคการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวกลับมาโดยเร็วที่สุด  โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

โครงการ”โคราชกรีนบ็อกซ์” เป็นแนวคิดเพื่อที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบปลอดภัย สอดคล้องกับนโยบายเปิดเมืองใน 120 วัน ของท่านนายกรัฐมนตรี โดยศึกษาจากโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์”  แล้วนำมาปรับใช้ในบริบทของจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์และกลุ่มนักท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาและภูเก็ตมีความแตกต่างกันมาก เช่น จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่เปิดและเป็นทางผ่านไปสู่จังหวัดต่างๆ ต่างจากภูเก็ตที่เป็นเกาะเป็นพื้นที่ปิดจำกัดการเข้าออกได้ง่าย ในส่วนนักท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาส่วนมากเป็นคนไทยเดินทางโดยรถยนต์ ต่างจากภูเก็ตที่มีชาวต่างชาติจำนวนมากเดินทางด้วยเครื่องบิน เป็นต้น

“โคราชกรีนบ็อกซ์”  เป็นการเปิดการท่องเที่ยวแบบปิดด้วยแนวคิดสร้างความเชื่อมั่นในด้านการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ปลอดภัย ตามแนวทาง Korat Covid-19 Free Zone  ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและผู้อาศัยในชุมชน

ซึ่งแนวทางตรวจสอบว่าเป็นนักท่องเที่ยวปลอดภัยหรือไม่ ทางโครงการฯเสนอให้ใช้ผลตรวจ RT-PCR หรือ ผลตรวจ Antigen Test Kit (อย่างน้อยไม่เกิน 72 ชั่วโมง) สามารถแสดงผลเพื่อเป็นหลักฐานได้ ถ้านักท่องเที่ยวไม่ได้ตรวจมาล่วงหน้า สถานประกอบการ / กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวหรือชุมชนท่องเที่ยวในโครงการโคราชกรีนบ็อกซ์สามารถบริการตรวจให้ได้

 

สถานประกอบการ / กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวหรือชุมชนท่องเที่ยวตามโครงการ”โคราชกรีนบ็อกซ์” ที่จะรับนักท่องเที่ยว ต้องปฎิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว ดังนี้

1.            มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน SHA หรือ SHA Plus หรือ Thai Stop Covid Plus

2.            พนักงานต้องรับวัคซีนครบแล้ว 2 เข็ม 70-100% ของพนักงานทั้งหมด

3.            พนักงานจำนวน 25-50%ได้รับการสุ่มตรวจด้วย Antigen Test Kit ทุก 7 วัน

4.            มีการปฏิบัติงานตามคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข

5.            มีเจ้าหน้าที่ตำแหน่ง Covid Coordinator รับผิดชอบด้านงานสาธารณสุขการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพื่อตรวจสอบและรับผิดชอบด้านความปลอดภัยสาธารณสุข

6.            ได้รับการรับรองจากหน่วยงานในพื้นที่ ว่าเป็นองค์กรที่ไม่สร้างมลภาวะหรือสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีแผนพัฒนาองค์กรสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

7.            รับเฉพาะนักท่องเที่ยวปลอดภัยเท่านั้น

เห็นได้ว่า สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวในโครงการ”โคราชกรีนบ็อกซ์”  มีมาตรการหลายชั้นรัดกุม เพื่อความปลอดภัยในด้านการท่องเที่ยว ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมั่นใจได้ว่า มาเที่ยวในโครงการโคราชกรีนบ็อกซ์แล้วจะได้รับความปลอดภัยจากการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน

นอกจากนี้ในโครงการ “โคราชกรีนบ็อกซ์” ยังมีแผนเผชิญเหตุ เพื่อรองรับเหตุการณ์แพร่ระบาดที่อาจจะเกิดขึ้น และได้จัดทำมาตรฐานปฏิบัติงานหรือ SOP ( Standard Operation Procedure) สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว 10 ประเภท ได้แก่ ที่พัก, ร้านอาหาร, แหล่งท่องเที่ยว, สปาและนวดเพื่อสุขภาพ, สนามกอล์ฟ, ห้างสรรพสินค้า, ยานพาหนะ, บริษัทนำเที่ยว, การจัดกิจกรรม,  และร้านขายของที่ระลึก  เพื่อเป็นขั้นตอนมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่รัดกุมเพิ่มขึ้น เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจต่อนักท่องเที่ยว

 

โครงการโคราชกรีนบ็อกซ์เริ่มเปิดโครงการในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยนำร่องที่อำเภอปากช่อง แล้วขยายพื้นที่ไปยังอำเภอเมือง อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอพิมาย และอำเภออื่นๆ ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการภายใต้แนวคิด Covid-19 Free Setting เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ หรือ New Normal  ในจังหวัดนครราชสีมาต่อไปสอบถามข้อมูลโครงการโคราชกรีนบ๊อกซ์ เพิ่มเติม หรือ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สามารถติดต่อ/ปรึกษาได้ที่ คุณกฤษณ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เบอร์โทรศัพท์ 088-594-2335 หรือทางไลน์ kritfahsai หรือทางเฟซบุ๊กเพจ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน