X

ฝ่าหนาว ต่ำกว่า 10 องศา จิบกาแฟ ส้างวมที่บ้านก้นตาด


พื้นที่สูงกลางหุบเขาเมืองแพร่ อากาศเย็นยะเยือกกันการท่องเที่ยวอันทรงคุณค่า ลองรสชาติอาหารพื้นเมือง “ส้าฝักงวม” กาแฟสดน้ำจ้อม พืชเกษตรสินค้าชุมชน อาหารตามฤดูกาลเพิ่มวิตามิน ซี ให้ร่างกาย
จากอุณภูมิที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วในเดือนธันวาคม ที่บ้านน้ำจ้อม บ้านก้นตาด บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ณ วันที่ 8 ธันวาคมอุณภูมิที่วัดได้ในเวลา 05.00 น. 7 องศาเซลเซียส หมู่บ้านแถบนี้อยู่ห่างวัดพระธาตุช่อแฮวรวิหาร พระอารามหลวงไปทางตะวันออกเพียง 20 กม.เท่านั้น เป็นหมู่บ้านที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 – 1,200 เมตร เต็มไปด้วยป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง รวมทั้งป่าสน
คนที่นี่ใช้ชีวิตเรียบง่าย อยู่กับธรรมชาติ ทำสวนผลไม้ สวนเมี่ยง กาแฟ แบบไม่ใช้สารเคมี 100 % อาหารการกินก็เท่าที่หาได้ตามภูมิปัญญา พบว่า ชาวบ้านแถบนี้มีพืชผักให้รับประทานไม่ซ้ำเลยใน 12 เดือน


เดือนธันวาคม – ปีใหม่เดือนมกราคม อาหารที่ชาวบ้านต้องรับประทานและมีราคาสูงในช่วงแรกคือ ฝักของต้นงวม ฝักงวมเป็นผักพื้นบ้านออกดอกสวยสีเหลืองเป็นทิวสวยงาม ขณะนี้กำลังติดฝักซึ่งถือเป็นอาหารสำคัญที่ชาวบ้านต้องรับประทาน เพราะเป็นอาหารประจำฤดูกาล คนในเมืองแพร่ ก็มักเดินทางไปพักค้างคืนที่หมู่บ้านแถบนี้เพื่อไปชิมฝักงวมให้ได้ เพราะเชื่อว่า ผักงวมจะทำให้สุขภาพดีในช่วงเปลี่ยนปี

ธีรพล แสนผล หรือ บอย คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ด้วยวัยเพียง 30 ปี แต่เขารู้การหาอยู่หากินด้วยภูมิปัญญาจารีตอาหารท้องถิ่นเป็นอย่างดี วันนี้ บอย พาเราไปลองชิมเมนูที่ประกอบด้วย “ฝักงวม” ผักพื้นบ้านอาหารในตำนานของคนในหุบเขานี้ ที่บ้านก้นตาด
งวมที่บ้านก้นตาด พืชท้องถิ่นที่เป็นทั้งยาและอาหาร ต้นงวมยืนตระหง่านสู้ความหนาวเย็น บอยบอกว่า ฝักงวม ที่อยู่ในพื้นที่ที่ฝนจากไปแล้ว ความหนาวเย็นมาแทนที่ ทำให้งวมมีรสชาติดีมาก รสเปลี้ยวด้วยวิตามินซี ไม่ฝาด รสส้มๆ ที่เหมาะกับการนำมาประกอบอาหารแทนมะนาว ในอาหารประเภทยำ ในบ้านน้ำจ้อม นาตอง บ้านก้นตาด นำงวมมาซอยเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ ผสมกับปลาทู หรือเนื้อหมู เนื้อวัวก็ได้ เติมน้ำปลาร้า เครื่องเทศสมุนไพร อาทิ รากผักชี ข่า พริกเผา กระเทียม นำมาตำให้ละเอียดเติมเนื้อปลาทูย่าง เข้าไปตำคลุกรวมกันที่ชาวเหนือเรียกวิธีการทำอาหารแบบนี้ว่า “ส้างวม”
ในความเป็นท้องถิ่นของอาหาร บอยเป็นคนรุ่นใหม่ในชุมชน มีสายตาอันยาวไกลในการปรุงอาหารให้เป็นที่ต้องการ มีการดัดแปลง “ส้างวม” ให้มีรูปแบบต่างๆ โดยใช้ข้าวแคบ (ข้าวเกรียบที่ทำจากแป้งหมัก) มาประกอบเพิ่มรสชาด เนื้อสัมผัสกรอบหอมอร่อย ๆแต่งเติมด้วยผักพื้นบ้าน

บอย บอกว่า อาหารท้องถิ่นมีคุณค่ามาก เพราะเป็นเหมือนยาในช่วงเปลี่ยนฤดู คนที่นี่ต้องรับประทานงวมให้ได้ จะทำให้สุขภาพดี คิดว่า งวม น่าจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับอาหารท้องถิ่นที่หลากหลาย อยากเห็นงวมไปอยู่ในเมนูอาหารทั้งหวาน คาว เท่าที่ทำได้คือการแต่งรสชาติและการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เช่นนำมาใส่ภาชนะที่เป็นธรรมชาติ ถาดไม้ กระบอกไม้ไผ่ ก็จะดูสวยงามไปอีกแบบ
นอกจากนั้นที่บ้านนี้ กาแฟเป็นสินค้าสำคัญ ร้อยละ 90 ของประชากรมีกาแฟเป็นสินค้าของครอบครัว ชาวบ้านรู้จักการปรุงกาแฟเพื่อสุขภาพมานาน เรากินกาแฟไม่ใส่น้ำตาล อาจเติมน้ำผึ้งหรือหญ้าหวาน ใช้ภาชนะธรรมชาติ โดยเฉพาะกาแฟบ้านน้ำจ้อมที่มีการพัฒนามาจากความรู้ดั้งเดิมการคัดเลือกและทำเป็นกาแฟพร้อมชง ที่เรียกว่า กาแฟดริป มีลูกค้าสนใจซื้อไปดื่มอย่างต่อเนื่อง กาแฟของน้ำจ้อมไม่ได้ให้น้ำหนักของการเพิ่มยอดขายผ่านโฆษณาเท่ากับเพิ่มคุณภาพ เรามองคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการคั่วแบบคั่วอ่อน คั่วกลาง และ คั่วเข้ม ตามรสนิยมของคอกาแฟ
บอย คนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสินค้าชุมชน บอกว่า ผู้ที่สนใจจะมาเที่ยวชมหาซื้อสินค้า หรือ ต้องการพักผ่อน บ้านน้ำจ้อม บ้านนาตอง บ้านห้วยก้นตาด มีพร้อมทั้งพื้นที่กางเต้น พี่พักแบบโฮมสเตร์ เส้นทางสะดวกสบาย อากาศหนาวเย็นตลอดปี
อาหารพื้นบ้าน ฝักงวมและกาแฟดริปที่บ้านน้ำจ้อม ยังเป็นมลขลังไม่รู้คลายสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนในพื้นที่ปลอดสารเคมี ปลอดภัย อากาศดี ระหว่างเวลาจากนี้ไป ความหนาวเย็นของอากาศในหุบเขาแห่งนี้ถือเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับคนรักสุขภาพจริงๆ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน