X

วันแรงงานแห่งชาติ แรงงานนอกระบบในจังหวัดแพร่ยังต้องเผชิญปัญหาคุณภาพชีวิต รัฐให้ความสำคัญน้อย

เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พฤษภาคม กลุ่มผู้ใช้แรงงานในจังหวัดแพร่ร่วมกิจกรรม “แรงงานแพร่สมานฉันท์ ร่วมกันต้านยาเสพติด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยมีขบวนแห่ประกอบด้วยผู้แทนอาสาสมัครแรงงาน ตัวแทนภาครัฐสังกัดกระทรวงแรงงาน ผู้ประกอบการ และผู้ใช้แรงงานจากบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดแพร่ จำนวน 500 คน เริ่มต้นตั้งแต่วัดจอมสวรรค์ ถนนยันตรกิจโกศล ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่อาคารโรงยิม 1,000 ที่นั่ง สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ นายวีรเดช อินทวงศ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดแพร่ กล่าวถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมวันแรงงานในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความสำคัญของการใช้แรงงานในจังหวัดแพร่ โดยมีนายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่เป็นประธาน

ได้กิจกรรมครั้งนี้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดแพร่ได้มอบวุฒิบัตรประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ประกอบการ ลูกจ้าง และอาสาสมัครแรงงานดีเด่น ประจำปีพ.ศ 2567 จากนั้นนายศักดา นันตา ผู้แทนลูกจ้างจากบริษัทสยามราชธานี เป็นผู้นำกล่าวปฏิญาณตนของผู้ใช้แรงงานว่าจะมุ่งมั่นประกอบอาชีพอย่างสุจริตไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุขยาเสพติดเพื่อเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีของผู้ใช้แรงงาน หลังจากนั้นรายงานได้ร่วมกันเล่นกีฬาสังสรรค์เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทต่างๆในจังหวัดแพร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นจุดสำคัญของการใช้แรงงานในระบบขอวจังหวัดแพร่แต่ยังมีกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่อยู่นอกระบบ ยังไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนเท่าที่ควร

ในจังหวัดแพร่ มีแรงงานในระบบ 76,096 คน คิดเป็นร้อยละ 38.8 ส่วนรายงานนอกระบบมีอยู่ถึง 119,849 คน คิดเป็นร้อยละ 61.2 ในจำนวนนี้มีกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นปัจจุบันมีถึงร้อยละ 25 แล้วรายงานนอกระบบของจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมรองลงมาเป็นภาคบริการและภาคการผลิตตามลำดับ

ผู้ใช้แรงงานนอกระบบเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาการทำงาน เช่นค่าแรงตกต่ำ ค่าตอบแทนน้อยไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมายแรงงาน มีงานทำไม่ต่อเนื่อง และต้องเผชิญกับงานหนัก พร้อมทั้งเสี่ยงต่ออันตรายจากการทำงานทั้งสารเคมีเครื่องจักรที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาในด้านอาชีวอนามัยรวมทั้งปัญหาสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายจากการทำงาน

นางสาววาสนา วงค์ทอง เป็นหนึ่งในอาสาสมัครแรงงานและอยู่ในภาคแรงงานนอกระบบยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายพอเพียง ในระบบการค้าขายในชุมชนสร้างรายได้ที่เพียงพอกับอาชีพการทำข้าวแคบจำหน่าย เธอได้เข้ารับใบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติในฐานะอาสาสมัครแรงงานดีเด่น และเธอเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นส่วนน้อยของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่จะหลุดพ้นจากพวกปัญหาที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน
ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานนอกระบบมากขึ้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมของผู้ใช้แรงงานมวลรวมในจังหวัดแพร่

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน