X

สะเอียบเต้น รับวีระกรอ่อนข้อดับเขื่อนใหญ่กรมชล

กรมชลฯดันไม่รอด กรรมาธิการเข้าข้างกระแสชุมชนพัฒนาแหล่งน้ำอย่างเหมาะสม ชาวสะเอียบยื่นหนังสือสอบพฤติกรรมกรมชลฯ ทำพิธีเผาสาปแช่งนายกเตาปูน

เวลา14.00น.วันที่19 มีนาคม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยา นำโดยนายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม. ส.ส.ลพบุรี นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์. ส.ส. พะเยา นายพรมงคล ชิดชอบ ผู้แทนกรมชลประทาน โดยมีนายโชคดี อมรวิวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ร่วมให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยนายณัฐพล ทองไหลนายกอบต.เตาปูน นายแต๋ง อินทา นายกอบต.สะเอียบ ผู้นำทั้งสองตำบลและหัวหน้าส่วนราชการในจ.แพร่ร่วมหารือที่ห้องประชุมภายใน อบต.เตาปูน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในขณะที่คณะกรรมาธิการฯเดินทางจากดูการก่อสร้างเขื่อนน้ำปี้ อ. เชียงม่วน จ.พะเยา. ได้เดินทางผ่านชุมชนตำบลสะเอียบ. อำเภอสอง จังหวัดแพร่. มีกลุ่มชาวสะเอียบที่ต่อต้นการสร้างเขื่อนเตาปูนราว 2,000. คนยืนรอพร้อมถือป้ายประท้วงการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่. ไม่เห็นด้วยกับการกักน้ำจำนวน 300-400 ล้านลูกบาศก์เมตรในแม่น้ำยมบริเวณตำบลเตาปูน ขณะที่คณะกรรมาธิการน้ำผ่าน กลุ่มผู้ประท้วงได้หยุดขบวนเพื่อลงทักทายชาวสะเอียบ. โดยนายสมมิ่ง เหมืองร้อง แกนนำต้านเขื่อน ตำบลสะเอียบ ได้ยื่นหนังสื่อผ่านไปถึงพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา. นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ระงับแผนของกรมชลประทานและให้สอบสวนข้อเท็จจริงที่กรมชลประทานไม่ดำเนินการตามแผนกรรมการลุ่มน้ำยมและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบลสะเอียบหรือสะเอียบโมเดล. นอกจากนั้นชาวสะเอียบยังทำการประกอบพิธีสาปแช่งและเผาหุ่นนายณัฐพล ทองไหล นายกอบต. เตาปูน ที่มีส่วนร่วมกับกรมชลฟื้นโครงการเขื่อนขนาดใหญ่กั้นลำน้ำยม

ที่ประชุม โดยกรมชลประทานมีข้อเสนอ 3 ทางเลือกคือกั้นน้ำยมที่ตำบลเตาปูนในระดับ 9 เมตรจุน้ำได้ 3 ล้าน ลบ.ม. กั้นน้ำระดับ 23 เมตรจะกักน้ำได้ 30 ล้านลบ.ม. และกั้นน้ำเป็นฝายขนาดใหญ่จะกักน้ำได้ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร. กรณีสุดท้ายจะท่วมที่ทำกินป่าไม้ในต.สะเอียบและต.เตาปูน แต่ไม่ท่วมที่อยู่อาศัย. ซึ่งสุดท้ายการพิจารณาของกรรมาธิการฯ เลือกกรณีที่ 2 เก็บน้ำได้ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร. และเร่งพัฒนาโครงการที่ประชาชนเห็นชอบ เร่งหาผู้รับเหมาเขื่อนน้ำปี้ใหม่เพื่อเร่งให้แล้วเสร็จโดยเร็วอย่างน้อยต้องใช้เวลา 2-3 ปี เพื่อผันน้ำมาช่วยอ่างแม่สองในการเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บไว้ฤดูแล้งอย่างเหมาะสมต่อไป จากนั้นคณะได้เดินทางไป จ.น่านต่อไป

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน