X

ผิดหวังรัฐไม่จริงใจบังคับใช้กฎหมายตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ภาคประชาสังคมทวงถามแรงหน่วยงานรับผิดชอบ


แกนนำภาคเหนือ 6 จังหวัดยัน สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้กฎหมายทำงานรับเรื่องร้องเรียน เรื่องอาหาร ยา สุขภาพและการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยเหลือสู่การแก้ไขได้กว่าร้อยละ 80 ขณะรัฐไม่ให้ความสำคัญจดแจ้งองค์กรที่ทำหน้าที่ ภาคประชาชนพยายามจัดตั้งสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศ แต่ไม่ผ่านการรับรอง ผู้แทนมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาฯชี้ ต้องรวมตัวขึ้นทะเบียนองค์การระดับชาติเพื่อแก้ปัญหา


ปัจจุบันประเทศไทยเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของผู้บริโภคที่มี หลายฉบับบัญญัติขึ้นมาบังคับใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะ พ.ร.บ.จัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 กฎหมายเหล่านี้ภาคประชาชนยังเข้าถึงได้น้อยมาก ด้วยปัญหาภาคราชการยังไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง


วันที่ 13-14 กรกฎาคมที่ผ่านมา องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคใน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดแพร่ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง จัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคติดตามความก้าวหน้าของการจดแจ้งขึ้นทะเบียนสภาองค์กรผู้บริโภค เวทีดังกล่าวจัดขึ้นที่สวนทวีชน ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ นำโดยนางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ที่ประชุมมองว่าภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับองค์กรภาคประชาชนที่ขึ้นมาจดแจ้งเป็นสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคตามอำนาจในกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 ที่ผู้บริโภคสามารถรวมตัวตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจดแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่มีองค์กรขอขึ้นทะเบียน 800 องค์กร ผ่านนายทะเบียนระดับจังหวัดเพียง 200 องค์กรเท่านั้นทั่วประเทศพบว่ามีการจดแจ้งผ่านสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างถูกต้องเพียง 93 องค์กร ซึ่งเวลาการทำงานของ พ.ร.บ.จัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ผ่านมาแล้ว 1 ปี
นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า ในแต่ละจังหวัดมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทำงานอยู่ทุกจังหวัด องค์กรเหล่านี้สามารถช่วยประชาชนได้เมื่อถูกระเมิดสิทธิ์ กฎหมายเปิดให้กลุ่มองค์กรเหล่านี้จัดตั้งเป็นสภาองค์กรผู้บริโภคได้ แต่ 1 ปีที่ผ่านมายังไม่เป็นที่น่าพอใจการขึ้นทะเบียนเป็นสภาถือว่ามีสัดส่วนที่น้อยมาก ในขณะที่ต้องทำงานหนัก มีผู้ร้องเรียนเข้ามาถึง 400 เรื่องก็สามารถช่วยเหลือได้ถึงร้อยละ 80 ใน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเรื่องอาหารและยา ด้านสุขภาพและ การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องแต่พบว่ากลุ่มเหล่านี้ยังไม่ได้รับการสนับสนุนตามกฎหมาย เพราะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคน้อยมาก อยากทวงถามไปยังสำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ร.บ.จัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคประกาศใช้แล้ว ในปีที่ผ่านมาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคไปขึ้นทะเบียนจำนวนมาก แต่พบว่าทั้งประเทศมีองค์กรที่ผ่านการจดทะเบียนมีเพียง 93 องค์กร จากการขอขึ้นทะเบียน 800 องค์กร ผ่านในระดับจังหวัด 200 องค์กร แต่ไม่ผ่านสำนักปลัด จึงมีองค์กรที่ผ่านเพียง 93 องค์กรเท่านั้น


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ร.บ.จัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่มาจาก มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่าด้วยสิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค องค์กรของผู้บริโภคตามวรรคสองมีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งอำนาจในการเป็นผู้แทนของผู้บริโภคและการสนับสนุนด้วยการเงินจากรัฐให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดวิธีการรวมตัวกันขององค์กรผู้บริโภคเพื่อจัดตั้งองค์กรที่มีความเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ผู้มีสิทธิ์คือบุคคลธรรมดารวมตัวกันตั้ง แต่ 10 คนขึ้นไปมีวัตถุประสงค์คุ้มครองผู้บริโภคและไม่แสวงหากำไร จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม ข้อห้ามมี 4 ประกากรคือไม่จัดตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมจากผู้ประกอบธุรกิจหรือหน่วยงานรัฐ 2 ตั้งไม่เป็นองค์กรที่สนับสนุนเงินจากผู้ประกอบธุรกิจ 3 ต้องแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคและ 4.มีการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี องค์กรผู้บริโภคสามารถแจ้งสถานะต่อนายทะเบียน ได้แก่ 1.นายทะเบียนกลางหรือปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ซื่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย 2.นายทะเบียนจังหวัดได้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน